บทความ

การคัดลอกข้อมูล จาก Excel ลงตารางในโปรแกรม กองทุนหมู่บ้าน

รูปภาพ
หลายคน ต้องการนำข้อมูลเก่าจาก Excel มาเข้าในโปรแกรมกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งใช้โปรแกรม Microsoft Access จะทำได้อย่างไร การคัดลอกข้อมูลจาก Excel ไปยัง Access สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การคัดลอกจาก Excel แล้วมาวางในตารางของ Access หรือ จาก Access สามารถใช้เมนูการนำเข้าข้อมูลจาก Excel หรือ จะใช้การลิงค์ข้อมูล ก็ได้ แต่ในที่นี้ จะใช้วิธีที่ง่ายที่สุด คือการคัดลอกจาก Excel แล้วมาวางในตารางของ Access

ตรรกศาสตร์ การสรุปเชิงเหตุผล

รูปภาพ
ครั้งที่แล้วเขียนเรื่อง การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ มีผู้ต้องการอยากได้แบบฝึกหัด มาคราวนี้ จึงจัดให้นะครับ การสรุปเหตุผล ต้องอาศัยเหตุ หรือ premises ที่ให้มา โดยต้องเชื่อว่า เหตุที่ให้มานั้นเป็นจริง การสรุปถ้ายึดตามหลักภาษาหรือความหมายแล้ว อาจจะทำให้ผิดไปจากหลักของ ตรรกะ เช่น ถ้าเป็นไข้ จะทำให้ปวดหัว วันนี้ฉันปวดหัว สรุปว่า ฉันเป็นไข้ ถ้าดูตามความหมายก็อาจจะถูกต้อง แต่ถ้าตรวจดูตามหลักตรรกะ แล้ว จะเห็นว่า ไม่เป็นจริง เพราะ อาการปวดหัว อาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เป็นไมเกรน ก็ปวดหัวได้เหมือนกัน การสรุปแบบนี้ เรียกว่าเป็นข้อผิดพลาด หรือ Error ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Affirming the Consequent ต้องการทบทวนหลักการสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ     คลิกทีนี่ ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา คลิกที่ปุ่มเพื่อไปดาวน์โหลด คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. ถ้าวันนี้ฝนไม่ตก ฉั

เตรียมสอบ ก.พ. การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ ความสอดคล้อง ไม่สอดคล้อง

รูปภาพ
การสรุปเหตุผล ที่มีในข้อสอบ ก.พ. เป็นการสรุปตามข้อมูลที่ให้ แล้วนำมาสรุปว่า เป็นจริงหรือไม่จริง สอดคล้องหรือไม่สอดคล้อง เป็นต้น การสรุปเหตุผลจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการสรุป ซึ่งตามหลักตรรกศาสตร์มีกฏเกณฑ์การสรุปข้อเท็จจริง จำนวนมาก แต่เท่าที่พบส่วนใหญ่ในข้อสอบ มักจะใช้กฎเกณฑ์พื้น ๆ ไม่กี่อย่าง ถ้าทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะสามารถทำข้อสอบ การสรุปเหตุผลได้อย่างง่ายดาย การสรุปแบบ นิรนัย (deductive) การสรุปแบบ นิรนัย (deductive) เป็นการสรุปจากข้อเท็จจริง โดยโจทย์จะกำหนด เงื่อนไข เหตุการณ์ หรือสถานการณ์(premises) ซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุป(conclusion) มาให้ 2 หรือ 3 เหตุการณ์ หรือมากกว่านั้น และให้หาข้อสรุป เช่น สมมติว่า ถ้า P เป็นจริงแล้ว จะทำให้ Q เป็นจริงด้วย เราสามารถเขียนได้ ดังนี้ P → Q

เงื่อนไขสัญลักษณ์ กรณีไม่แน่นอน หรือสรุปไม่ได้

รูปภาพ
ในการการทำข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์ จะต้องบอกได้ว่า ข้อสรุปของโจทย์ เป็นจริง เป็นเท็จ หรือ ไม่แน่นอน การบอกว่าเงื่อนไขเป็นจริง หรือเป็นเท็จ มักจะไม่ค่อยมีปัญหา เช่น จะเป็นจริง ถ้าผลการพิสูจน์ของเราตรงกับข้อสรุป เช่น ข้อสรุป A > B ผลการพิสูจน์ A > B หรือ ข้อสรุป A ≥ B ผลการพิสูจน์ A > B เป็นเท็จ ถ้าผลการพิสูจน์ไม่ตรงกับข้อสรุป เช่น ข้อสรุป A > B ผลการพิสูจน์ A < B แต่ กรณีสรุปไม่ได้ เป็นกรณีที่ สามารถมีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้มากกว่าข้อสรุปของโจทย์ เช่น ข้อสรุป A > B ผลการพิสูจน์ ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่าง A และ B ได้ คือ A เป็นได้ทั้ง มากกว่า B น้อยกว่า B หรืออาจจะเท่ากับ B ก็ได้

คิดลัด ร้อยละ เตรียมสอบ ก.พ.

รูปภาพ
การบริหารเวลา ในการสอบ เป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งถ้าทำได้เร็วและถูกต้อง จะได้มีเวลาเหลือไปคิดข้อสอบข้ออื่นที่ยาก หรือมีเวลาทบทวนข้อสอบที่ทำแล้ว ลักษณะโจทย์ร้อยละ ลักษณะที่ 1 หาตัวเลขจากเปอร์เซ็นต์ โจทย์ในลักษณะนี้ เช่น ถามว่า 50% ของ 200 มีค่าเท่าไร ซื้อของมา 300 บาท ขายขาดทุน 30% ขายไปกี่บาท ซื้อของมา 300 บาท ต้องการกำไร 30% ต้องขายกี่บาท ปีที่แล้วมีเงินเดือน 25,000 บาท ปีนี้ได้เพิ่มอีก 5% ปีนี้ได้เงินเดือนกี่บาท ขายของไป 210 บาท ขาดทุน 30% ซื้อของชิ้นนี้มากี่บาท? ขายของไป 130 บาท ได้กำไร 20% ซื้อของชิ้นนี้มากี่บาท? โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนหญิงคิดเป็น 24% ของนักเรียนทั้งหมด ถ้าโรงเรียนนี้มีนักเรียน 1,800 คน จงหาจำนวนนักเรียนชาย บริษัทขายโทรทัศน์แห่งหนึ่ง สั่งโทรทัศน์จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้า 100%ของราคาที่ซื้อมา ถ้านำมาขายราคาเครื่องละ 13,200บาท จะได้กำไร 20% จงหาราคาที่ซื้อมาจากต่างประเทศ ขายสินค้าไป 600 บาท ได้กำไร 20% ถ้าต้องการกำไร 30% จะต้องขายสินค้าในราคากี่บาท นก ขายของให้หวาน ได้กำไร 10% ต่อมา หวานขายต่อให้ หนูนา ได้กำไร 5% หนูนาซื้อจากหวานในราคา 2,310 บาท ถา

ข้อสอบ คำที่มักเขียนผิด

รูปภาพ
คำที่มักเขียนผิด มักจะมีออกข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่เสมอ การเขียนให้ถูกต้องนอกจากจะมีประโยชน์ในการสอบแล้ว ยังแสดงออกถึงความเป็นคนไทย ที่รู้รักและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางภาษาของเราอีกด้วย ศึกษาเพิ่มเติม คำที่มักเขียนผิด คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกที่สุด ข้อ 1. ข้อใดมีคำที่เขียนสะกดไม่ถูกต้อง 1. กระยาสารท ซาละเปา ราดหน้า ฮ่อยจ๊อ 2. เฆี่ยนตี เดินจงกรม จระเข้ดุ จลาจลวุ่นวาย 3. จะงอยปาก ปลาจะละเม็ด เข้าฌาน อนุญาต 4. ประสบทุพภิกขภัย กฎเกณฑ์ ทศกัณฐ์ กรรมพันธุ์ dummy text ซาละเปา คำที่ถูกคือ ซาลาเปา

คำที่มักเขียนผิด

รูปภาพ
คำที่มักเขียนผิด คำที่มักเขียนผิด ส่วนใหญ่นำมาจาก วิกิพีเดีย และเว็บไซต์อื่น ๆ พร้อมทั้งตรวจสอบกับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ และได้จัดทำปุ่มค้นหา ทำให้ตรวจสอบคำที่สงสัย สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น จึงหวังว่า น่าจะเป็นประโยชน์ ต่อนักเรียน นักศึกษา ผู้เตรียมสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. ตลอดจนผู้สนใจศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับ การเขียนภาษาไทย ให้ถูกต้อง ได้ตามสมควร

แนวข้อสอบ ก.พ. โอเปอเรต

ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. มีบางครั้งที่ข้อสอบ ก.พ. มีการออกข้อสอบเรื่อง โอเปอร์เรต ซึ่งเป็นทักษะการคำนวนเบื้องต้น ทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร หรือเลขยกกำลังเป็นต้น ลักษณะของข้อสอบ จะให้ตัวเลขมา 2 ชุด โดยมีคำตอบมาให้ ผู้เข้าสอบต้องหาว่า คำตอบที่ได้มานั้น มาจากการนำตัวเลขมาทำอะไรทางคณิตศาสตร์ และผู้เข้าสอบต้องใช้วิธีเดียวกันกับตัวเลข 2 ชุดที่ให้มา เพื่อหาคำตอบจากตัวเลขที่กำหนดให้ แนวการหาคำตอบ ให้ลองเอาตัวเลขชุดแรก มาลอง บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง ดู แล้วจดผลที่ได้เอาไว้ จากนั้น ให้ลองเปรียบเทียบดูกับผลลัพธ์ที่โจทย์ให้มา ว่า เราจะทำอย่างไร ให้ได้เหมือนผลลัพธ์ของโจทย์ เช่น ถ้า  2 * 3 = 15 และ 3 * 4 = 21 แล้ว  1 * 6 = ? ให้ลองเอา 2 บวก ลบ คูณ หาร กับ 3 แล้วจดเอาไว้ การทำเช่นนี้ ผมจะเรียกว่า หาข้อมูลดิบ เพื่อจะเอาไปเปรียบเทียบกับ ผลลัพธ์ที่โจทย์ให้มา ซึ่งผมจะเรียกว่า เป้าหมาย คำถามคือ เราจะทำอย่างไรกับ ข้อมูลดิบ เพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย การที่เราจดไว้แทนการคิดในใจ จะทำให้เราเห็นทางได้ง่ายขี้น 2 + 3 = 5 2 × 3 = 6 3 - 2 = 1 จะเห็นว่าข้อมูลดิบที่เราได้ คือ 5, 6 และ 1 สามารถทำให้ได้

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

รูปภาพ
ครั้งที่แล้ว ได้แนะนำหลักการทำ ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. ความสามารถทั่วไป เงื่อนไขสัญลักษณ์ มา แล้ว ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน ก็คลิกกลับไปอ่านได้ ความจริง ข้อสอบเงื่อนไขสัญลักษณ์ เป็นข้อสอบไม่ยาก ถ้าเข้าใจหลักการ และมีทักษะความชำนาญ ใจเย็น ๆ อย่าตื่นเต้น โดยเฉพาะการดูเครื่องหมายต่าง ๆ อย่าดูผิด เช่น เครื่องหมายมากกว่า (>) น้อยกว่า (<) เป็นต้น เพราะการแก้ปัญหาโจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์ หรือ inequality ก็คล้ายกับการแก้ปัญหาสมการโดยทั่วไป นั่นเอง คือ สามารถบวก ลบ คูณ หาร ด้วยจำนวนที่เท่ากัน ทั้งสองข้างของเครื่องหมายได้ กลับเศษเป็นส่วนได้ แต่ก็มีบางเรื่อง บางรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง ซึ่งอ่านได้จาก ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. ความสามารถทั่วไป เงื่อนไขสัญลักษณ์ นะครับ ครั้งนี้ จึงเป็นการนำแนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์ เพื่อนำมาฝึกทำให้เกิดทักษะความชำนาญ เพื่อจะได้ทำข้อสอบได้รวดเร็วขึ้น เพราะในห้องสอบ เวลาจัดได้ว่ามีค่ามาก ยิ่งทำเร็วและถูกต้อง ยิ่งดี ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบ

ความสามารถทั่วไป เงื่อนไขสัญลักษณ์

รูปภาพ
ข้อสอบ ก.พ. ความสมารถทั่วไป เงื่อนไขสัญลักษณ์ ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ โดย ใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น -เครื่องหมาย เท่ากัน (=) เช่น A=B -เครื่องหมาย ไม่เท่ากัน(≠) เช่น A ≠ B -เครื่องหมายมากกว่า (>) เช่น A > B -เครื่องหมายน้อยกว่า(<) เช่น A < B -เครื่องหมายมากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เช่น A ≥ B -เครื่องหมายน้อยกว่าหรือเท่ากับ(≤) เช่น A ≤ B -เครื่องหมายไม่มากกว่า(≯) เช่น A ≯ B -เครื่องหมายไม่น้อยกว่า(≮) เช่น A ≮ B เป็นต้น