บทความ

เทคนิค การทำ ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาภาษาไทย ข้อบกพร่องทางภาษา

รูปภาพ
ข้อสอบ ภาค ก. วิชาภาษาไทย ของ ก.พ. จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การใช้ภาษา และความเข้าใจภาษา   ข้อสอบการใช้ภาษาเป็นการทดสอบทักษะการใช้ภาษาได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ เช่น ข้อบกพร่องทางภาษา ส่วนข้อสอบความเข้าใจภาษา เป็นข้อสอบการอ่าน ออกในลักษณะข้อความสั้น ๆ หรือเป็นข้อความเป็นย่อหน้า แล้วถามความหมาย การแปลความ ตีความ ขยายความ จากเรื่องที่อ่าน

วิธีแก้ปัญหา Word 2016 เปลี่ยนภาษาให้เอง

รูปภาพ
ผู้ใช้ Word 2016 เคยรำคาญใจบ้างหรือไม่ ที่พิมพ์ภาษาไทยอยู่ดี ๆ พอกด Enter และพิมพ์ข้อความต่อไป พอจะมาเพิ่มข้อความที่ท้ายข้อความเดิม ก็พบว่า ภาษาเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ ต้องเสียเวลา กดแป้นเปลี่ยนภาษาให้เป็นภาษาไทย แล้วจึงพิมพ์ได้ หรืออีกอย่างคือ พอเปิดมาทีไร เป็นภาษาอังกฤษทุกที ทั้ง ๆ ที่ตั้ง ภาษาสำหรับการแก้ไข และภาษาส่วนที่ใช้แสดง ให้เป็นภาษาไทยหมดแล้ว ก็ตาม

ใบหม่อน กินแล้วได้อะไร

รูปภาพ
ฝนตกชุก ต้นหม่อนงาม ใบแตกสะพรั่ง ใบหม่อน ใช้เลี้ยงไหม เพื่อเอามาทอผ้าไหม ใบหม่อน หนอนกินได้ คนก็น่าจะกินได้เช่นกัน เห็นเขาว่า บางคนเอาไปใส่ก๋วยเตี๋ยว บางคนเอาไปต้มไก่ ใบหม่อน กินแล้วได้อะไร 

การใช้ "การ" หรือ "ความ" นำหน้าคำในภาษาไทย ข้อสอบ ก.พ.

รูปภาพ
การใช้ การ หรือ ความ นำหน้าคำในภาษาไทย คำที่มี “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เป็นคำนามที่ใช้บอกอาการกระทำ หรือที่เรียกว่า อาการนาม มีหลักในการใช้ ดังนี้ การใช้ “การ” การสามารถใช้นำหน้าคำนาม หรือคำกริยา ได้ - นำหน้าคำนาม จะหมายความว่า เรื่อง , ธุระ , หน้าที่ เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น

แนวข้อสอบ ก.พ., ท้องถิ่น วิชาภาษาไทย (การใช้คำ)

รูปภาพ
แนวข้อสอบ ก.พ., ท้องถิ่น ภาค ก. วิชาภาษาไทย (การเลือกใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสม) พร้อมเฉลยและอธิบายละเอียด ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา คลิกที่ปุ่มเพื่อไปดาวน์โหลด เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย    คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. เยาวชน ที่กระทำความผิดลหุโทษ ต้องอยู่ใน ......... ของกรมคุมประพฤติ หรือถูกกักกัน ในสถานพินิจ 1. ความดูแล 2. ความควบคุม 3. ความพิทักษ์ 4. ความช่วยเหลือ dummy text ดูแล - เอาใจใส่ให้เป็นไปด้วยดี เช่น พ่อแม่ดูแลลูก พยาบาลดูแลคนไข้ ควบคุม - การคุมหรือกักขังผู้ถูกจับ โดยพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ พิทักษ์ - ดูแลคุ้มครอง เช่น พิทักษ์สันติราษฎร์ ช่วยเหลือ - สงเคราะห์ให้สำเร็จดังประสงค์หรือให้พ้นความลำบาก เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เงินค่าช่วยเหลือบุตร

เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ. วิชา ภาษาไทย

เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ. วิชา ภาษาไทย ข้อสอบวิชาภาษาไทย ของ ก.พ. ครอบคลุมเรื่องใหญ่ ๆ 2 เรื่อง คือ การใช้ภาษา และ ความเข้าใจภาษา การใช้ภาษา จะวัดความสามารถในด้านการใช้ภาษาไทย ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นการใช้ภาษาในระดับ คำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือข้อความสั้น ๆ รวมทั้งความสามารถในการเรียงลำดับข้อความเป็นประโยคได้ถูกต้อง เหมาะสม ความเข้าใจภาษา จะวัดความสามารถในด้านความเข้าใจภาษา โดยสามารถสรุปความ จากข้อความสั้น ๆ หรือ บทความได้ ทั้งนี้ โดยจะกำหนดเรื่อง หรือบทความให้อ่าน แล้วตอบคำถาม ซึ่งนอกจากจะสรุปความจากเรื่องที่อ่านแล้ว ยังอาจจะให้มีการแปลความ หรือตีความอีกด้วย ลักษณะของข้อสอบวิชาภาษาไทย

แนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูล จาก กราฟ

รูปภาพ
แนวข้อสอบ วิเคราะห์ข้อมูล ตาราง แผนภูมิ กราฟ ทบทวนแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ตาราง แผนภูมิ กราฟ ที่ http://www.thongjoon.com/2017/08/blog-post.html คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ใช้ข้อมูลในแผนภูมิข้างล่างนี้ สำหรับคำถาม ข้อ 1-3 ข้อ 1. จังหวัดใด มีประชากรสูงอายุ มากที่สุด

แนวข้อสอบ วิเคราะห์ข้อมูลตาราง

รูปภาพ
แนวข้อสอบวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง ทบทวนแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ตาราง แผนภูมิ กราฟ ที่ http://www.thongjoon.com/2017/08/blog-post.html คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ใช้ข้อมูลในตารางข้างล่างนี้ สำหรับคำถาม ข้อ 1-4 การจำหน่ายรถยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม (หน่วย : คัน)    เดือน Toyota Mazda Honda Mitsu Isuzu ม.ค. 340 64 221 147 104 ก.พ. 570 125 315 102 96 มี.ค. 112 16 118 61 57 เม.ย. 43 8 96 31 84 พ.ค. 165 41 83 24 38 ข้อ 1. ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม ยอดจำหน่ายของโตโยต้า มีจำนวนมากกว่าอันดับที่ 3 เป็นจำนวนกี่คัน

การวิเคราะห์ ตาราง กราฟ แผนภูมิ เตรียมสอบ ก.พ. ท้องถิ่น

รูปภาพ
การวิเคราะห์ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ ข้อสอบ ก.พ. การวิเคราะห์ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ มักจะถามให้วิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ซึ่งสามารถใช้การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ได้ในทุกกรณี เช่น จากแผนภูมิ ปริมาณน้ำฝน ในเดือน กรกฎาคม 2559 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละเท่าไร

คิดลัด โจทย์สมการ

รูปภาพ
ข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. มักจะมีโจทย์สมการอยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการแก้สมการชั้นเดียว ซึ่งทำได้ไม่ยาก แต่มักจะใช้เวลาในการแก้โจทย์ ถ้าเรารู้วิธีลัด ก็จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก เพราะการสอบ ข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. จะต้องทำข้อสอบแข่งกับเวลา ถ้ายิ่งใช้เวลาในการทำแต่ละข้อน้อย ก็จะยิ่งได้ประโยชน์มาก เทคนิคการแก้โจทย์สมการ โจทย์ 3x + 2y = 17 4x + 3y = 24 การคิดตามปกติ เราต้องกำจัดตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งออก โดยการหาตัวเลขมาคูณ หรือ หาร เพื่อให้ตัวแปรเท่ากัน แล้วจึงนำสมการทั้งสอง มาบวกหรือลบกัน ก็จะกำจัดตัวแปรออกไปได้ 1 ตัว แล้วจึงสามารถหาค่าได้ วิธีคิดแบบลัด วิธีนี้ ใช้ได้กับสมการเส้นตรงชั้นเดียว เหมือนกับโจทย์ สามารถคิดได้ โดยไม่ต้องกำจัดตัวแปรใด ๆ ทั้งสิ้น

แนวข้อสอบ ก.พ. ความสอดคล้อง เฉลยพร้อมอธิบายอย่างละเอียด

รูปภาพ
แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. พร้อมเฉลยและอธิบายละเอียด ต้องการทบทวนหลักการสรุปความสอดคล้อง    คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. ผู้ที่สอบผ่านทุกคนต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับข้อความข้างต้น   1. ผู้ที่ไม่เข้ารับการปฐมนิเทศ เป็นผู้สอบไม่ผ่าน 2. ผู้ที่สอบผ่านบางคน ไม่ต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ 3. ไม่มีผู้ที่สอบผ่าน ที่ไม่ต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ 4. ผู้ที่เข้ารับการปฐมนิเทศบางคน คือผู้ที่สอบผ่าน   dummy text S = ผู้ที่สอบผ่าน P = ผู้ที่เข้ารับการปฐมนิเทศ ประโยคที่กำหนดให้ เป็นประโยค A (All S are P) ประโยค A ไม่สอดคล้อง/ขัดแย้งกับ ประโยค O (Some S are not P) ข้อ 2 เป็นประโยค O จึงเป็นข้อที่ถูก วิเคราะห์ ตัวเลือกทีละข้อ ข้อ 1 เป็น Contraposition ของ A (All non-P are non-S) จึงสอดคล้องกัน ข้อ 2 เป็นประโยค O (Some S are not P) ไม่สอดคล้องกับ ประโยค A ในลักษณะ ขัดแย้งกัน (contradictories) ข้อ 3 เป็นประโยค obversion ของ A (No S are non-P) จึงสอดคล้องกับประโย