บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2024

ทอดลูกเต๋า โจทย์ข้อสอบ กพ

รูปภาพ
ทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง อยากทราบว่า มีโอกาสกี่เปอร์เซ็นต์ที่ลูกเต๋าจะมีผลรวมของแต้มเป็นเลขคี่? ลูกเต๋าแต่ละลูกมี 6 ด้าน มีแต้ม 1-6 ลูกเต๋า 2 ลูก จะมีแต้มรวมกันได้ เป็นเลขคี่ ก็ต่อเมื่อ มีลูกหนึ่งออกแต้มคี่และอีกลูกออกแต้มคู่ เช่น 2 กับ 5 รวมกันจะเป็นเลขคี่ ถ้าออกแต้มคู่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่ เช่น 2 กับ 4 เป็น 6 ซึ่งเป็นเลขคู่ หรือ ถ้าออกแต้มคี่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่  เช่น 3 กับ 5 เป็น 8 ซึ่งเป็นเลขคู่ ในการคิดสูตรความน่าจะเป็น มีสูตรคือ   ความน่าจะเป็น = จำนวน เหตุการ์ที่สนใจ / จำนวน เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้   ในโจทย์ข้อนี้  การทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง เราเรียกว่าเป็น 1 เหตุการณ์  เหตุการณ์ที่เราสนใจคือ การที่เมื่อทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป 1 ครั้ง แล้ว แต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูก เมื่อรวมกัน จะออกเป็นเลขคี่ เช่น เลข 3, 5, 7 ... เป็นต้น เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่ทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป แล้ว ผลที่ได้จะไม่ซ้ำกัน (เหตุการณ์ที่ลูก 1 ออกแต้ม 1 และ ลูก 2 ออกแต้ม 1 กับ เหตุการณ์ที่ลูก 2 ออกแต้ม 1 และ ลูก 1 ออกแต้ม

การตัดสินข้อสรุป เงื่อนไขภาษา ข้อสอบ กพ

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา เราจะต้องตัดสินข้อสรุปที่ให้มาว่า จริง หรือเท็จ หรือ สรุปได้ไม่แน่ชัด เช่น เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา และจําปาน้อยกว่าจําปี กุหลาบได้ลำดับที่ 4 หงอนไก่สู้กุหลาบไม่ได้ แต่ได้ลําดับดีกว่าพิกุล ลําดับของพลับพลึงกับราตรีอยู่ติดกัน พิกุลอยู่ลำดับที่ดีกว่าพลับพลึง เราสามารถจัดเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขได้ ดังนี้ ลำดับที่ ชื่อ 1 ผกา 2 จำปี 3 จำปา 4 กุหลาบ 5 หงอนไก่ 6 พิกุล 7 พลับพลึง | ราตรี 8 พลับพลึง | ราตรี ข้อสรุปที่ 1: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 2: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 6 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 3: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 7 การตัดสินข้อสรุป: เท็จ กรณีที่ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "และ" ประโยคทั้งสองจะต้องเป็นจริง จึงจะได้ผลเป็นจริง ถ้

การเปลี่ยนรูปแบบอักษร ข้อความในหัวข้อ ของ Word 2019

รูปภาพ
รำคาญมากที่สุดในการใช้ Word พิมพ์รายการหัวข้อ ปัญหาคือ ตัวอักษรเมื่อเราคลิกเลือกรายการ มันเป็นคนละแบบกับที่ใช้ ดูตัวอย่าง จะเห็นว่า ชื่อคนกับ รายชื่อ มันเป็นอักษรคนละแบบกัน หรือ ไม่ใช่ font ตระกูลเดียวกัน ต้องเสียเวลามาเปลี่ยนให้เหมือนกัน ทุกครั้งที่กดเลือกใช้หัวข้อรายการ หาอยู่ตั้งนาน มันมีแต่เรื่องการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรของตัวเลข แต่เราต้องการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรของข้อความ  วิธีการแก้ไข ทำให้แบบตัวอักษรของข้อความ เป็นแบบเดียวกัน สรุปเลย ก็คือ ให้ไปเปลี่ยนที่ สไตล์ > ย่อหน้ารายการ ถ้าจะทำตามแบบละเอียด ก็อ่านต่อไป ข้างล่างนี้ พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ (จริง ๆ คือ เป็นการขึ้นย่อหน้าใหม่) ไปที่ หน้าแรก > สไตล์ แล้วคลิกลูกศรมุมล่างขวา เพื่อเปิดหน้าต่างย่อย เลื่อน scroll bar ลงมา จนเจอ ย่อหน้ารายการ คลิก สามเหลี่ยม แล้วคลิก ปรับเปลี่ยน จะเห็นว่า รูปแบบตัวอักษร เป็นรูปแบบคนละอย่างกับที่ใช้ในข้อความทั่วไป ของผม ข้อความทั่วไปใช้เป็น Sarabun New แต่ในหัวข้อ เป็น Angsana New ให้เปลี่ยนเป็นแบบอักษรที่ต้องการ ในตัวอย่างเปลี่ยนเป็น TH Sarabun New ขนาด 18 ที

การตัดสิน เงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ.(ภาค ก.)

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา มีทักษะที่ต้องใช้คือ การนำข้อความที่โจทย์กำหนดมาจัดเรียงใหม่ ในรูปตารางหรือแผนภาพ และการตัดสินข้อสรุปของโจทย์ว่า จริง หรือเท็จ หรือไม่แน่ชัด การจัดเรียงข้อความให้เป็นตารางหรือแผนภาพ สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สามัญสำนึก เหตุผล และความรอบคอบ อย่าใจร้อน หรือร้อนรน จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ แต่การตัดสินข้อสรุปนี่ซิ บางทีก็ง่าย บางทีก็ยาก ที่ว่าง่ายคือข้อสรุปของโจทย์เป็นข้อสรุปที่ถามตรง ๆ แต่บางครั้งก็ยากถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ในการตอบ เพราะข้อสรุป เป็นข้อสรุปที่ซับซ้อน มีการรวมข้อความ(ที่ทางคณิตศาสตร์เขาเรียกว่า ประพจน์) ด้วยคำว่า "และ" "หรือ" หรือ "ถ้า...แล้ว..." ซึ่งถ้าเราไม่มีหลักในการตอบ ก็เป็นเรื่องยาก บางทีตอบผิดเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยากเลย ดูตัวอย่างต่อไปนี้ เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา