การตัดสิน เงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ.(ภาค ก.)

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.)
ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา มีทักษะที่ต้องใช้คือ การนำข้อความที่โจทย์กำหนดมาจัดเรียงใหม่ ในรูปตารางหรือแผนภาพ และการตัดสินข้อสรุปของโจทย์ว่า จริง หรือเท็จ หรือไม่แน่ชัด

การจัดเรียงข้อความให้เป็นตารางหรือแผนภาพ สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สามัญสำนึก เหตุผล และความรอบคอบ อย่าใจร้อน หรือร้อนรน จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้

แต่การตัดสินข้อสรุปนี่ซิ บางทีก็ง่าย บางทีก็ยาก ที่ว่าง่ายคือข้อสรุปของโจทย์เป็นข้อสรุปที่ถามตรง ๆ แต่บางครั้งก็ยากถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ในการตอบ เพราะข้อสรุป เป็นข้อสรุปที่ซับซ้อน มีการรวมข้อความ(ที่ทางคณิตศาสตร์เขาเรียกว่า ประพจน์) ด้วยคำว่า "และ" "หรือ" หรือ "ถ้า...แล้ว..." ซึ่งถ้าเราไม่มีหลักในการตอบ ก็เป็นเรื่องยาก บางทีตอบผิดเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยากเลย

ดูตัวอย่างต่อไปนี้

เงื่อนไข
  • มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง
  • จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา และจําปาน้อยกว่าจําปี
  • กุหลาบได้ลำดับที่ 4
  • หงอนไก่สู้กุหลาบไม่ได้ แต่ได้ลําดับดีกว่าพิกุล
  • ลําดับของพลับพลึงกับราตรีอยู่ติดกัน
  • พิกุลอยู่ลำดับที่ดีกว่าพลับพลึง
เราสามารถจัดเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขได้ ดังนี้
ลำดับที่ชื่อ
1ผกา
2จำปี
3จำปา
4กุหลาบ
5หงอนไก่
6พิกุล
7พลับพลึง | ราตรี
8 พลับพลึง | ราตรี
ข้อสรุปที่ 1: ผกา อยู่ลำดับที่ 1
การตัดสินข้อสรุป: จริง

ข้อสรุปที่ 2: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 6
การตัดสินข้อสรุป: จริง

ข้อสรุปที่ 3: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 7
การตัดสินข้อสรุป: เท็จ
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "และ" ประโยคทั้งสองจะต้องเป็นจริง จึงจะได้ผลเป็นจริง ถ้ามีประโยคใดประโยคหนึ่ง เป็นเท็จ คำตอบที่ได้คือ เท็จ

ข้อสรุปที่ 4: ผกาอยู่ลำดับที่ 1 หรือ จำปี อยู่ลำดับที่ 4
การตัดสินข้อสรุป: จริง
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "หรือ" จะสรุปว่าเป็นจริง ก็ต่อเมื่อมีประโยคใดประโยคหนึ่ง หรือทั้งสองประโยคเป็นจริง

ข้อสรุปที่ 5: ถ้าผกา อยู่ลำดับที่ 1 แล้ว กุหลาบอยู่ลำดับที่ 2
การตัดสินข้อสรุป: เท็จ
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "ถ้า.... แล้ว...." จะสรุปว่าเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อมี ประโยคหน้าเป็นจริง และประโยคหลังเป็นเท็จ นอกนั้น เป็นจริง ยกเว้นกรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

ข้อสรุปที่ 6: ถ้า จำปี อยู่ลำดับที่ 1 แล้ว หงอนไก่ อยู่ลำดับที่ 5
การตัดสินข้อสรุป: จริง
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "ถ้า.... แล้ว...." จะสรุปว่าเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อมี ประโยคหน้าเป็นจริง และประโยคหลังเป็นเท็จ นอกนั้น เป็นจริง ยกเว้นกรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

ข้อสรุปที่ 7: ถ้า ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ จำปี อยู่ลำดับที่ 7 แล้ว หงอนไก่ อยู่ลำดับที่ 5
การตัดสินข้อสรุป: จริง
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "ถ้า.... แล้ว...." จะสรุปว่าเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อมี ประโยคหน้าเป็นจริง และประโยคหลังเป็นเท็จ นอกนั้น เป็นจริง ยกเว้นกรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

ถ้า ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ จำปี อยู่ลำดับที่ 7 ตัดสินข้อสรุปคือ เท็จ
หงอนไก่ อยู่ลำดับที่ 5 ตัดสินข้อสรุปคือ จริง
ถ้า (เท็จ) แล้ว (จริง) การตัดสินข้อสรุปคือ จริง

ข้อสรุปที่ 8: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ ราตรี อยู่ลำดับที่ 8
การตัดสินข้อสรุป: สรุปได้ไม่แน่ชัด
จากเงื่อนไขที่กำหนดมาให้เราไม่สามารถตัดสินได้ว่า ราตรี กับ พลับพลึง ใครจะอยู่ลำดับที่ 7 หรือ 8 ดังนั้น ข้อสรุปที่ว่า ราตรี อยู่ลำดับที่ 8 จึงสรุปได้ไม่แน่ชัด
กรณีที่มีตัวใดตัวตัวหนึ่งมีสถานะเป็นไม่แน่ชัด จะทำให้ผลการตัดสินเป็น ไม่แน่ชัดด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเชื่อมด้วย และ, หรือ, หรือ ถ้า... แล้ว... ก็ตาม

สรุปได้ดังตารางข้างล่างนี้

สมมุติให้ข้อความแรก เป็นตัว p และข้อความที่สอง เป็นตัว q

pqp และ qp หรือ qถ้า p แล้ว q
จริงจริงจริงจริงจริง
จริงเท็จเท็จจริงเท็จ
เท็จจริงเท็จจริงจริง
เท็จเท็จเท็จเท็จจริง


กรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

pqp และ qp หรือ qถ้า p แล้ว q
ไม่แน่เท็จไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่
ไม่แน่จริงไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่
เท็จไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่
จริงไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่


ดาวน์โหลดแอพ เตรียมสอบ ก.พ.(ภาค ก.) Android คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดแอพ เตรียมสอบ ก.พ.(ภาค ก.) iPhone คลิกที่นี่


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

คำทับศัพท์ยุค ดิจิทัล ที่มักเขียนผิด

การใช้ "การ" หรือ "ความ" นำหน้าคำในภาษาไทย ข้อสอบ ก.พ.