กล้ามเนื้อหัวใจตาย

กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) หมายถึง ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ส่วนมากเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ

สาเหตุ
  1. หลอดเลือดแดงตีบตันแข็ง พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีประวัติในครอบครัวเป็น พบได้สูงกว่าคนปกติ 2-7 เท่า ระดับไขมันในเลือดสูง มีภาวะความดันโลหิตสูง รับประทานยาคุมกำเนิด การได้รับแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ระดับยูริคในเลือดสูง ไม่ออกกำลังกาย เป็นคนก้าวร้าว ทะเยอทะยาน รีบเร่ง เครียด
  2. ภาวะโลหิตจาง ขาดออกซิเจน ความดันโลหิตต่ำเป็นเวลานาน
  3. การเสียเลือดจำนวนมาก จนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ช็อค
  4. โรคที่มีผลต่อหลอดเลือดแดง เช่น ซิฟิลิส
  5. หลอดเลือดแดงอุดตัน หลอดเลือดแดงโป่งพอง
อาการ
  1. เจ็บหน้าอก อาจเกิดตรงกลางหน้าอก ใต้กระดูกหน้าอก มักเจ็บเป็นบริเวณกว้าง บอกจุดไม่ชัดเจน เจ็บเหมือนมีของหนักมาทับ อาการเจ็บมักจะค่อย ๆ มากขึ้นตามเวลา อาจร้าวไปเจ็บที่หัวไหล่ แขน หรือมือทั้งสองข้าง โดยเฉพาะยิ่งสะบักซ้าย และอาจร้าวไปที่คอ ฟันกราม หรือขากรรไกร บางรายอาจแน่นลิ้นปี่ คล้ายกับคนที่อาหารไม่ย่อย
  2. ช็อค หรือหมดสติ จะมีเหงื่อออกมาก ตัวเย็น ซีด เพลีย เป็นลม ความดันเลือดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเบาเร็ว ซึ่งเกิดจากปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวลดลง
  3. คลื่นใส้ อาเจียน พบในบางราย
  4. มีไข อุณหภูมิ 37.5-39.5 องศาเซลเซียส ใน 24 ชั่วโมง หรือถึง 7 วัน
  5. มีนศีรษะ ปวดศีรษะ
การรักษา
  1. การให้ยาแก้ปวด
  2. การให้ยาขยายหลอดเลือด
  3. การให้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือยาละลายลิ่มเลือด
การป้องกันที่กระทำได้
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พบว่าทำให้ป้องกันโรคหัวใจได้ ทำให้หลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น
  • ระวังอย่าให้อ้วน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาหารไขมันประกอบด้วยโคเลสเตอรอล และไตรกรีเซอไรด์ ซึงทำให้กลอดเลือดตีบตัน
  • ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ อย่าวิตกกังวล หรือทำให้เกิดความเครียดบ่อย ๆ
  • งดบุหรี่และไม่ดื่มสุรามากเกินไป อัตราการเกิดโรคหัวใจพบในคนสูบบุหรี่มากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 3-4 เท่า
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรวัดความดันโลหิตทุกปี โรคความดันโลหิตสามารถทำให้หลอดเลือดแดงตีบและตันได้
  • ควรมีการตรวจเช็คระดับไขมันในเลือด ปกติไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม /ต่อ เดซิลิตร ถ้าผิดปกติควรไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำควบคุมอาหาร หรืออาจต้องให้ยา
การปฏิบัติตน
  1. เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาย ถ้าอ้วนก็หาทางลดน้ำหนัก และอย่ากินอาหารที่มีไขมันสัตว์สูง ให้ใช้น้ำมันพืชแทน
  2. ออกกำลังกายที่ไม่หักโหม อย่างสมำเสมอ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน เป็นต้น
  3. หลีกเลื่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกอดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น
    • สิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น ตกใจ โกรธ หรือกระทบกระเทือนจิตใจ ควรทำใจให้เบิกบานอยู่เสมอ
    • อย่าทำงานหักโหมจนเกินไป
    • ระวังอย่าให้ท้องผูก โดยกิตผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมาก ๆ หรือใช้ยาระบายเวลาท้องผูก
    • งดดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่ใส่คาเฟอีน
    • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ หนังไก่ รับประทานไข่ครั้งละ 1 ฟอง วันเว้นวันได้
  4. รับประทานยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ ตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
แหล่งที่มา
หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน โพธาราม ราชบุรี
โทร. 032-397-635

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์