บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2015

การสร้างปุ่มแชร์ บนมือถือ Android ด้วย ShareActionProvider

รูปภาพ
ShareActionProvider extends มาจาก Action Provider Class ซึ่งเริ่มจาก Android 4.0 (API 11) ซึ่งเป็นตัวจัดการเรียกแอป social media เพื่อแชร์ข้อมูลไปยังเพื่อน ๆ หรือ กลุ่มเพื่อน โดยเรียกใช้ โซเชียลแอปที่มีในมือถือนั้น ๆ เช่น Line Facebook Email Messenger เป็นต้น แล้วแต่ว่า ในมือถือนั้น ๆ จะติดตั้งแอป อะไรไว้บ้าง ShareActionProvider ก็จะนำมาให้เลือก และจัดการให้ทั้งหมด ดังภาพ ( ภาพที่ 1 แสดงไอคอนแชร์ ภาพที่ 2 เมื่อกดปุ่มแชร์ และภาพที่ 3 เมื่อกดปุ่มอีเมล) ปัญหาคือ แล้วจะเรียกใช้อย่างไร ปัญหามักจะอยู่ที่การเชื่อมโยงระหว่าง ShareActionProvider กับ menu itemในไฟล์ menu.xml เช่น บอกให้ไปใช้ MenuItemCompat หรือ มีปัญหาการ cast บอกว่า ไม่สามารถ cast จาก ActionProvider ไปยัง ShareActionProvider เป็นต้น  ในตัวอย่างนี้ ใช้ Android Studio 1.5 และใช้ App Bar ไม่ใช้ Action Bar  หลักการในการเรียกใช้งาน ShareActionProvider กำหนด Style ให้ไม่ใช้ Action Bar และเรียกใช้ใน theme ให้สอดคล้องกัน สร้าง menu item ใน menu.xml โดยไม่ต้องระบุไอคอน เพราะ ShareActionProvider จัดการให้เรียบร้อย แ

การสร้างปุ่มกลับ บน Toobar ของ Android Studio

รูปภาพ
Android Studio API 21 ได้นำ Toolbar มาใช้แทน ActionBar โดยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นมาก ในตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นการสร้างปุ่มกลับเมนู บน Toolbar ดังภาพ ปุ่มกลับเมนู ไม่ใช่ปุ่มกลับหน้าที่ผ่านมา แต่เป็นปุ่มกลับเมนูที่คลิกมาหน้าปัจจุบัน หรือ เมนูที่อยู่เหนืออีกชั้นหนึ่ง รายละเอียดดูที่  http://developer.android.com/design/patterns/navigation.html ข้อดีของ Android Studio ที่ผมชอบ คือ เขามีการเขียนโค้ดเตรียมไว้ให้พร้อม เราเพียงแต่ให้รู้ว่า จะเพิ่มเติมอะไร อย่างไร นอกจากนี้ ยังมี  code hint ทำให้ทุ่นเวลาการเขียน พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องไปในตัว รุ่นที่ใช้อยู่นี้ คือ Android Studio 1.5 การสร้างปุ่มกลับ เริ่มจากสร้าง Project ใหม่ เลือก API 11 และ Blank Project เมื่อเปิดเข้ามา จะเห็นว่า Android Studio 1.5 สร้าง Toolbar ว่าง ๆ ไว้ให้แล้ว พร้อมกับสร้าง menu_main.xml ไว้ให้ด้วย เพื่อให้ตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ใส่ปุ่มกลับ เพิ่มชื่อของ Activity เพิ่ม Overflow menu เป็นต้น ปุ่มกลับต้องมี 2 หน้า ดังนั้นต้องสร้างหน้าใหม่ หรือ Activity ใหม่ โดยไปที่  Java > [PackageName] คลิกขวา และเล

การทำภาพให้คมชัดขึ้น ด้วย Photoshop CS5

รูปภาพ
เดี๋ยวนี้การตกแต่งภาพทำได้หลายอย่าง ยิ่งถ้าถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ ยิ่งทำได้ง่ายมาก เพราะมี App ถ่ายภาพที่มาพร้อมกับฟิลเตอร์สำหรับตกแต่งภาพได้หลายอย่าง เช่น  Camera 360 Ultimate กล้องที่มากับโทรศัพท์ของ Samsung ก็มี Filter ให้แต่งภาพสวย ๆ ได้หลายแบบ อย่างไรก็ตาม กล้องดิจิตอลแบบเก่าก็ยังใช้งานได้ดี โดยเฉพาะการถ่ายภาพในระยะใกล้ ซึ่งกล้องมือถือยังทำได้ไม่ดีเท่ากับกล้องดิจิตอล เพราะกล้องมือถือใช้การ Zoom แบบ    digital zooming แต่กล้องดิจิตอล ใช้เล็นซ์ในการซูมภาพ ซึ่งให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า ภาพที่ถ่ายจากกล้องบางครั้งอาจจะไม่คมชัด สามารถทำให้คมชัดขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ด้วยโปรแกรม Photoshop เทคนิคการทำภาพให้คมชัดขึ้น เปิดโปรแกรม Photoshop และเปิดภาพที่ต้องการ คลิกขวาที่ Layers (ถ้าไม่เห็น Layers ให้ไปที่ Window > Layers หรือ กด F7) และเลือก Duplicate เพื่อคัดลอกเป็นอีกขั้นหนึ่ง คลิกเลือกชั้นใหม่ที่เกิดขึ้น (ถ้าชั้นใหม่ถูกล็อคอยู่ให้คลิกลูกกุญแจเพื่อเอาล็อคออกก่อน) ไปที่ Filter > Other > High Pass... ปรับ Slide เพื่อกำหนดค่า ถ้าต้องการให้คมชัดมาก ให้ตั้งค่าสูง ๆ คลิก

มะรุม Moringa

รูปภาพ
วันนี้ฟังวิทยุรายการ Gary Null Show วันที่ 10.28.15 พูดถึงใบ Moringa สงสัยว่ามันใบอะไรของมัน ถึงได้มีคุณสมบัติเยอะแยะมากมายมหาศาล แถมมีแหล่งกำเนิดแถว ๆ ภูเขาหิมาลัย ประเทศอินเดียอีกต่างหาก หาความหมายดูจึงเห็นว่าเป็นใบ มะรุม นั่นเอง Gary Null บอกว่ามะรุม มีคุณสมบัติ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก (anti-tumors) แก้อักเสบ (anti-inflammatory)  ต้านแผลในกระเพาะอาหาร (anti-ulcer)  คลายกล้ามเนื้อเกร็ง (antispasmodic)  ต้านความดันโลหิตสูง (anti-hypertensive)  ป้องกัน/บรรเทาโรคเบาหวาน (anti-diabetic)  ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterial)   และต้านเชื้อรา (anti-fungal) ในใบมะรุม 1 ถ้วย(serving) มีสารอาหารที่มีประโยชน์ ถึง 92 ชนิด เช่น กรดอะมิโน วิตามินซี วิตามินบี 6 โปแตสเซี่ยม แมกนีเซียม เหล็ก แคลเซี่ยม และวิตามินเอ โดยที่สารอาหารแต่ละชนิดมีปริมาณจำนวนมาก เช่น มีวิตามินเอ ถึง 272 % ของจำนวนที่ต้องการในแต่ละวัน  มีแคลเซี่ยม จำนวน 175 % ของจำนวนที่ต้องการในแต่ละวัน Gary Null บอกว่า มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง (anemia) ปวดข้อ ข้ออักเสบ (arthritis และ joint-pain) หืดหอบ (asthma) โรครู