การตัดสิน เงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ.(ภาค ก.)

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.)
ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา มีทักษะที่ต้องใช้คือ การนำข้อความที่โจทย์กำหนดมาจัดเรียงใหม่ ในรูปตารางหรือแผนภาพ และการตัดสินข้อสรุปของโจทย์ว่า จริง หรือเท็จ หรือไม่แน่ชัด

การจัดเรียงข้อความให้เป็นตารางหรือแผนภาพ สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สามัญสำนึก เหตุผล และความรอบคอบ อย่าใจร้อน หรือร้อนรน จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้

แต่การตัดสินข้อสรุปนี่ซิ บางทีก็ง่าย บางทีก็ยาก ที่ว่าง่ายคือข้อสรุปของโจทย์เป็นข้อสรุปที่ถามตรง ๆ แต่บางครั้งก็ยากถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ในการตอบ เพราะข้อสรุป เป็นข้อสรุปที่ซับซ้อน มีการรวมข้อความ(ที่ทางคณิตศาสตร์เขาเรียกว่า ประพจน์) ด้วยคำว่า "และ" "หรือ" หรือ "ถ้า...แล้ว..." ซึ่งถ้าเราไม่มีหลักในการตอบ ก็เป็นเรื่องยาก บางทีตอบผิดเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย ความจริงแล้วเป็นเรื่องไม่ยากเลย

ดูตัวอย่างต่อไปนี้

เงื่อนไข
  • มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง
  • จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา และจําปาน้อยกว่าจําปี
  • กุหลาบได้ลำดับที่ 4
  • หงอนไก่สู้กุหลาบไม่ได้ แต่ได้ลําดับดีกว่าพิกุล
  • ลําดับของพลับพลึงกับราตรีอยู่ติดกัน
  • พิกุลอยู่ลำดับที่ดีกว่าพลับพลึง
เราสามารถจัดเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขได้ ดังนี้
ลำดับที่ชื่อ
1ผกา
2จำปี
3จำปา
4กุหลาบ
5หงอนไก่
6พิกุล
7พลับพลึง | ราตรี
8 พลับพลึง | ราตรี
ข้อสรุปที่ 1: ผกา อยู่ลำดับที่ 1
การตัดสินข้อสรุป: จริง

ข้อสรุปที่ 2: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 6
การตัดสินข้อสรุป: จริง

ข้อสรุปที่ 3: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 7
การตัดสินข้อสรุป: เท็จ
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "และ" ประโยคทั้งสองจะต้องเป็นจริง จึงจะได้ผลเป็นจริง ถ้ามีประโยคใดประโยคหนึ่ง เป็นเท็จ คำตอบที่ได้คือ เท็จ

ข้อสรุปที่ 4: ผกาอยู่ลำดับที่ 1 หรือ จำปี อยู่ลำดับที่ 4
การตัดสินข้อสรุป: จริง
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "หรือ" จะสรุปว่าเป็นจริง ก็ต่อเมื่อมีประโยคใดประโยคหนึ่ง หรือทั้งสองประโยคเป็นจริง

ข้อสรุปที่ 5: ถ้าผกา อยู่ลำดับที่ 1 แล้ว กุหลาบอยู่ลำดับที่ 2
การตัดสินข้อสรุป: เท็จ
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "ถ้า.... แล้ว...." จะสรุปว่าเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อมี ประโยคหน้าเป็นจริง และประโยคหลังเป็นเท็จ นอกนั้น เป็นจริง ยกเว้นกรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

ข้อสรุปที่ 6: ถ้า จำปี อยู่ลำดับที่ 1 แล้ว หงอนไก่ อยู่ลำดับที่ 5
การตัดสินข้อสรุป: จริง
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "ถ้า.... แล้ว...." จะสรุปว่าเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อมี ประโยคหน้าเป็นจริง และประโยคหลังเป็นเท็จ นอกนั้น เป็นจริง ยกเว้นกรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

ข้อสรุปที่ 7: ถ้า ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ จำปี อยู่ลำดับที่ 7 แล้ว หงอนไก่ อยู่ลำดับที่ 5
การตัดสินข้อสรุป: จริง
กรณีที่ ข้อความ ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "ถ้า.... แล้ว...." จะสรุปว่าเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อมี ประโยคหน้าเป็นจริง และประโยคหลังเป็นเท็จ นอกนั้น เป็นจริง ยกเว้นกรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

ถ้า ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ จำปี อยู่ลำดับที่ 7 ตัดสินข้อสรุปคือ เท็จ
หงอนไก่ อยู่ลำดับที่ 5 ตัดสินข้อสรุปคือ จริง
ถ้า (เท็จ) แล้ว (จริง) การตัดสินข้อสรุปคือ จริง

ข้อสรุปที่ 8: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ ราตรี อยู่ลำดับที่ 8
การตัดสินข้อสรุป: สรุปได้ไม่แน่ชัด
จากเงื่อนไขที่กำหนดมาให้เราไม่สามารถตัดสินได้ว่า ราตรี กับ พลับพลึง ใครจะอยู่ลำดับที่ 7 หรือ 8 ดังนั้น ข้อสรุปที่ว่า ราตรี อยู่ลำดับที่ 8 จึงสรุปได้ไม่แน่ชัด
กรณีที่มีตัวใดตัวตัวหนึ่งมีสถานะเป็นไม่แน่ชัด จะทำให้ผลการตัดสินเป็น ไม่แน่ชัดด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเชื่อมด้วย และ, หรือ, หรือ ถ้า... แล้ว... ก็ตาม

สรุปได้ดังตารางข้างล่างนี้

สมมุติให้ข้อความแรก เป็นตัว p และข้อความที่สอง เป็นตัว q

pqp และ qp หรือ qถ้า p แล้ว q
จริงจริงจริงจริงจริง
จริงเท็จเท็จจริงเท็จ
เท็จจริงเท็จจริงจริง
เท็จเท็จเท็จเท็จจริง


กรณีสรุปได้ไม่แน่ชัด

pqp และ qp หรือ qถ้า p แล้ว q
ไม่แน่เท็จไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่
ไม่แน่จริงไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่
เท็จไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่
จริงไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่ไม่แน่


ดาวน์โหลดแอพ เตรียมสอบ ก.พ.(ภาค ก.) Android คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดแอพ เตรียมสอบ ก.พ.(ภาค ก.) iPhone คลิกที่นี่


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์