การใช้ Combo Box ของ Access 2010

Combo Box ของ Access 2010 มีไว้สำหรับการเลือกข้อมูล ซึ่งอาจจะกำหนดเอง หรือให้เลือกข้อมูลจากตาราง หรือ Query มาแสดงให้เลือกก็ได้ เช่น

การสร้าง Combo Box โดยใช้ ตัวช่วยสร้าง (Wizards)
  1. สร้างฟอร์มเปล่า (Blank form) เลือก Design View 
  2. เนื่องจากเราต้องการใช้ตัวช่วยสร้าง Combo Box จึงต้องเลือก Use Control Wizards (ปกติจะถูกเลือกอยู่แล้ว ถ้าไม่ถูกเลือก ต้องคลิกเลือกเสียก่อน)
  3. คลิกเลือกเครื่องมือ Combo Box
  4. วาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในบริเวณที่ต้องการสร้าง Combo Box จะเกิดหน้าจอตัวช่วยสร้างขึ้น
  5. ระบุให้ใช้ข้อมูลจากตาราง หรือ Query ที่มีอยู่แล้ว หรือ จะพิมพ์ข้อความเข้าไปเอง ก็ได้
  6. ทำตามหน้าจอจนจบ จะได้ Combo Box ที่ต้องการ
การปรับแต่งการใช้งาน Combo Box

การกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะข้อความที่ให้เลือกเท่านั้น
  1. ที่มุมมองออกแบบ คลิกขวาที่ Combo Box เลือก Properties หรือ คุณสมบัติ
  2. กำหนด Limit to list เป็น Yes
การรวมฟิลด์ หลายฟิลด์ เป็นฟิลด์เดียว
โดยปกติ เรามักจะแยก คำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุล ออกเป็น 3 ฟิลด์ เพื่อสะดวกในการเรียงชื่อ เมื่อต้องการนำฟิลด์ทั้ง 3 มาแสดงใน Combo Box โดยรวมกันเป็นฟิลด์เดียว ให้คลิกที่ Row Source และปรับ Query ใหม่ ดังภาพ
เมื่อแสดงใน Combo Box จะเห็นดังนี้
กำหนดความกว้างของแต่ละคอลัมน์ ขนาดจำนวนบรรทัดที่ให้แสดง และความยาวทั้งหมดของรายการที่แสดง โดยกำหนด Column Count, Column Widths, List Rows, List Widths ในหน้า Property Sheet เช่น


การจัดการกับข้อความที่ไม่มีในรายการให้เลือก

เมื่อกำหนดให้ Limit To List เป็น Yes และเมื่อผู้ใช้พิมพ์ข้อความที่ไม่มีให้เลือก สามารถมีวิธีจัดการได้หลายวิธี เช่น

  1. แสดงข้อความ ปฏิเสธ พร้อมทั้งบอกให้เลือกจากรายการ
    วิธีการ
    1. ไปที่ Event On Not In List 
    2. พิมพ์โค้ดต่อไปนี้
    3. จะได้หน้าจอดังนี้

  2. สอบถามว่า ต้องการเพิ่มข้อมูลในรายการหรือไม่ ถ้าต้องการเพิ่ม ให้เปิดหน้าจอเพื่อแก้ไขข้อมูล วิธีนี้ เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องจัดการ Requery ให้กับ Combo Box ด้วย เพื่อให้เห็นรายการใหม่
    1. ที่ Not In List บน Property Sheet ให้คลิกเพื่อเปิดหน้าจอและเขียนโค้ด ดังภาพ
    2. ในโค้ดของหน้าจอที่เรียก ต้องระบุให้ Requery Combo Box ด้วย
    3. เมื่อไม่มีข้อความในรายการ จะแสดงหน้าจอ และถ้าต้องการเพิ่มรายการ จะเปิดหน้าจอให้เพิ่มรายการได้
  3. สอบถาม และเพิ่มข้อมูลที่พิมพ์ ลงในตารางให้ด้วย ถ้าผู้ใช้ต้องการ
    ที่ Not In List บน Property Sheet ให้คลิกเพื่อเปิดหน้าจอและเขียนโค้ด ดังภาพ
                                          
  4. สร้างฟอร์มให้สามารถแก้ไขได้ โดยระบุชื่อฟอร์ม ใน List Items Edit Form ของแถบ Data ใน  Property Sheet และเมื่อกำหนดแล้ว ผู้ใช้จะเห็นมีสัญลักษณ์ให้แก้ไขได้ เช่น






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์