การตัดสิน เงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ.(ภาค ก.)
การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา มีทักษะที่ต้องใช้คือ การนำข้อความที่โจทย์กำหนดมาจัดเรียงใหม่ ในรูปตารางหรือแผนภาพ และการตัดสินข้อสรุปของโจทย์ว่า จริง หรือเท็จ หรือไม่แน่ชัด การจัดเรียงข้อความให้เป็นตารางหรือแผนภาพ สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สามัญสำนึก เหตุผล และความรอบคอบ อย่าใจร้อน หรือร้อนรน จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ แต่การตัดสินข้อสรุปนี่ซิ บางทีก็ง่าย บางทีก็ยาก ที่ว่าง่ายคือข้อสรุปของโจทย์เป็นข้อสรุปที่ถามตรง ๆ แต่บางครั้งก็ยากถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ในการตอบ เพราะข้อสรุป เป็นข้อสรุปที่ซับซ้อน มีการรวมข้อความ(ที่ทางคณิตศาสตร์เขาเรียกว่า ประพจน์) ด้วยคำว่า "และ" "หรือ" หรือ "ถ้า...แล้ว..." ซึ่งถ้าเราไม่มีหลักในการตอบ ก็เป็นเรื่องยาก บางทีตอบผิดเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยากเลย ดูตัวอย่างต่อไปนี้ เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา