บทความ

เตรียมสอบ ก.พ. การใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน

รูปภาพ
ข้อสอบวิชาภาษาไทย สอบ ก.พ. ภาค ก. มักจะทดสอบการเลือกใช้คำให้ถูกกับความหมาย ซึ่งมีคำอยู่หลายคำ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน จึงทำให้เลือกลำบาก ในแบบฝึกหัดนี้ จะนำเอาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพื่อฝึกทักษะ เป็นการเตรียมความพร้อม ในการสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. เขาคงไม่ยอม ........... ง่าย ๆ หรอก คงหาทางแก้ไขต่อไปจนได้ 1. จนมุม 2. จนแต้ม 3. จนตรอก 4. จนใจ dummy text จนมุม - ไม่มีทางหนีหรือหลีกเลี่ยง (มักจะใช้กับผู้ร้ายที่หนีตำรวจไม่พ้น) เช่น ผู้ร้ายจนมุม ถูกตำรวจจับได้ จนแต้ม - หมดทางสู้ หมดทางหนี ไม่รู้จะเอาไม้ไหนมาสู้ เพราะใช้ทั้งหมดแล้วก็ยังสู้ไม่ได้ (สู้กัน และในที่สุดก็หมดทางสู้) เช่น อย่าไปเซ้าซี้เขานักเลย ท่าทางเขาจะจนแต้มแล้วละ จนตรอก - หมดหนทาง สุดทางหนี (แพ้และหนี แต่ในที่สุดก็หนีอีกไม่ได้ เพราะหมดทางหนี)เช่น ถึงอย่างไรก็จะสู้จนกว่าจะจนตรอกนั่นแหล่ะ จนใจ - จนปัญญา,หมดหนทาง,ไม่มีทางคิด เช่น ผมจนใจจริงๆ ที่ไม่สามารถช่วยคุณได้. คำตอบคือ ข้อ : 2

อันตรายจากโทรศัพท์มือถือ

รูปภาพ
พูดกันมากเรื่องอันตรายจากคลื่นวิทยุ (radiofrequency - RF)จากโทรศัพท์มือถือ มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและฝ่ายที่ต่อต้านโดยเฉพาะจากทางผู้ผลิตมือถือ ซึ่งถึงปัจจุบันก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ มาถึงวันนี้ (ข่าวจาก  www.forbes.com เมื่อ DEC 16, 2017 @ 10:37 AM) สำนักงานสาธารณสุขของรัฐคาลิฟอร์เนียร์ (the California Department of Public Health - CDPH) ได้ออกประกาศคำแนะนำอย่างเป็นทางการ ให้ลดการใช้งานโทรศัพท์มือถือ คำแนะนำส่วนหนึ่ง มีดังนี้

การลบหรือเปลี่ยนแปลงระเบียนในตารางที่มีความสัมพันธ์กับตารางอื่น ของ Microsoft Access

รูปภาพ
โดยปกติ ถ้าตารางสองตารางของ MS Access ที่มีการเชื่อมความสัมพันธ์กัน ในลักษณะ one-to-many เราจะไม่สามารถแก้ไขฟิลด์ที่กำหนดความสัมพันธ์ ถ้าพยายามแก้ โปรแกรมจะขึ้นข้อความแจ้งให้ทราบ ดังนี้

แทรกวิดีโอออนไลน์ ใน Word 2016

รูปภาพ
เดี๋ยวนี้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าได้เกือบหนทุกแห่ง Microsoft จึงได้เพิ่มฟังก์ชันให้ MS Word สามารถนำไฟล์มีเดีย เช่น ไฟล์วิดีโอ และไฟล์เสียง จากอินเทอร์เน็ต มาไว้ในเอกสาร Word ได้ โดยเริ่มมาตั้งแต่ Word 2013 แล้วนะครับ โดยเพิ่มคำสั่ง "วิดีโอแบบออนไลน์" ในเมนูแทรก บนริบบิ้น

เตรียมสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย (ภาษาบกพร่อง)

รูปภาพ
แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. ภาษาไทย(ภาษาบกพร่อง) พร้อมเฉลยและอธิบายละเอียด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ได้แก่ (1) ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย (2) ใช้ภาษากำกวม (3) เขียนตัวสะกดผิด (4)ใช้คำผิดความหมาย เช่น ใช้ลักษณะนามผิด ใช้คำ/สำนวนผิด ใช้คำเชื่อมผิด ใช้คำนามเป็นคำกริยา เป็นต้น (5) ใช้คำ/สำนวนต่างประเทศโดยไม่จำเป็น (6) เรียงคำ/กลุ่มคำผิดลำดับ (7) ใช้ภาษาแสลง (8) ใช้คำขัดแย้งกันในประโยค (9) ใช้คำไม่คงที่ (10) ใช้คำต่างระดับ (11) และ อื่น ๆ เช่น ใช้คำไม่เหมาะแก่โวหาร ไม่เหมาะกับ กาละ เทศะ และบุคคล ตลอดจนใช้คำไม่เหมาะกับความรู้สึก เป็นต้น ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม    คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. ประโยคในข้อใด ใช้ภาษาถูกต้องมากที่สุด 1. คุณพ่อให้ช่างมาซ่อมประตูแผ่นที่ชำรุด 2. เราต้องขืนใจกินทั้ง ๆ ที่ไม่หิวเลย 3. ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก ทั้งหมดนี้ อย่าได้ไว้วางใจ 4. บ้านเรือนของผู้คนปลูกเป็นระยะ ๆ dummy text ข้อ 1. ใช้ลักษณะนามผิด ประตูใช้คำว่า บาน คุณพ่อให้ช่างมาซ่อมประตูบานที่ชำรุด ข้อ 2. ใช้คำผิดความหมาย

คุ้มครองข้อมูลของท่านด้วย Controlled Folder Access ของ Windows 10

รูปภาพ
วันก่อนฟังรายการ Security Now ซึ่งจัดโดย Steve Gibson และ Leo Laporte   พูดถึงเรื่องการปกป้อง Folder ใน Windows 10 น่าสนใจมาก เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัย ตามคำโบราณที่ว่า กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน Windows 10 ที่อัพเดทฤดูใบไม้ร่วง หรือ Fall Creators Update ได้เพิ่มลักษณะใหม่ขึ้น คือ Controlled Folder Access โดยค่าเดิม หรือ ค่า default จะปิดเอาไว้ Steve บอกว่า ก็เหมือนกับพวก Firewall ที่ Microsoft ออกมาตอนแรก ๆ ก็ปิดเอาไว้ คล้าย ๆ กับทดลองดูก่อน ให้ผู้ที่ต้องการใช้ลักษณะนี้เปิดใช้เอง  Controlled Folder Access จะทำหน้าที่ปกป้อง ไม่ให้โปรแกรมภายนอกที่ไม่รู้จัก เข้ามาเปลี่ยนแปลงไฟล์ในห้องที่กำหนดได้ โดยเฉพาะพวก Ransomware ทั้งหลายที่ชอบเข้ามายึดเครื่องชาวบ้าน แต่เท่าที่ผมพบ ก็พบว่า ไม่ใช่เฉพาะพวก ransomware เท่านั้น โปรแกรมอื่น ๆ ที่ไม่รู้จัก หรือเป็นที่น่าสงสัย

สอบ ก.พ. การใช้คำ ผ่อนผัน/ผ่อนปรน ให้แก่/ให้กับ

ใน ข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย มักจะมีการนำคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน มาออกข้อสอบ คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันเหล่านี้ บางคำสามารถใช้แทนกันได้ บางคำก็ใช้แทนกันไม่ได้  ซึ่งมักจะนำมาใช้ออกข้อสอบอยู่เสมอ  เพื่อวัดทักษะการใช้ภาษาของผู้เข้าสอบ แต่เป็นที่น่าเส่ียดายว่า เราไม่ค่อยมีการเขียนถึงเรื่องการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมากนัก ตำราส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องการเขียนสะกดคำมากกว่าความหมายของคำหรือการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย มีการใช้ภาษาที่ผิดไปจากความหมายเดิมเดิม เพราะไม่มีหลักยึด ให้แก่ หรือ ให้กับ คำว่า "แก่" ที่ใช้เป็นคำบุพบท  ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก

เทคนิค การทำ ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาภาษาไทย ข้อบกพร่องทางภาษา

รูปภาพ
ข้อสอบ ภาค ก. วิชาภาษาไทย ของ ก.พ. จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การใช้ภาษา และความเข้าใจภาษา   ข้อสอบการใช้ภาษาเป็นการทดสอบทักษะการใช้ภาษาได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ เช่น ข้อบกพร่องทางภาษา ส่วนข้อสอบความเข้าใจภาษา เป็นข้อสอบการอ่าน ออกในลักษณะข้อความสั้น ๆ หรือเป็นข้อความเป็นย่อหน้า แล้วถามความหมาย การแปลความ ตีความ ขยายความ จากเรื่องที่อ่าน