บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

เตรียมสอบ ก.พ. การใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน

รูปภาพ
ข้อสอบวิชาภาษาไทย สอบ ก.พ. ภาค ก. มักจะทดสอบการเลือกใช้คำให้ถูกกับความหมาย ซึ่งมีคำอยู่หลายคำ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน จึงทำให้เลือกลำบาก ในแบบฝึกหัดนี้ จะนำเอาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพื่อฝึกทักษะ เป็นการเตรียมความพร้อม ในการสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. เขาคงไม่ยอม ........... ง่าย ๆ หรอก คงหาทางแก้ไขต่อไปจนได้ 1. จนมุม 2. จนแต้ม 3. จนตรอก 4. จนใจ dummy text จนมุม - ไม่มีทางหนีหรือหลีกเลี่ยง (มักจะใช้กับผู้ร้ายที่หนีตำรวจไม่พ้น) เช่น ผู้ร้ายจนมุม ถูกตำรวจจับได้ จนแต้ม - หมดทางสู้ หมดทางหนี ไม่รู้จะเอาไม้ไหนมาสู้ เพราะใช้ทั้งหมดแล้วก็ยังสู้ไม่ได้ (สู้กัน และในที่สุดก็หมดทางสู้) เช่น อย่าไปเซ้าซี้เขานักเลย ท่าทางเขาจะจนแต้มแล้วละ จนตรอก - หมดหนทาง สุดทางหนี (แพ้และหนี แต่ในที่สุดก็หนีอีกไม่ได้ เพราะหมดทางหนี)เช่น ถึงอย่างไรก็จะสู้จนกว่าจะจนตรอกนั่นแหล่ะ จนใจ - จนปัญญา,หมดหนทาง,ไม่มีทางคิด เช่น ผมจนใจจริงๆ ที่ไม่สามารถช่วยคุณได้. คำตอบคือ ข้อ : 2

อันตรายจากโทรศัพท์มือถือ

รูปภาพ
พูดกันมากเรื่องอันตรายจากคลื่นวิทยุ (radiofrequency - RF)จากโทรศัพท์มือถือ มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและฝ่ายที่ต่อต้านโดยเฉพาะจากทางผู้ผลิตมือถือ ซึ่งถึงปัจจุบันก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ มาถึงวันนี้ (ข่าวจาก  www.forbes.com เมื่อ DEC 16, 2017 @ 10:37 AM) สำนักงานสาธารณสุขของรัฐคาลิฟอร์เนียร์ (the California Department of Public Health - CDPH) ได้ออกประกาศคำแนะนำอย่างเป็นทางการ ให้ลดการใช้งานโทรศัพท์มือถือ คำแนะนำส่วนหนึ่ง มีดังนี้

การลบหรือเปลี่ยนแปลงระเบียนในตารางที่มีความสัมพันธ์กับตารางอื่น ของ Microsoft Access

รูปภาพ
โดยปกติ ถ้าตารางสองตารางของ MS Access ที่มีการเชื่อมความสัมพันธ์กัน ในลักษณะ one-to-many เราจะไม่สามารถแก้ไขฟิลด์ที่กำหนดความสัมพันธ์ ถ้าพยายามแก้ โปรแกรมจะขึ้นข้อความแจ้งให้ทราบ ดังนี้

แทรกวิดีโอออนไลน์ ใน Word 2016

รูปภาพ
เดี๋ยวนี้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าได้เกือบหนทุกแห่ง Microsoft จึงได้เพิ่มฟังก์ชันให้ MS Word สามารถนำไฟล์มีเดีย เช่น ไฟล์วิดีโอ และไฟล์เสียง จากอินเทอร์เน็ต มาไว้ในเอกสาร Word ได้ โดยเริ่มมาตั้งแต่ Word 2013 แล้วนะครับ โดยเพิ่มคำสั่ง "วิดีโอแบบออนไลน์" ในเมนูแทรก บนริบบิ้น

เตรียมสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย (ภาษาบกพร่อง)

รูปภาพ
แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. ภาษาไทย(ภาษาบกพร่อง) พร้อมเฉลยและอธิบายละเอียด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ได้แก่ (1) ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย (2) ใช้ภาษากำกวม (3) เขียนตัวสะกดผิด (4)ใช้คำผิดความหมาย เช่น ใช้ลักษณะนามผิด ใช้คำ/สำนวนผิด ใช้คำเชื่อมผิด ใช้คำนามเป็นคำกริยา เป็นต้น (5) ใช้คำ/สำนวนต่างประเทศโดยไม่จำเป็น (6) เรียงคำ/กลุ่มคำผิดลำดับ (7) ใช้ภาษาแสลง (8) ใช้คำขัดแย้งกันในประโยค (9) ใช้คำไม่คงที่ (10) ใช้คำต่างระดับ (11) และ อื่น ๆ เช่น ใช้คำไม่เหมาะแก่โวหาร ไม่เหมาะกับ กาละ เทศะ และบุคคล ตลอดจนใช้คำไม่เหมาะกับความรู้สึก เป็นต้น ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม    คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. ประโยคในข้อใด ใช้ภาษาถูกต้องมากที่สุด 1. คุณพ่อให้ช่างมาซ่อมประตูแผ่นที่ชำรุด 2. เราต้องขืนใจกินทั้ง ๆ ที่ไม่หิวเลย 3. ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก ทั้งหมดนี้ อย่าได้ไว้วางใจ 4. บ้านเรือนของผู้คนปลูกเป็นระยะ ๆ dummy text ข้อ 1. ใช้ลักษณะนามผิด ประตูใช้คำว่า บาน คุณพ่อให้ช่างมาซ่อมประตูบานที่ชำรุด ข้อ 2. ใช้คำผิดความหมาย

คุ้มครองข้อมูลของท่านด้วย Controlled Folder Access ของ Windows 10

รูปภาพ
วันก่อนฟังรายการ Security Now ซึ่งจัดโดย Steve Gibson และ Leo Laporte   พูดถึงเรื่องการปกป้อง Folder ใน Windows 10 น่าสนใจมาก เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัย ตามคำโบราณที่ว่า กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน Windows 10 ที่อัพเดทฤดูใบไม้ร่วง หรือ Fall Creators Update ได้เพิ่มลักษณะใหม่ขึ้น คือ Controlled Folder Access โดยค่าเดิม หรือ ค่า default จะปิดเอาไว้ Steve บอกว่า ก็เหมือนกับพวก Firewall ที่ Microsoft ออกมาตอนแรก ๆ ก็ปิดเอาไว้ คล้าย ๆ กับทดลองดูก่อน ให้ผู้ที่ต้องการใช้ลักษณะนี้เปิดใช้เอง  Controlled Folder Access จะทำหน้าที่ปกป้อง ไม่ให้โปรแกรมภายนอกที่ไม่รู้จัก เข้ามาเปลี่ยนแปลงไฟล์ในห้องที่กำหนดได้ โดยเฉพาะพวก Ransomware ทั้งหลายที่ชอบเข้ามายึดเครื่องชาวบ้าน แต่เท่าที่ผมพบ ก็พบว่า ไม่ใช่เฉพาะพวก ransomware เท่านั้น โปรแกรมอื่น ๆ ที่ไม่รู้จัก หรือเป็นที่น่าสงสัย

สอบ ก.พ. การใช้คำ ผ่อนผัน/ผ่อนปรน ให้แก่/ให้กับ

ใน ข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย มักจะมีการนำคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน มาออกข้อสอบ คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันเหล่านี้ บางคำสามารถใช้แทนกันได้ บางคำก็ใช้แทนกันไม่ได้  ซึ่งมักจะนำมาใช้ออกข้อสอบอยู่เสมอ  เพื่อวัดทักษะการใช้ภาษาของผู้เข้าสอบ แต่เป็นที่น่าเส่ียดายว่า เราไม่ค่อยมีการเขียนถึงเรื่องการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมากนัก ตำราส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องการเขียนสะกดคำมากกว่าความหมายของคำหรือการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย มีการใช้ภาษาที่ผิดไปจากความหมายเดิมเดิม เพราะไม่มีหลักยึด ให้แก่ หรือ ให้กับ คำว่า "แก่" ที่ใช้เป็นคำบุพบท  ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก

เทคนิค การทำ ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาภาษาไทย ข้อบกพร่องทางภาษา

รูปภาพ
ข้อสอบ ภาค ก. วิชาภาษาไทย ของ ก.พ. จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การใช้ภาษา และความเข้าใจภาษา   ข้อสอบการใช้ภาษาเป็นการทดสอบทักษะการใช้ภาษาได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ เช่น ข้อบกพร่องทางภาษา ส่วนข้อสอบความเข้าใจภาษา เป็นข้อสอบการอ่าน ออกในลักษณะข้อความสั้น ๆ หรือเป็นข้อความเป็นย่อหน้า แล้วถามความหมาย การแปลความ ตีความ ขยายความ จากเรื่องที่อ่าน

วิธีแก้ปัญหา Word 2016 เปลี่ยนภาษาให้เอง

รูปภาพ
ผู้ใช้ Word 2016 เคยรำคาญใจบ้างหรือไม่ ที่พิมพ์ภาษาไทยอยู่ดี ๆ พอกด Enter และพิมพ์ข้อความต่อไป พอจะมาเพิ่มข้อความที่ท้ายข้อความเดิม ก็พบว่า ภาษาเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ ต้องเสียเวลา กดแป้นเปลี่ยนภาษาให้เป็นภาษาไทย แล้วจึงพิมพ์ได้ หรืออีกอย่างคือ พอเปิดมาทีไร เป็นภาษาอังกฤษทุกที ทั้ง ๆ ที่ตั้ง ภาษาสำหรับการแก้ไข และภาษาส่วนที่ใช้แสดง ให้เป็นภาษาไทยหมดแล้ว ก็ตาม

ใบหม่อน กินแล้วได้อะไร

รูปภาพ
ฝนตกชุก ต้นหม่อนงาม ใบแตกสะพรั่ง ใบหม่อน ใช้เลี้ยงไหม เพื่อเอามาทอผ้าไหม ใบหม่อน หนอนกินได้ คนก็น่าจะกินได้เช่นกัน เห็นเขาว่า บางคนเอาไปใส่ก๋วยเตี๋ยว บางคนเอาไปต้มไก่ ใบหม่อน กินแล้วได้อะไร 

การใช้ "การ" หรือ "ความ" นำหน้าคำในภาษาไทย ข้อสอบ ก.พ.

รูปภาพ
การใช้ การ หรือ ความ นำหน้าคำในภาษาไทย คำที่มี “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เป็นคำนามที่ใช้บอกอาการกระทำ หรือที่เรียกว่า อาการนาม มีหลักในการใช้ ดังนี้ การใช้ “การ” การสามารถใช้นำหน้าคำนาม หรือคำกริยา ได้ - นำหน้าคำนาม จะหมายความว่า เรื่อง , ธุระ , หน้าที่ เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น

แนวข้อสอบ ก.พ., ท้องถิ่น วิชาภาษาไทย (การใช้คำ)

รูปภาพ
แนวข้อสอบ ก.พ., ท้องถิ่น ภาค ก. วิชาภาษาไทย (การเลือกใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสม) พร้อมเฉลยและอธิบายละเอียด ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา คลิกที่ปุ่มเพื่อไปดาวน์โหลด เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย    คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. เยาวชน ที่กระทำความผิดลหุโทษ ต้องอยู่ใน ......... ของกรมคุมประพฤติ หรือถูกกักกัน ในสถานพินิจ 1. ความดูแล 2. ความควบคุม 3. ความพิทักษ์ 4. ความช่วยเหลือ dummy text ดูแล - เอาใจใส่ให้เป็นไปด้วยดี เช่น พ่อแม่ดูแลลูก พยาบาลดูแลคนไข้ ควบคุม - การคุมหรือกักขังผู้ถูกจับ โดยพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ พิทักษ์ - ดูแลคุ้มครอง เช่น พิทักษ์สันติราษฎร์ ช่วยเหลือ - สงเคราะห์ให้สำเร็จดังประสงค์หรือให้พ้นความลำบาก เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เงินค่าช่วยเหลือบุตร

เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ. วิชา ภาษาไทย

เทคนิคการทำข้อสอบ ก.พ. วิชา ภาษาไทย ข้อสอบวิชาภาษาไทย ของ ก.พ. ครอบคลุมเรื่องใหญ่ ๆ 2 เรื่อง คือ การใช้ภาษา และ ความเข้าใจภาษา การใช้ภาษา จะวัดความสามารถในด้านการใช้ภาษาไทย ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นการใช้ภาษาในระดับ คำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือข้อความสั้น ๆ รวมทั้งความสามารถในการเรียงลำดับข้อความเป็นประโยคได้ถูกต้อง เหมาะสม ความเข้าใจภาษา จะวัดความสามารถในด้านความเข้าใจภาษา โดยสามารถสรุปความ จากข้อความสั้น ๆ หรือ บทความได้ ทั้งนี้ โดยจะกำหนดเรื่อง หรือบทความให้อ่าน แล้วตอบคำถาม ซึ่งนอกจากจะสรุปความจากเรื่องที่อ่านแล้ว ยังอาจจะให้มีการแปลความ หรือตีความอีกด้วย ลักษณะของข้อสอบวิชาภาษาไทย

แนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูล จาก กราฟ

รูปภาพ
แนวข้อสอบ วิเคราะห์ข้อมูล ตาราง แผนภูมิ กราฟ ทบทวนแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ตาราง แผนภูมิ กราฟ ที่ http://www.thongjoon.com/2017/08/blog-post.html คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ใช้ข้อมูลในแผนภูมิข้างล่างนี้ สำหรับคำถาม ข้อ 1-3 ข้อ 1. จังหวัดใด มีประชากรสูงอายุ มากที่สุด

แนวข้อสอบ วิเคราะห์ข้อมูลตาราง

รูปภาพ
แนวข้อสอบวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง ทบทวนแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ตาราง แผนภูมิ กราฟ ที่ http://www.thongjoon.com/2017/08/blog-post.html คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ใช้ข้อมูลในตารางข้างล่างนี้ สำหรับคำถาม ข้อ 1-4 การจำหน่ายรถยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม (หน่วย : คัน)    เดือน Toyota Mazda Honda Mitsu Isuzu ม.ค. 340 64 221 147 104 ก.พ. 570 125 315 102 96 มี.ค. 112 16 118 61 57 เม.ย. 43 8 96 31 84 พ.ค. 165 41 83 24 38 ข้อ 1. ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม ยอดจำหน่ายของโตโยต้า มีจำนวนมากกว่าอันดับที่ 3 เป็นจำนวนกี่คัน

การวิเคราะห์ ตาราง กราฟ แผนภูมิ เตรียมสอบ ก.พ. ท้องถิ่น

รูปภาพ
การวิเคราะห์ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ ข้อสอบ ก.พ. การวิเคราะห์ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ มักจะถามให้วิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ซึ่งสามารถใช้การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ได้ในทุกกรณี เช่น จากแผนภูมิ ปริมาณน้ำฝน ในเดือน กรกฎาคม 2559 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละเท่าไร

คิดลัด โจทย์สมการ

รูปภาพ
ข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. มักจะมีโจทย์สมการอยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการแก้สมการชั้นเดียว ซึ่งทำได้ไม่ยาก แต่มักจะใช้เวลาในการแก้โจทย์ ถ้าเรารู้วิธีลัด ก็จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก เพราะการสอบ ข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. จะต้องทำข้อสอบแข่งกับเวลา ถ้ายิ่งใช้เวลาในการทำแต่ละข้อน้อย ก็จะยิ่งได้ประโยชน์มาก เทคนิคการแก้โจทย์สมการ โจทย์ 3x + 2y = 17 4x + 3y = 24 การคิดตามปกติ เราต้องกำจัดตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งออก โดยการหาตัวเลขมาคูณ หรือ หาร เพื่อให้ตัวแปรเท่ากัน แล้วจึงนำสมการทั้งสอง มาบวกหรือลบกัน ก็จะกำจัดตัวแปรออกไปได้ 1 ตัว แล้วจึงสามารถหาค่าได้ วิธีคิดแบบลัด วิธีนี้ ใช้ได้กับสมการเส้นตรงชั้นเดียว เหมือนกับโจทย์ สามารถคิดได้ โดยไม่ต้องกำจัดตัวแปรใด ๆ ทั้งสิ้น

แนวข้อสอบ ก.พ. ความสอดคล้อง เฉลยพร้อมอธิบายอย่างละเอียด

รูปภาพ
แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. พร้อมเฉลยและอธิบายละเอียด ต้องการทบทวนหลักการสรุปความสอดคล้อง    คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. ผู้ที่สอบผ่านทุกคนต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับข้อความข้างต้น   1. ผู้ที่ไม่เข้ารับการปฐมนิเทศ เป็นผู้สอบไม่ผ่าน 2. ผู้ที่สอบผ่านบางคน ไม่ต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ 3. ไม่มีผู้ที่สอบผ่าน ที่ไม่ต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ 4. ผู้ที่เข้ารับการปฐมนิเทศบางคน คือผู้ที่สอบผ่าน   dummy text S = ผู้ที่สอบผ่าน P = ผู้ที่เข้ารับการปฐมนิเทศ ประโยคที่กำหนดให้ เป็นประโยค A (All S are P) ประโยค A ไม่สอดคล้อง/ขัดแย้งกับ ประโยค O (Some S are not P) ข้อ 2 เป็นประโยค O จึงเป็นข้อที่ถูก วิเคราะห์ ตัวเลือกทีละข้อ ข้อ 1 เป็น Contraposition ของ A (All non-P are non-S) จึงสอดคล้องกัน ข้อ 2 เป็นประโยค O (Some S are not P) ไม่สอดคล้องกับ ประโยค A ในลักษณะ ขัดแย้งกัน (contradictories) ข้อ 3 เป็นประโยค obversion ของ A (No S are non-P) จึงสอดคล้องกับประโย

ตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ความสอดคล้อง และไม่สอดคล้อง สอบ ก.พ.

รูปภาพ
หลักการ วิเคราะห์ความสอดคล้อง ไม่สอดคล้อง ในเชิงตรรกะ สำหรับ สอบ ก.พ. ก่อนที่จะวิเคราะห์ประโยค จำเป็นต้องทบทวนพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ ประโยค หรือ statement ในเชิงตรรกศาสตร์ และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อจะได้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ ความสอดคล้อง หรือไม่สอดคล้องได้อย่างถูกต้อง

การคัดลอกข้อมูล จาก Excel ลงตารางในโปรแกรม กองทุนหมู่บ้าน

รูปภาพ
หลายคน ต้องการนำข้อมูลเก่าจาก Excel มาเข้าในโปรแกรมกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งใช้โปรแกรม Microsoft Access จะทำได้อย่างไร การคัดลอกข้อมูลจาก Excel ไปยัง Access สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การคัดลอกจาก Excel แล้วมาวางในตารางของ Access หรือ จาก Access สามารถใช้เมนูการนำเข้าข้อมูลจาก Excel หรือ จะใช้การลิงค์ข้อมูล ก็ได้ แต่ในที่นี้ จะใช้วิธีที่ง่ายที่สุด คือการคัดลอกจาก Excel แล้วมาวางในตารางของ Access

ตรรกศาสตร์ การสรุปเชิงเหตุผล

รูปภาพ
ครั้งที่แล้วเขียนเรื่อง การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ มีผู้ต้องการอยากได้แบบฝึกหัด มาคราวนี้ จึงจัดให้นะครับ การสรุปเหตุผล ต้องอาศัยเหตุ หรือ premises ที่ให้มา โดยต้องเชื่อว่า เหตุที่ให้มานั้นเป็นจริง การสรุปถ้ายึดตามหลักภาษาหรือความหมายแล้ว อาจจะทำให้ผิดไปจากหลักของ ตรรกะ เช่น ถ้าเป็นไข้ จะทำให้ปวดหัว วันนี้ฉันปวดหัว สรุปว่า ฉันเป็นไข้ ถ้าดูตามความหมายก็อาจจะถูกต้อง แต่ถ้าตรวจดูตามหลักตรรกะ แล้ว จะเห็นว่า ไม่เป็นจริง เพราะ อาการปวดหัว อาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เป็นไมเกรน ก็ปวดหัวได้เหมือนกัน การสรุปแบบนี้ เรียกว่าเป็นข้อผิดพลาด หรือ Error ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Affirming the Consequent ต้องการทบทวนหลักการสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ     คลิกทีนี่ ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่ มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา คลิกที่ปุ่มเพื่อไปดาวน์โหลด คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกต้องมากที่สุด ข้อ 1. ถ้าวันนี้ฝนไม่ตก ฉั

เตรียมสอบ ก.พ. การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ ความสอดคล้อง ไม่สอดคล้อง

รูปภาพ
การสรุปเหตุผล ที่มีในข้อสอบ ก.พ. เป็นการสรุปตามข้อมูลที่ให้ แล้วนำมาสรุปว่า เป็นจริงหรือไม่จริง สอดคล้องหรือไม่สอดคล้อง เป็นต้น การสรุปเหตุผลจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการสรุป ซึ่งตามหลักตรรกศาสตร์มีกฏเกณฑ์การสรุปข้อเท็จจริง จำนวนมาก แต่เท่าที่พบส่วนใหญ่ในข้อสอบ มักจะใช้กฎเกณฑ์พื้น ๆ ไม่กี่อย่าง ถ้าทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะสามารถทำข้อสอบ การสรุปเหตุผลได้อย่างง่ายดาย การสรุปแบบ นิรนัย (deductive) การสรุปแบบ นิรนัย (deductive) เป็นการสรุปจากข้อเท็จจริง โดยโจทย์จะกำหนด เงื่อนไข เหตุการณ์ หรือสถานการณ์(premises) ซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุป(conclusion) มาให้ 2 หรือ 3 เหตุการณ์ หรือมากกว่านั้น และให้หาข้อสรุป เช่น สมมติว่า ถ้า P เป็นจริงแล้ว จะทำให้ Q เป็นจริงด้วย เราสามารถเขียนได้ ดังนี้ P → Q

เงื่อนไขสัญลักษณ์ กรณีไม่แน่นอน หรือสรุปไม่ได้

รูปภาพ
ในการการทำข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์ จะต้องบอกได้ว่า ข้อสรุปของโจทย์ เป็นจริง เป็นเท็จ หรือ ไม่แน่นอน การบอกว่าเงื่อนไขเป็นจริง หรือเป็นเท็จ มักจะไม่ค่อยมีปัญหา เช่น จะเป็นจริง ถ้าผลการพิสูจน์ของเราตรงกับข้อสรุป เช่น ข้อสรุป A > B ผลการพิสูจน์ A > B หรือ ข้อสรุป A ≥ B ผลการพิสูจน์ A > B เป็นเท็จ ถ้าผลการพิสูจน์ไม่ตรงกับข้อสรุป เช่น ข้อสรุป A > B ผลการพิสูจน์ A < B แต่ กรณีสรุปไม่ได้ เป็นกรณีที่ สามารถมีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้มากกว่าข้อสรุปของโจทย์ เช่น ข้อสรุป A > B ผลการพิสูจน์ ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่าง A และ B ได้ คือ A เป็นได้ทั้ง มากกว่า B น้อยกว่า B หรืออาจจะเท่ากับ B ก็ได้

คิดลัด ร้อยละ เตรียมสอบ ก.พ.

รูปภาพ
การบริหารเวลา ในการสอบ เป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งถ้าทำได้เร็วและถูกต้อง จะได้มีเวลาเหลือไปคิดข้อสอบข้ออื่นที่ยาก หรือมีเวลาทบทวนข้อสอบที่ทำแล้ว ลักษณะโจทย์ร้อยละ ลักษณะที่ 1 หาตัวเลขจากเปอร์เซ็นต์ โจทย์ในลักษณะนี้ เช่น ถามว่า 50% ของ 200 มีค่าเท่าไร ซื้อของมา 300 บาท ขายขาดทุน 30% ขายไปกี่บาท ซื้อของมา 300 บาท ต้องการกำไร 30% ต้องขายกี่บาท ปีที่แล้วมีเงินเดือน 25,000 บาท ปีนี้ได้เพิ่มอีก 5% ปีนี้ได้เงินเดือนกี่บาท ขายของไป 210 บาท ขาดทุน 30% ซื้อของชิ้นนี้มากี่บาท? ขายของไป 130 บาท ได้กำไร 20% ซื้อของชิ้นนี้มากี่บาท? โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนหญิงคิดเป็น 24% ของนักเรียนทั้งหมด ถ้าโรงเรียนนี้มีนักเรียน 1,800 คน จงหาจำนวนนักเรียนชาย บริษัทขายโทรทัศน์แห่งหนึ่ง สั่งโทรทัศน์จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้า 100%ของราคาที่ซื้อมา ถ้านำมาขายราคาเครื่องละ 13,200บาท จะได้กำไร 20% จงหาราคาที่ซื้อมาจากต่างประเทศ ขายสินค้าไป 600 บาท ได้กำไร 20% ถ้าต้องการกำไร 30% จะต้องขายสินค้าในราคากี่บาท นก ขายของให้หวาน ได้กำไร 10% ต่อมา หวานขายต่อให้ หนูนา ได้กำไร 5% หนูนาซื้อจากหวานในราคา 2,310 บาท ถา

ข้อสอบ คำที่มักเขียนผิด

รูปภาพ
คำที่มักเขียนผิด มักจะมีออกข้อสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่เสมอ การเขียนให้ถูกต้องนอกจากจะมีประโยชน์ในการสอบแล้ว ยังแสดงออกถึงความเป็นคนไทย ที่รู้รักและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางภาษาของเราอีกด้วย ศึกษาเพิ่มเติม คำที่มักเขียนผิด คลิกทีนี่ คำสั่ง: ให้ท่านเลือกข้อที่ถูกที่สุด ข้อ 1. ข้อใดมีคำที่เขียนสะกดไม่ถูกต้อง 1. กระยาสารท ซาละเปา ราดหน้า ฮ่อยจ๊อ 2. เฆี่ยนตี เดินจงกรม จระเข้ดุ จลาจลวุ่นวาย 3. จะงอยปาก ปลาจะละเม็ด เข้าฌาน อนุญาต 4. ประสบทุพภิกขภัย กฎเกณฑ์ ทศกัณฐ์ กรรมพันธุ์ dummy text ซาละเปา คำที่ถูกคือ ซาลาเปา

คำที่มักเขียนผิด

รูปภาพ
คำที่มักเขียนผิด คำที่มักเขียนผิด ส่วนใหญ่นำมาจาก วิกิพีเดีย และเว็บไซต์อื่น ๆ พร้อมทั้งตรวจสอบกับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ และได้จัดทำปุ่มค้นหา ทำให้ตรวจสอบคำที่สงสัย สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น จึงหวังว่า น่าจะเป็นประโยชน์ ต่อนักเรียน นักศึกษา ผู้เตรียมสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. ตลอดจนผู้สนใจศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับ การเขียนภาษาไทย ให้ถูกต้อง ได้ตามสมควร

แนวข้อสอบ ก.พ. โอเปอเรต

ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. มีบางครั้งที่ข้อสอบ ก.พ. มีการออกข้อสอบเรื่อง โอเปอร์เรต ซึ่งเป็นทักษะการคำนวนเบื้องต้น ทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร หรือเลขยกกำลังเป็นต้น ลักษณะของข้อสอบ จะให้ตัวเลขมา 2 ชุด โดยมีคำตอบมาให้ ผู้เข้าสอบต้องหาว่า คำตอบที่ได้มานั้น มาจากการนำตัวเลขมาทำอะไรทางคณิตศาสตร์ และผู้เข้าสอบต้องใช้วิธีเดียวกันกับตัวเลข 2 ชุดที่ให้มา เพื่อหาคำตอบจากตัวเลขที่กำหนดให้ แนวการหาคำตอบ ให้ลองเอาตัวเลขชุดแรก มาลอง บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง ดู แล้วจดผลที่ได้เอาไว้ จากนั้น ให้ลองเปรียบเทียบดูกับผลลัพธ์ที่โจทย์ให้มา ว่า เราจะทำอย่างไร ให้ได้เหมือนผลลัพธ์ของโจทย์ เช่น ถ้า  2 * 3 = 15 และ 3 * 4 = 21 แล้ว  1 * 6 = ? ให้ลองเอา 2 บวก ลบ คูณ หาร กับ 3 แล้วจดเอาไว้ การทำเช่นนี้ ผมจะเรียกว่า หาข้อมูลดิบ เพื่อจะเอาไปเปรียบเทียบกับ ผลลัพธ์ที่โจทย์ให้มา ซึ่งผมจะเรียกว่า เป้าหมาย คำถามคือ เราจะทำอย่างไรกับ ข้อมูลดิบ เพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย การที่เราจดไว้แทนการคิดในใจ จะทำให้เราเห็นทางได้ง่ายขี้น 2 + 3 = 5 2 × 3 = 6 3 - 2 = 1 จะเห็นว่าข้อมูลดิบที่เราได้ คือ 5, 6 และ 1 สามารถทำให้ได้