บทความ

ทอดลูกเต๋า โจทย์ข้อสอบ กพ

รูปภาพ
ทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง อยากทราบว่า มีโอกาสกี่เปอร์เซ็นต์ที่ลูกเต๋าจะมีผลรวมของแต้มเป็นเลขคี่? ลูกเต๋าแต่ละลูกมี 6 ด้าน มีแต้ม 1-6 ลูกเต๋า 2 ลูก จะมีแต้มรวมกันได้ เป็นเลขคี่ ก็ต่อเมื่อ มีลูกหนึ่งออกแต้มคี่และอีกลูกออกแต้มคู่ เช่น 2 กับ 5 รวมกันจะเป็นเลขคี่ ถ้าออกแต้มคู่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่ เช่น 2 กับ 4 เป็น 6 ซึ่งเป็นเลขคู่ หรือ ถ้าออกแต้มคี่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่  เช่น 3 กับ 5 เป็น 8 ซึ่งเป็นเลขคู่ ในการคิดสูตรความน่าจะเป็น มีสูตรคือ   ความน่าจะเป็น = จำนวน เหตุการ์ที่สนใจ / จำนวน เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้   ในโจทย์ข้อนี้  การทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง เราเรียกว่าเป็น 1 เหตุการณ์  เหตุการณ์ที่เราสนใจคือ การที่เมื่อทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป 1 ครั้ง แล้ว แต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูก เมื่อรวมกัน จะออกเป็นเลขคี่ เช่น เลข 3, 5, 7 ... เป็นต้น เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่ทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป แล้ว ผลที่ได้จะไม่ซ้ำกัน (เหตุการณ์ที่ลูก 1 ออกแต้ม 1 และ ลูก 2 ออกแต้ม 1 กับ เหตุการณ์ที่ลูก 2 ออกแต้ม 1 และ ลูก 1 ออกแต้ม

การตัดสินข้อสรุป เงื่อนไขภาษา ข้อสอบ กพ

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา เราจะต้องตัดสินข้อสรุปที่ให้มาว่า จริง หรือเท็จ หรือ สรุปได้ไม่แน่ชัด เช่น เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา และจําปาน้อยกว่าจําปี กุหลาบได้ลำดับที่ 4 หงอนไก่สู้กุหลาบไม่ได้ แต่ได้ลําดับดีกว่าพิกุล ลําดับของพลับพลึงกับราตรีอยู่ติดกัน พิกุลอยู่ลำดับที่ดีกว่าพลับพลึง เราสามารถจัดเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขได้ ดังนี้ ลำดับที่ ชื่อ 1 ผกา 2 จำปี 3 จำปา 4 กุหลาบ 5 หงอนไก่ 6 พิกุล 7 พลับพลึง | ราตรี 8 พลับพลึง | ราตรี ข้อสรุปที่ 1: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 2: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 6 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 3: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 7 การตัดสินข้อสรุป: เท็จ กรณีที่ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "และ" ประโยคทั้งสองจะต้องเป็นจริง จึงจะได้ผลเป็นจริง ถ้

การเปลี่ยนรูปแบบอักษร ข้อความในหัวข้อ ของ Word 2019

รูปภาพ
รำคาญมากที่สุดในการใช้ Word พิมพ์รายการหัวข้อ ปัญหาคือ ตัวอักษรเมื่อเราคลิกเลือกรายการ มันเป็นคนละแบบกับที่ใช้ ดูตัวอย่าง จะเห็นว่า ชื่อคนกับ รายชื่อ มันเป็นอักษรคนละแบบกัน หรือ ไม่ใช่ font ตระกูลเดียวกัน ต้องเสียเวลามาเปลี่ยนให้เหมือนกัน ทุกครั้งที่กดเลือกใช้หัวข้อรายการ หาอยู่ตั้งนาน มันมีแต่เรื่องการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรของตัวเลข แต่เราต้องการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรของข้อความ  วิธีการแก้ไข ทำให้แบบตัวอักษรของข้อความ เป็นแบบเดียวกัน สรุปเลย ก็คือ ให้ไปเปลี่ยนที่ สไตล์ > ย่อหน้ารายการ ถ้าจะทำตามแบบละเอียด ก็อ่านต่อไป ข้างล่างนี้ พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ (จริง ๆ คือ เป็นการขึ้นย่อหน้าใหม่) ไปที่ หน้าแรก > สไตล์ แล้วคลิกลูกศรมุมล่างขวา เพื่อเปิดหน้าต่างย่อย เลื่อน scroll bar ลงมา จนเจอ ย่อหน้ารายการ คลิก สามเหลี่ยม แล้วคลิก ปรับเปลี่ยน จะเห็นว่า รูปแบบตัวอักษร เป็นรูปแบบคนละอย่างกับที่ใช้ในข้อความทั่วไป ของผม ข้อความทั่วไปใช้เป็น Sarabun New แต่ในหัวข้อ เป็น Angsana New ให้เปลี่ยนเป็นแบบอักษรที่ต้องการ ในตัวอย่างเปลี่ยนเป็น TH Sarabun New ขนาด 18 ที

การตัดสิน เงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ.(ภาค ก.)

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา มีทักษะที่ต้องใช้คือ การนำข้อความที่โจทย์กำหนดมาจัดเรียงใหม่ ในรูปตารางหรือแผนภาพ และการตัดสินข้อสรุปของโจทย์ว่า จริง หรือเท็จ หรือไม่แน่ชัด การจัดเรียงข้อความให้เป็นตารางหรือแผนภาพ สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สามัญสำนึก เหตุผล และความรอบคอบ อย่าใจร้อน หรือร้อนรน จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ แต่การตัดสินข้อสรุปนี่ซิ บางทีก็ง่าย บางทีก็ยาก ที่ว่าง่ายคือข้อสรุปของโจทย์เป็นข้อสรุปที่ถามตรง ๆ แต่บางครั้งก็ยากถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ในการตอบ เพราะข้อสรุป เป็นข้อสรุปที่ซับซ้อน มีการรวมข้อความ(ที่ทางคณิตศาสตร์เขาเรียกว่า ประพจน์) ด้วยคำว่า "และ" "หรือ" หรือ "ถ้า...แล้ว..." ซึ่งถ้าเราไม่มีหลักในการตอบ ก็เป็นเรื่องยาก บางทีตอบผิดเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยากเลย ดูตัวอย่างต่อไปนี้ เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา

เงื่อนไขสัญลักษณ์ A > B < C

รูปภาพ
 เงื่อนไขสัญลักษณ์ A > B < C ทำไมจึงสรุปไม่ได้ ในการพิสูจน์เงื่อนไขสัญลักษณ์ การสอบ กพ มีข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า ถ้าเจอเครื่องหมายสวนทางกัน ให้สรุปได้ทันทีเลยว่า สรุปไม่ได้ หรือ สรุปได้ไม่แน่ชัด คือ ไม่สามารถสรุปได้ว่า ระหว่าง A กับ C ใครจะมาก-น้อยกว่ากัน ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น A > B < C คือ A มากกว่า B แต่ B น้อยกว่า C หรือ มองอีกอย่างได้ว่า  A มากกว่า B  และ C ก็มากกว่า B ด้วย  ดังนั้น ทั้ง B และ C ต่างก็มากกว่า C เหมือนกัน แต่ทั้ง A และ C จะมากกว่า B เท่าไร เราไม่รู้ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า A อาจจะเท่ากับ C ก็ได้ ในกรณีที่ ทั้ง A และ C มากกว่า B เท่ากัน เช่น ถ้าสมมุติให้ B = 3 และ ให้ A และ B มากกว่า C เท่ากับ 5 ดังนั้น A = 3+5 = 8 C = 3+5 = 8 หรือ A อาจจะน้อยกว่า C ก็ได้ ในกรณีที่ (A มากกว่า B) น้อยกว่า  (C มากกว่า B) เช่น ถ้าสมมุติให้ B = 3 และ ให้ A มากกว่า B เท่ากับ 3 และ   ให้ C มากกว่า B เท่ากับ 4 ดังนั้น A = 3+3 = 6 C = 3+4 = 7 หรือ A อาจจะมากกว่า C ก็ได้ ในกรณีที่ (A มากกว่า B) มากกว่า  (C มากกว่า B) เช่น ถ้าสมมุติให้ B = 3 และ ให้ A มากกว่า B เท่ากับ 7 และ   ให้ C มา

เงื่อนไขสัญลักษณ์ เป็นเลขจำนวนนับ

รูปภาพ
 ข้อสอบเงื่อนไขสัญลักษณ์ ของ กพ ปี  2566  เปลี่ยนลักษณะการกำหนดค่าตัวอักษร จากการบอกว่า  ทุกตัวอักษร มีค่ามากกว่าศูนย์ เป็น ทุกตัวอักษร เป็นเลขจำนวนนับ ตัวเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ แสดงว่า อาจจะ เป็นเลขทศนิยม หรือเลขจำนวนเต็ม ก็ได้ นั่นคือ อาจจะเป็น 0.01, 0.5, 1, 3 หรือ 20 เป็นต้น ขอให้มากกว่า ศูนย์ ก็แล้วกัน ส่วนคำว่า เป็นเลขจำนวนนับ  มีความหมายเดียวกับคำว่า เลขจำนวนเต็มบวก หรือ เลขจำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่าศูนย์  แสดงว่า  เลขจำนวนนับ หรือ จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่าศูนย์  ต้องเป็นเลขจำนวนเต็ม เริ่มตั้งแต่ 1 ขึ้นไป เช่น 1, 2, 5, 7, 30 หรือ  200 เป็นต้น  คือ เป็นจำนวนที่เริ่มต้นตั้งแต่ 1 และเพิ่มขึ้นทีละ 1 ไปเรื่อย ๆ มาทบทวนเกี่ยวกับเลขจำนวนเต็มกันหน่อย เลขจำนวนเต็ม ประกอบด้วย     ◉ จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนนับ      ◉  จำนวนเต็มศูนย์      ◉  จำนวนลบ   แล้วมันมีผลอย่างไร กับการพิสูจน์เงื่อนไขสัญลักษณ์ จะมีผลเมื่อในการพิสูจน์ มีการคูณ หรือมีการยกกำลัง เพราะ เลขทศนิยมที่ มากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1  เช่น 0.1, 0.3, 0.55, 0.99 เป็นต้น เมื่อคูณกัน หรือยกกำลัง จะทำให้ค่าที่ได้น้อยก

กฎกระทรวง วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2566

รูปภาพ
กองกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566 โดย ออกตามความในมาตรา 13 (6) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดเหตุต้องห้ามเพิ่มเติมมิให้เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครอง  กฎกระทรวงนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป จากเดิมที่ห้ามเฉพาะผู้ที่เป็นสามี-ภรรยากันในปัจจุบัน เปลี่ยนใหม่เป็นว่า เคยเป็นสามี-ภรรยา แม้จะเลิกรากันไปแล้ว จะจดทะเบียนหรือไม่จด จะเพศเดียวกัน (LGBTQ) หรือต่างเพศ ก็ห้ามไม่ให้ทำการพิจารณาทางปกครอง เพราะจะไม่เป็นธรรม หรือไม่ยุติธรรมนั่นเอง นอกจากนั้น ก็มีห้ามเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น พักอยู่บ้านเดียวกัน หรือเป็นที่ปรึกษา ก็ไม่ได้ รายละเอียดอ่านจากข้างบน นะครับ ตัวอย่างข้อสอบ นางสุดายื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคาร กับนายสมหมาย มีกรณีใดบ้างที่นายสมหมาย ไม่สามารถดำเนินการให้แก่นางสุดาได้      ก. นายสมหมายเคยอยู่กินกับนางสุดาฉันสามี-ภรรยา      ข. นายสมหมายเคยเป็นบุตรบุญธรรมของนางสุดา      ค. นายสมหมายและนางสุดาพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน      ง. ถูกทุกข้อ ข้อน

ใบมะรุม มีประโยชน์อย่างไร

รูปภาพ
มะรุมเป็นต้นไม้มหัศจรรย์ จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ในตำรายาพื้นบ้าน ใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด ทำให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยแก้ไข้ เป็นต้น ประโยชน์ของใบมะรุม ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เนื่องจากใบมะรุมมีศักยภาพในการลดคอเรสเตอรอล จึงทำให้อัตราเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจลดลง นอกจากนี้ มะรุมยังเป็นแหล่งแร่ธาตุโดยเฉพาะสังกะสี(zinc) ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก จึงช่วยจัดการระดับน้ำตาลในเลือดได้ เป็นการช่วยควบคุม หรือแม้กระทั่งป้องกันโรคเบาหวานได้ เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ มะรุม มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น quercetin และ chlorogenic acid ผงใบมะรุมบด ช่วยเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือด ช่วยการนอนหลับให้ดีขึ้น ใบมะรุมช่วยเพิ่มพลังงาน ให้วิตามินและแร่ธาตุแก่ร่างกาย ช่วยลดการอักเสพ เมื่อมีอาหารดี ก็จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นด้วย ช่วยระบบการย่อย ผู้ที่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ท้องอืด และท้องผูก ควรเพิ่มใบมะรุมลงในรายการอาหารด้วย สารประกอบที่สําคัญในใบมะรุม มะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สําคัญคือ รูทิน และเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีน และกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylqu

เงื่อนไขสัญลักษณ์ รูปแบบใหม่ สอบ กพ ภาค ก. 2566

รูปภาพ
 สอบ กพ ภาค ก รอบพิเศษ ซึ่งจัดสอบไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า มีรูปแบบใหม่สำหรับโจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์  ตามปกติ เงื่อนไขสัญลักษณ์ มักจะประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลข เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลขส่วนเป็นตัวอักษร หรือส่วนที่เป็นตัวอักษรและเศษที่เป็นตัวเลข  แต่มาคราวนี้ พบว่ามีเศษที่เป็นตัวอักษรและมีส่วนที่เป็นตัวอักษร แล้วไง มันส่งผลถึงวิธีการแก้ปัญหา ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะเรื่องเศษส่วนเท่านั้น โดยปกติเมื่อเราเจอเศษส่วนในโจทย์สัญลักษณ์ เช่น  $\frac{A}{4} > 8$ วิธีการแก้ปัญหาโจทย์ วิธีแรก ทำส่วนให้หมดไป เรากำจัดส่วน โดยการเอาส่วน คูณตลอด ในที่นี้คือ เอา 4 คูณตลอด เป็น $\frac{A(4)}{4} > 8(4)$ A > 32 หรือถ้า มีส่วนเป็นตัวอักษร เราใช้วิธีกลับเศษเป็นส่วน และกลับเครื่องหมายเป็นตรงข้ามและถ้ามีเครื่องหมายเท่ากับก็ให้คงไว้เหมือนเดิม เช่น $16 ≤ \frac{4}{C}$ $16 ≥ \frac{C}{4}$ จากนั้น ถ้าต้องการกำจัดส่วน ก็จัดการต่อไป หรือจะปล่อยค้างไว้ก็ได้ ในกรณีที่เห็นว่า อาจจะใช้ประโยชน์ในการแทนค่าได้ เป็นต้น ทีนี้ เกิดว่า มีทั้งเศษและส่วนที่เป็นตัวอักษร เราจะทำอย่างไร อาจจะใช้ส่วนคูณตลอด หรือ คูณไ

สร้างตัวเลขแบบสุ่มโดยไม่มีตัวเลขซ้ำกัน ด้วย Excel

รูปภาพ
สร้างตัวเลขแบบสุ่มโดยไม่มีตัวเลขซ้ำกัน ด้วย Excel มีหลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่ง่าย และรวดเร็วทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน RAND() ร่วมกับ RANK() ซึ่งมีหลักการ คือ ใช้สูตร RAND() เพื่อหาเลขสุ่ม ตั้งแต่ 0 - 1 โดยหาหลายครั้ง เท่ากับจำนวนเลขสุ่มที่ต้องการ ใช้สูตร RANK() เพื่อหาตำแหน่งของเลขสุ่มแต่ละตัวที่อยู่ในกลุ่มเลขสุ่มเหล่านั้น ก็จะได้เลขสุ่มที่ต้องการ เพราะเลขสุ่มแต่ละตัวจะมากบ้าง น้อยบ้าง ตำแหน่งจึงสลับไปสลับมา เกิดเป็นเลขสุ่มขึ้น การสุ่มด้วยฟังก์ชัน RAND() อาจจะมีเลขซ้ำกันอยู่บ้าง แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีค่อนข้างน้อย ผมลองสุ่ม 10,160 ตัวเลข ได้เลขที่ไม่ซ้ำกันเลย แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเลขไม่ซ้ำกันแน่ ๆ  จึงควรเชคว่า มีตัวเลขซ้ำกันหรือไม่ อีกครั้งหนึ่ง วิธีการ   ที่ช่อง A1 พิมพ์ =RAND() เพื่อสร้างเลขสุ่ม จาก 0 ถึง 1 ลากยาวที่ปุ่มล่างด้านขวาของเซลล์ A1 เพื่อสร้าง Auto Fill  ไปจำนวนตามที่ตัวเลขสุ่มที่ต้องการ ในที่นี้ ผมลากไป 10 แถว เพื่อให้ได้ตัวเลขสุ่มที่ไม่ซ้ำกัน 10 ตัว คัดลอก เซลล์ A1 ถึง A10 และไปวางที่เซลล์ C1 โดยแบบ วางค่า เพื่อไม่ Excel สุ่มตัวเลขใหม่ ต่อไป เราจะใช้สูตร RANK()

Shortcut สำหรับโปรแกรม VLC

Shortcut สำหรับโปรแกรม VLC ควบคุมการเล่น SPACE เล่น/หยุดเล่น ] เล่นเร็วขึ้น [ เล่นช้าลง File Operations CTRL + O Open a single file CTRL + SHIFT + O Open multiple files CTRL + F Open folder CTRL + D Open disk CTRL + N Open network stream CTRL + C Open capture device CTRL + V Open location copied in the clipboard CTRL + R Convert and save file CTRL + S Stream your media locally or on the internet Program Operations CTRL + Q or ALT + F4 or ALT + Q Quit CTRL + E Open the adjustment and effects menu CTRL + SHIFT + W VLM Configuration CTRL + M Open the message screen CTRL + P Open the preferences menu F1 Help SHIFT + F1 About Playing Operations SPACE Play and Pause a file N Next Track P Previous Track F or F11 or Mouse Double Click Full screen mode on and off CTRL + H Switch minimal interface on and off T Show current and remaining time information CTRL + T Go to a specific time of a playing media P Go and play from the start

เส้นตารางและสีพื้น ใน Excel

รูปภาพ
ใน Excel เวลาเรากำหนดสีพื้นของ cell เส้นตารางจะหายไป เช่น ถ้าเราต้องการให้มีเส้นตาราง ต้องไปกำหนดที่เส้นขอบ มีวิธีการดังนี้ เลือกแผ่นงานทั้งหมด โดยคลิกที่มุมซ้ายด้านบน ที่เมนู หน้าแรก - เซลล์ - รูปแบบ - จัดรูปแบบเซลล์ ที่หน้าจอ pop up ให้เลือกสีของเส้นขอบ และกำหนดเส้นขอบ ดังภาพ จะได้เส้นขอบตามต้องการ ถ้าต้องการเส้นขอบสีเทา เหมือนค่า default ให้เลือกสีเทา ก็จะได้ตามต้องการ  

การวิเคราะห์ไฟล์ csv หลายไฟล์ ด้วย Power Query ของ Excel

รูปภาพ
 ไฟล์ CSV (commar seperated value) เป็นไฟล์ชนิดข้อความที่คั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า เราไม่สามารถเปิดได้โดยตรงจาก Excel ต้องนำเข้า ถ้ามีหลาย ๆ ไฟล์ ก็สามารถนำมาต่อกันวิเคราะห์คราวเดียวได้เลย แต่มีข้อแม้ว่า โครงสร้างต้องเหมือนกันด้วย ต่อไปนี้ จะนำไฟล์ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาวิเคราะห์ โดยมีหลายไฟล์ ซึ่งแต่ละไฟล์จะมีโครงสร้างเหมือนกัน และเก็บไว้ในห้องเดียวกัน ซึ่ง จะขอแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ นำเข้าและปรับข้อมูลด้วย Power Query และ วิเคราะห์ด้วย PivotTable ซึ่งมีวิธีการดังนี้ การนำเข้าข้อมูลจาก ไฟล์ CSV และปรับข้อมูลด้วย Power Query Microsoft Excel ตั้งแต่รุ่น 2016 เป็นต้นมา และ Excel 365 จะมี Power Query เพิ่มเข้ามาด้วย ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้สะดวกดีขึ้นมาก เรานำมาใช้ได้ ดังนี้ เปิดโปรแกรม Microsoft Excel   ไปที่  ข้อมูล > จากไฟล์ > จากโฟลเดอร์ เราไม่ใช้ จากข้อความ/CSV เพราะเราจะนำเข้าหลายไฟล์ทีเดียวเลย ไปที่ห้องที่เก็บไฟล์ และเลือก จะมีหน้าจอเกิดขึ้นให้ระบุ โดยมีชื่อไฟล์ csv ในห้องทั้งหมด พร้อมทั้งมีปุ่มด้านล่างให้กำหนดลักษณะการเปิดที่ต้องการ  ให้เลือก > รวม > แปลงข้อมูล เพรา

เกร็ด เคล็ดลับ Windows 11

รูปภาพ
เกร็ด-เทคนิค-เคล็ดลับ เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ Windows 11 เปลี่ยนเสียงเป็นข้อความ เหมาะสำหรับการจดบันทึกการประชุม เปิดโปรแกรมพิมพ์เอกสาร เช่น Notepad ปรับเปลี่ยนภาษา ถ้าเป็นภาษาไทย จะพิมพ์ข้อความเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ กดแป้นรูปโลโก้ของ Windows ( )  และ ตัว h พร้อมกัน กดรูปไมโครโฟน เพื่อรับเสียง พูด หรือเปิดเสียงที่ต้องการให้พิมพ์ โปรแกรมจะฟังและพิมพ์ตาม สามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โปรแกรมทำได้ค่อนข้างดี แต่ต้องมาดูตรวจแก้ให้ตรงอีกครั้ง การย้ายไอคอนบน Taskbar ให้มาอยู่ชิดซ้าย  ธรรมดา ไอคอนบน Taskbar ของ Windows 11 จะอยู่ตรงกลาง แต่จะให้มาอยู่ด้านซ้ายเหมือน Windows 10 ก็ทำได้ คลิกขวาที่ taskbar เลือก Taskbar setting เลือก Taskbar behaviors > Align to left โปรแกรม PowerToys ช่วยทำงานหลายอย่าง เป็นโปรแกรม Utilities แต่ต้องติดตั้งก่อนใช้งาน ไม่ได้มาพร้อม Windows 11 เวลาจะใช้งาน ต้องเปิดโปรแกรม PowerToys ให้ run เป็น background ก่อน (กดปุ่ม Alt และ Spacebar พร้อมกัน) สิ่งทำได้ เช่น กำหนดให้โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง อยู่บนสุดเสมอ เช่น โปรแกรมเครื่องคิดเลข (กด