โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิต สูงพบได้ทั่วโลก ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา คาดว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกประมาณ 1,500 ล้านคน ประชากรไทยประมาณ 5 ล้านคน เป็นโรคความดันโลหิตสูง คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เนื่องจากไม่มีอาการ จึงไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนแล้ว จึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ความดันโลหิตสูง หมายถึงแรงดันของกระแสเลือด ที่กระทบต่อผนังหลอดเลือก สามารถวัดได้โดยเครื่องวัดความดันที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ
  1. ความดันช่วงบน หมายถึงแรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ถ้าวัดได้ 120 มิลลิเมตรปรอทลงมา ถือว่าปกติ
  2. ความดันช่วงล่าง หมายถึงแรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ถ้าวัดได้ 80 มิลลิเมตรปรอทลงมา ถือว่าปกติ
สาเหตุ
  1. ส่วนใหญ่ กว่า 90% ไม่ทราบสาเหตุ แต่อย่างไรก็ตาม มักพบว่า ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ

    เกิดโรค นอกจากนี้ ความอ้วน อารมณ์เครียด การกินอาหารเค็มจัด และการสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคได้
  2. ส่วนน้อย ต่ำกว่า 10% อาจพบสาเหตุ เช่น ได้รับยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาสเตอรอยด์ ยาอะดรีนาลีน ความดันสูงในหญิงตั้งครรภ์ โรคไต หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตัน โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอกเป็นพิษ
อาการ
  • ปวดศีรษะ มึนงง ดดยทั่วไปจะปวดบริเวณท้ายทอย และมักจะเป็นตอนเช้า ถ้าความดันโลหิตสูงมาก จะมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย
  • เหนื่อยง่าย เนื่องากหัวใจทำงานหนัก
  • เลือดกำเดาออก
ภาวะแทรกซ้อน
  1. หัวใจ จะทำให้หัวใจโต จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งจะมีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หลอดเลือดหัวใจตบตัน เป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงถงกับเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย
  2. สมอง หลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตก กลายเป็นอัมพาตครึ่งซีก หรืออาจตายได้ในรายที่เส้นเลือดในสมองแตก
  3. ไต ไตวายเรื้อรัง เนื่องากหลอดเลือดไตเสื่อม
  4. ตา เกิดภาวะหลอดเลือดแดงภายในลูกตาเสื่อม หลอดเลือดจะตีบ ต่อมาอาจแตก มีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อย ๆ จนตาบอด
การรักษา
  1. การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ฯลฯ
  2. การรักษาโดยใช้ยา เช่น ยากล่อมประสาท ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  1. การควบคุมอาหาร การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ การลดอาหารประเภทไขมันเป็นสิ่งที่ดี หลีกเลี่ยง หรือลดการใช้เนย ไขมัน อาหารทอด ให้รับประทานอาหาร อบ นึ่ง ต้ม แทน รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ ให้มากขึ้น
  2. รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด หลีกเลี่ยงอาหารดองเค็ม เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ควรรับประทานอาหารที่มีเครื่องหมาย "เกลือต่ำ" หรือ "ปราศจากเกลือ"
  3. หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด พยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เครียด ทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน
  4. หยุดสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เกิดการทำลาย และส่งเสริมการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต
  5. งด หรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ในประมาณมาก เป้นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ในวันหนึ่ง ๆ ไม่ควรดื่มสุราเกิน 60 ลบ.ซม. เบียร์ 720 ลบ.ซม. และไวน์ 260 ลบ.ซม.
  6. ออกกำลังกายแต่พอประมาณ ควรเริ่มเดินวันละ 20-30 นาที จะช่วยลดน้ำหนักได้ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และป้องกันโรคของหลอดเลือดได้ ก่อนเริ่มออกกำลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์
  7. ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ ควรวัดความดันโลหิตสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการเครียด ปวดศีรษะ ไม่จำเป็นต้องวัดความดันโลหิตถี่เกินความจำเป็น และควรจดบันทึก วัน เวลา เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมความดันโลหิต
  8. รับประทานยาให้สม่ำเสมอ ตามแพทย์สั่ง อย่างเคร่งครั ห้ามปรับเปลี่ยนยาเอง หากมียาชนิดใดที่ทำให้รู้สึกไม่สบาย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพราะว่าอาจจะต้องปรับลดยา หรือเปลี่ยนยา
ที่มา:
แผ่นปลิว จัดทำโดย
หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน โพธาราม ราชบุรี
โทร. 032-397635

ภาพจาก
http://octoviana.com/what-factors-that-cause-high-blood-pressure-hypertension.html

    ความคิดเห็น

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

    แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

    ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์