บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ สอบ กพ

ทอดลูกเต๋า โจทย์ข้อสอบ กพ

รูปภาพ
ทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง อยากทราบว่า มีโอกาสกี่เปอร์เซ็นต์ที่ลูกเต๋าจะมีผลรวมของแต้มเป็นเลขคี่? ลูกเต๋าแต่ละลูกมี 6 ด้าน มีแต้ม 1-6 ลูกเต๋า 2 ลูก จะมีแต้มรวมกันได้ เป็นเลขคี่ ก็ต่อเมื่อ มีลูกหนึ่งออกแต้มคี่และอีกลูกออกแต้มคู่ เช่น 2 กับ 5 รวมกันจะเป็นเลขคี่ ถ้าออกแต้มคู่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่ เช่น 2 กับ 4 เป็น 6 ซึ่งเป็นเลขคู่ หรือ ถ้าออกแต้มคี่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่  เช่น 3 กับ 5 เป็น 8 ซึ่งเป็นเลขคู่ ในการคิดสูตรความน่าจะเป็น มีสูตรคือ   ความน่าจะเป็น = จำนวน เหตุการ์ที่สนใจ / จำนวน เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้   ในโจทย์ข้อนี้  การทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง เราเรียกว่าเป็น 1 เหตุการณ์  เหตุการณ์ที่เราสนใจคือ การที่เมื่อทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป 1 ครั้ง แล้ว แต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูก เมื่อรวมกัน จะออกเป็นเลขคี่ เช่น เลข 3, 5, 7 ... เป็นต้น เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่ทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป แล้ว ผลที่ได้จะไม่ซ้ำกัน (เหตุการณ์ที่ลูก 1 ออกแต้ม 1 และ ลูก 2 ออกแต้ม 1 กับ เหตุการณ์ที่ลูก 2 ออกแต้ม 1 และ ลูก 1 ออกแต้ม

การตัดสินข้อสรุป เงื่อนไขภาษา ข้อสอบ กพ

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา เราจะต้องตัดสินข้อสรุปที่ให้มาว่า จริง หรือเท็จ หรือ สรุปได้ไม่แน่ชัด เช่น เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา และจําปาน้อยกว่าจําปี กุหลาบได้ลำดับที่ 4 หงอนไก่สู้กุหลาบไม่ได้ แต่ได้ลําดับดีกว่าพิกุล ลําดับของพลับพลึงกับราตรีอยู่ติดกัน พิกุลอยู่ลำดับที่ดีกว่าพลับพลึง เราสามารถจัดเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขได้ ดังนี้ ลำดับที่ ชื่อ 1 ผกา 2 จำปี 3 จำปา 4 กุหลาบ 5 หงอนไก่ 6 พิกุล 7 พลับพลึง | ราตรี 8 พลับพลึง | ราตรี ข้อสรุปที่ 1: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 2: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 6 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 3: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 7 การตัดสินข้อสรุป: เท็จ กรณีที่ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "และ" ประโยคทั้งสองจะต้องเป็นจริง จึงจะได้ผลเป็นจริง ถ้

การตัดสิน เงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ.(ภาค ก.)

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา มีทักษะที่ต้องใช้คือ การนำข้อความที่โจทย์กำหนดมาจัดเรียงใหม่ ในรูปตารางหรือแผนภาพ และการตัดสินข้อสรุปของโจทย์ว่า จริง หรือเท็จ หรือไม่แน่ชัด การจัดเรียงข้อความให้เป็นตารางหรือแผนภาพ สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สามัญสำนึก เหตุผล และความรอบคอบ อย่าใจร้อน หรือร้อนรน จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ แต่การตัดสินข้อสรุปนี่ซิ บางทีก็ง่าย บางทีก็ยาก ที่ว่าง่ายคือข้อสรุปของโจทย์เป็นข้อสรุปที่ถามตรง ๆ แต่บางครั้งก็ยากถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ในการตอบ เพราะข้อสรุป เป็นข้อสรุปที่ซับซ้อน มีการรวมข้อความ(ที่ทางคณิตศาสตร์เขาเรียกว่า ประพจน์) ด้วยคำว่า "และ" "หรือ" หรือ "ถ้า...แล้ว..." ซึ่งถ้าเราไม่มีหลักในการตอบ ก็เป็นเรื่องยาก บางทีตอบผิดเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยากเลย ดูตัวอย่างต่อไปนี้ เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา

เงื่อนไขสัญลักษณ์ เป็นเลขจำนวนนับ

รูปภาพ
 ข้อสอบเงื่อนไขสัญลักษณ์ ของ กพ ปี  2566  เปลี่ยนลักษณะการกำหนดค่าตัวอักษร จากการบอกว่า  ทุกตัวอักษร มีค่ามากกว่าศูนย์ เป็น ทุกตัวอักษร เป็นเลขจำนวนนับ ตัวเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ แสดงว่า อาจจะ เป็นเลขทศนิยม หรือเลขจำนวนเต็ม ก็ได้ นั่นคือ อาจจะเป็น 0.01, 0.5, 1, 3 หรือ 20 เป็นต้น ขอให้มากกว่า ศูนย์ ก็แล้วกัน ส่วนคำว่า เป็นเลขจำนวนนับ  มีความหมายเดียวกับคำว่า เลขจำนวนเต็มบวก หรือ เลขจำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่าศูนย์  แสดงว่า  เลขจำนวนนับ หรือ จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่าศูนย์  ต้องเป็นเลขจำนวนเต็ม เริ่มตั้งแต่ 1 ขึ้นไป เช่น 1, 2, 5, 7, 30 หรือ  200 เป็นต้น  คือ เป็นจำนวนที่เริ่มต้นตั้งแต่ 1 และเพิ่มขึ้นทีละ 1 ไปเรื่อย ๆ มาทบทวนเกี่ยวกับเลขจำนวนเต็มกันหน่อย เลขจำนวนเต็ม ประกอบด้วย     ◉ จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนนับ      ◉  จำนวนเต็มศูนย์      ◉  จำนวนลบ   แล้วมันมีผลอย่างไร กับการพิสูจน์เงื่อนไขสัญลักษณ์ จะมีผลเมื่อในการพิสูจน์ มีการคูณ หรือมีการยกกำลัง เพราะ เลขทศนิยมที่ มากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1  เช่น 0.1, 0.3, 0.55, 0.99 เป็นต้น เมื่อคูณกัน หรือยกกำลัง จะทำให้ค่าที่ได้น้อยก

กฎกระทรวง วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2566

รูปภาพ
กองกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566 โดย ออกตามความในมาตรา 13 (6) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดเหตุต้องห้ามเพิ่มเติมมิให้เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครอง  กฎกระทรวงนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป จากเดิมที่ห้ามเฉพาะผู้ที่เป็นสามี-ภรรยากันในปัจจุบัน เปลี่ยนใหม่เป็นว่า เคยเป็นสามี-ภรรยา แม้จะเลิกรากันไปแล้ว จะจดทะเบียนหรือไม่จด จะเพศเดียวกัน (LGBTQ) หรือต่างเพศ ก็ห้ามไม่ให้ทำการพิจารณาทางปกครอง เพราะจะไม่เป็นธรรม หรือไม่ยุติธรรมนั่นเอง นอกจากนั้น ก็มีห้ามเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น พักอยู่บ้านเดียวกัน หรือเป็นที่ปรึกษา ก็ไม่ได้ รายละเอียดอ่านจากข้างบน นะครับ ตัวอย่างข้อสอบ นางสุดายื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคาร กับนายสมหมาย มีกรณีใดบ้างที่นายสมหมาย ไม่สามารถดำเนินการให้แก่นางสุดาได้      ก. นายสมหมายเคยอยู่กินกับนางสุดาฉันสามี-ภรรยา      ข. นายสมหมายเคยเป็นบุตรบุญธรรมของนางสุดา      ค. นายสมหมายและนางสุดาพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน      ง. ถูกทุกข้อ ข้อน

เงื่อนไขสัญลักษณ์ รูปแบบใหม่ สอบ กพ ภาค ก. 2566

รูปภาพ
 สอบ กพ ภาค ก รอบพิเศษ ซึ่งจัดสอบไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า มีรูปแบบใหม่สำหรับโจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์  ตามปกติ เงื่อนไขสัญลักษณ์ มักจะประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลข เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลขส่วนเป็นตัวอักษร หรือส่วนที่เป็นตัวอักษรและเศษที่เป็นตัวเลข  แต่มาคราวนี้ พบว่ามีเศษที่เป็นตัวอักษรและมีส่วนที่เป็นตัวอักษร แล้วไง มันส่งผลถึงวิธีการแก้ปัญหา ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะเรื่องเศษส่วนเท่านั้น โดยปกติเมื่อเราเจอเศษส่วนในโจทย์สัญลักษณ์ เช่น  $\frac{A}{4} > 8$ วิธีการแก้ปัญหาโจทย์ วิธีแรก ทำส่วนให้หมดไป เรากำจัดส่วน โดยการเอาส่วน คูณตลอด ในที่นี้คือ เอา 4 คูณตลอด เป็น $\frac{A(4)}{4} > 8(4)$ A > 32 หรือถ้า มีส่วนเป็นตัวอักษร เราใช้วิธีกลับเศษเป็นส่วน และกลับเครื่องหมายเป็นตรงข้ามและถ้ามีเครื่องหมายเท่ากับก็ให้คงไว้เหมือนเดิม เช่น $16 ≤ \frac{4}{C}$ $16 ≥ \frac{C}{4}$ จากนั้น ถ้าต้องการกำจัดส่วน ก็จัดการต่อไป หรือจะปล่อยค้างไว้ก็ได้ ในกรณีที่เห็นว่า อาจจะใช้ประโยชน์ในการแทนค่าได้ เป็นต้น ทีนี้ เกิดว่า มีทั้งเศษและส่วนที่เป็นตัวอักษร เราจะทำอย่างไร อาจจะใช้ส่วนคูณตลอด หรือ คูณไ

เปิดสอบ กพ.ภาค ก. ประจำปี 2564

รูปภาพ
  ประกาศสำนักงาน ก.พ.   กำหนดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2564 ในวันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2565 และวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 ประกาศสำนักงาน ก.พ. กำหนดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2564 ในวันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2565 และวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 และจะประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบและระเบียบเกี่ยวกับการสอบภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ทางเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th ทั้งนี้ กำหนดการสอบอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และข้อกำหนดของทางราชการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมทาง http://job2.ocsc.go.th

เงื่อนไขสัญลักษณ์ กับเครื่องหมาย ไม่เท่ากัน

เงื่อนไขสัญลักษณ์ มีในการสอบ กพ ภาค ก. เรื่องที่มักจะเป็นปัญหาคือ เครื่องหมายไม่เท่ากัน ในกรณีที่เงื่อนไขมีเครื่องหมายไม่เท่ากันอยู่ด้วย ต้องพิจารณาให้ดี เนื่องจากมีโอกาสที่จะสรุปไม่ได้อยู่สูง เพราะ มีความเป็นไปได้ว่า อาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้ แต่ที่แน่ ๆ คือ จะเท่ากันไม่ได้ ดังนั้น ถ้าสรุปว่า มากกว่า หรือน้อยกว่า ก็จะเป็นผลให้เป็นการสรุปที่เป็นเท็จ  แต่ ที่สรุปว่า มากกว่า หรือน้อยกว่า ก็อาจจะเป็นจริงได้ ถ้ามีสิ่งอื่นมาประกอบ เช่น นาย ก. มีเงินไม่เท่ากับ นาย ข. แล้วสรุปว่า นาย ก. มีเงินมากกว่า นาย ข. อย่างนี้ก็สรุปผิด เพราะจริง ๆ คือไม่สามารถสรุปได้ หรือ ไม่แน่นอน แต่ถ้าบอกว่า นาย ก. มีเงินไม่เท่ากับ นาย ข. นาย ข. มีเงินมากกว่า นาย ค. นาย ค. มีเงินมากกว่า นาย ก. และสรุปว่า นาย ก. มีเงินน้อยกว่า นาย ข. อย่างนี้ ก็เป็นการสรุปที่ถูกต้อง เป็นจริง ทีนี้ มาดูข้อสอบบ้าง ในกรณีที่มีเครื่องหมายไม่เท่ากัน (≠) ต้องพิจารณาตัวเชื่อมให้ดีว่า มีตัวเชื่อมที่สามารถเชื่อมต่อกันได้กี่ตัว มีตัวไหนหรือเปล่าที่สามารถทำให้พิสูจน์ได้ว่า ข้อสรุปที่โจทย์กำหนด เป็นจริงหรือเท็จ เพราะบางตัวเชื่อม อาจจะ

สดมภ์ ทบทวนเรื่องเลขยกกำลัง

รูปภาพ
Document ทบทวนกฎของเลขยกกำลัง Rule กฎ ตัวอย่าง Zero-Exponent Rule: เลขที่ยกกำลังด้วยศูนย์ มีค่าเป็น 1 a 0 = 1 3 0 = 1 Power Rule: ยกกำลังตัวเลขที่ยกกำลัง ให้เอากำลังคูณกัน (a m ) n = a mn (5 5 ) 4 = 5 20 Negative Exponent Rule: เลขยกกำลังที่ติดลบ เท่ากับเศษ 1 ส่วนของเลขตัวนั้น a -n = 1 / a n 5 -2 = 1 / 5 2 = 1 / 25 Product Rule: เลขยกกำลังฐานเหมือนกันคูณกัน ให้เอากำลังมาบวกกัน a m .a n = a m+n x.x 5 = x 1+5 = x 6 Quotient Rule: เลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้เอากำลังมาลบกัน a m / a n   =  a m-n x 5 / x 2   =  x 5-2   =  x 3 การแก้ปัญหาโจทย์เลขยกกำลัง ด้วยตัวเลขหลายหลัก หลักการคือ ต้องพยายามทำฐาน หรือ ตัวเลขยกกำลังให้เท่ากัน จึงจะเปรียบเทียบกันได้ วิธีการ คือ หาตัวหารที่มากที่สุด ที่มาหารตัวเลขยกกำลัง หรือ พูดง่าย ๆ ว่า หา ห.ร.ม ของตัวเลขยกำลัง เช่น จงเปรียบเทียบค่า ระหว่าง 4 28 และ 6 21 พิจารณาดูเลขยกกำลัง คือ 28 และ 21 จะเห็นว่ามีตัว ห.ร.ม. (ตัวเลขที่มากที่สุดที่หารทั้งสองตัว ลงตัวพอดี) คือ 7 น่าจะทำเป็นเลขยกกำลัง 7 ได้ โดยอาศัย
รูปภาพ
Parts of Speech HOME [ Noun | Verb | Adjective | Adverb | Pronoun | Preposition | Conjunction | Interjection ] Parts of Speech ในการเตรียมสอบ กพ ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of Speech เป็นเรื่องพื้นฐานเรื่องหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในการทดสอบไวยากรณ์ มักจะมีสอดแทรกอยู่เสมอ จึงควรศึกษาทบทวน และเตรียมตัวให้พร้อมกับการสอบ Parts of Speech หรือ ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท คือ 1. Noun (คำนาม) 2. Verb (คำกิริยา) 3. Adjective (คำคุณศัพท์) 4. Adverb (คำวิเศษณ์) 5. Pronoun (คำสรรพนาม) 6. Preposition (คำบุพบท) 7. Conjunction (คำสันธาน) 8. Interjection (คำอุทาน) Parts of Speech Parts of Speech หรือ ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท คือ 1. Noun (คำนาม) 2. Verb (คำกิริยา) 3. Adjective (คำคุณศัพท์) 4. Adverb (คำวิเศษณ์) 5. Pronoun (คำสรรพนาม) 6. Preposition (คำบุพบท) 7. Conjunction (คำสันธาน) 8. Interjection (คำอุทาน) NOUN(คำนาม) คำนาม คือ คำที่ใช้แทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งที่เป็นนามธรรม ต่าง ๆ

ประมวลกฎหมายอาญา เฉพาะในส่วนของ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการการ

เนื้อหาในส่วนของกฎหมายอาญา ในหลักสูตรการสอบ วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี มีเนื้อหาเฉพาะในส่วนของ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการการ ซึ่งปรากฏใน ประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒ (ความผิด) > ลักษณะ ๒ > หมวด ๒ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา ๑๔๗-๑๖๖) ดังนี้ หมวด ๒ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ __________ มาตรา ๑๔๗ ๑ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดย ทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐] มาตรา ๑๔๘ ๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต [อัตราโท