บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

เตรียมสอบ ก.พ. ภาษาไทย บทความยาว

บทความยาว มักจะมีออกข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่เสมอ เพื่อทดสอบทักษะความเข้าใจการอ่าน เช่น การจับใจความสำคัญ การตีความ การแปลความ เป็นต้น คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกที่สุด สำหรับข้อ 1-2 ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา ดาวน์โหลด ที่ Play Store คลิกที่นี่ ทรัพยากรของโลกหมดไปอย่างรวดเร็ว ประชากรโลกเพิ่มขึ้น ด้วยอัตราเร็ว ที่น่าสะพรึงกลัว ชีวิตจะไม่สามารถดำรงอยู่ถ้าเรายังคงอยู่กันอย่างนี้ มลพิษในอากาศเป็น สาเหตุของช่องโหว่ของบรรยากาศชั้นโอโซน ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ หดหายไปอย่างรวดเร็ว และในไม่ช้าแหล่งอาหารของเราก็จะหมดไป ความแห้งแล้ง และโรคระบาดที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากประชากรหนาแน่นเกินไป ก็มีให้เห็นอยู่แล้ว อวกาศเป็นที่ที่ว่างเปล่าอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่เราสามารถใช้ให้เกิด ประโยชน์ได้ เราเชื่อว่าการสนับสนุน การสำรวจอวกาศนี้ สักวันหนึ่ง เราอาจพบดาวเคราะห์ที่ เหมาะสำหรับอยู่อาศัย ในขณะ

สอบ ก.พ. การตีความ

รูปภาพ
ข้อสอบภาษาไทย ก.พ./ท้องถิ่น มักจะมีการให้ตีความจากบทความที่กำหนดให้ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถในการใช้ภาษาไทย Benjamin S. Bloom และคณะ ได้จำแนกจำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษา ออกเป็น 6 ระดับ โดยระบุว่า การตีความ เป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจ ก่อนที่จะตีความได้ ต้องรู้ความหมายสิ่งที่อ่านเป็นเบื้องต้น นั่นคือ ต้องรู้ความหมายของ คำ วลี ตลอดจน สำนวน คำพังเพย การเปรียบเทียบ ที่ใช้ในการสื่อสารนั้น ๆ ด้วย การตีความนอกจากจะต้องแปลความหมายได้แล้ว ยังต้อง (1)สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ (2)จัดลำดับ หรือเรียงลำดับใหม่ เพื่อให้เห็นภาพรวมของการสื่อสาร นั้น ๆ และ (3) สามารถนำมาเทียบเคียงกับประสบการณ์ของตนได้ นอกจากนี้แล้ว การตีความยังหมายรวมถึงความสามารถแยกแยะสิ่งที่สำคัญและไม่สำคัญ หรือไม่เกี่ยวข้องกัน ออกจากกันด้วย ในประการหลังนี้ การตีความจะมีความหมายเดียวกับการวิเคราะห์ และมีลักษณะร่วมบางอย่างกับการประเมิน ด้วย การตีความบทความ หรือเรื่องที่อ่าน สิ่งที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจเรื่องที่อ่านเสียก่อน ต้องรู้ว่าใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน คืออะไร และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องรู้จุดประสงค์ของผู้เขียนบทความ

การจับใจความสำคัญ: ประโยคความรวม

รูปภาพ
ข้อสอบ ก.พ. /ท้องถิ่น (ภาค ก.) วิชาภาษาไทย มักจะมีข้อสอบให้หาความหมาย ตีความ หรือจับใจความสำคัญ จากข้อความ หรือประโยคที่กำหนดให้ เช่น ข้อความนี้สรุปว่าอย่างไร "แม้ว่าผงซักฟอกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีผลทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว เพราะว่ามีสารอาหารที่เป็นปุ๋ยของพืช แต่จะมีผลทำให้น้ำเสียได้  เพราะว่าพืชจะดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการหายใจ" 1.  ผงซักฟอกทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว 2. ผงซักฟอกทำให้น้ำเสีย 3. ผงซักฟอกมีสารอาหารของพืช 4. ผงซักฟอกช่วยให้พืชดึงออกซิเจนในน้ำ ก่อนอื่น ต้องดูใจความสำคัญของข้อความนี้เสียก่อน โดยตัดส่วนขยายอื่น ๆ ออก เพราะไม่ใช่ใจความสำคัญ ซึ่งจะได้ว่า "แม้ว่าผงซักฟอกทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว แต่จะมีผลทำให้น้ำเสียได้" ประโยคนี้ เป็นประโยคความรวม หรือ อเนกรรถประโยค ซึ่งประกอบด้วย 2 ประโยค รวมเข้าด้วยกัน โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม ประเด็นคือ ระหว่าง ผงซักฟอกทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว กับ ผงซักฟอกมีผลทำให้น้ำเสีย ประโยคใด เป็นประโยคที่ต้องการเน้น หรือมีน้ำหนักมากกว่ากัน ประโยคที่เชื่อมด้วยคำว่า "แม้ว่า .... แต่" มักจะเน้นที่ส่วนหล