การจัดการเกี่ยวกับวันที่ ใน Excel

คงต้องยอมรับกันว่า เรื่องของวันที่ใน Excel ทำให้ปวดหัวอยู่ไม่น้อยทีเดียว วันนึงผมได้ไฟล์จากที่อื่นมาเปิด เพื่อถ่ายโอนเข้าโปรแกรม Access วันที่ของเดิม เขียนว่า 1-มี.ค.-58 ทำไปทำมา กลายเป็น 1/3/1958 พอเป็นภาษาไทย ก็กลายเป็น 1/3/2501 ห่างกัน 57 ปี

อย่างนี้ก็ปวดหัวละซี

เข้าใจว่า ไฟล๋ของเก่า คงใช้ปฏิทินแบบตะวันตก และพิมพ์เข้าไปแบบ พุทธศักราช ผลที่ได้ก็จึงเป็นปี ค.ศ. ไป เวลาเอามาคำนวณ หรือถ่ายโอน ก็เกิดปัญหาธรรมดา

หลักใหญ่ของเรา คือ ต้องกำหนดรูปแบบให้ถูก โดยกำหนดให้ใช้ปีพุทธศักราช และ คลิกการป้อนให้สอดคล้องกัน การตั้งค่าดังกล่าว ให้คลิกเลือกเซลล์ที่จะป้อนวันที่ แล้วกด Ctrl +1 จะเปิดหน้าจอให้จัดรูปแบบเซลล์

ถ้าทำอย่างนี้ได้ จะหมดปัญหาเรื่องวันที่ ไม่มีเรื่องปวดหัวกวนใจ

แต่ถ้าเลือกไม่ได้ ปัญหาเข้ามาเอง ก็ต้องจัดการให้อยู่หมัด

มีสูตรเกี่ยวกับวันที่ ของ Excel ที่ช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้ดีมาก คือ สูตร  Date() เป็นสูตรที่ยืดหยุ่นมาก

สูตรคือ Date(year, month, day)

ตัวอย่างการใช้

การเพิ่ม เดือน อีก 3 เดือน   คือ  =Date(2015, 2+3,20 จะได้ 20 พฤษภาคม 2558
เพิ่มจำนวนวัน โปรแกรมคิดเป็นเดือนให้ด้วย เช่น =DATE(2015,10,14+30) จะได้ 13 พฤศจิกายน 2558
ถ้าในกรณีปัญหาของผมข้างต้น ก็สามารถบวกปี ในเซลล์ ได้เลย เช่น =DATE(YEAR(A2)+57,MONTH(A2),DAY(A2))


เรื่องวันที่ ยังมีอีกมาก แต่ที่สำคัญคือ ต้องตั้งรูปแบบให้ถูกต้อง จะลดปัญหาไปได้มาก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์