ทบทวนเรื่อง เลขยกกำลัง
เลขยกกำลัง มักจะมีออกในข้อสอบ ก.พ. เรื่องสดมภ์ อยู่เสมอ ถ้ามีการทบทวน ทำความเข้าใจเสียก่อน น่าจะทำให้ทำข้อสอบได้อย่างถูกต้อง และใช้เวลาไม่มากนัก ทบทวนกฎของเลขยกกำลัง Rule กฎ ตัวอย่าง Zero-Exponent Rule: a 0 = 1 3 0 = 1 Power Rule: (a m ) n = a mn (x 5 ) 4 = 5 20 Negative Exponent Rule: a -n = 1 / a n 5 -2 = 1 / 5 2 = 1 / 25 Product Rule: a m .a n = a m+n x.x 5 = x 6 Quotient Rule: a m / a n = a m-n x 5 / x 2 = x 3 การแก้ปัญหาโจทย์เลขยกกำลัง ด้วยตัวเลขหลายหลัก หลักการคือ ต้องพยายามทำฐาน หรือ ตัวเลขยกกำลังให้เท่ากัน จึงจะเปรียบเทียบกันได้ วิธีการ คือ หาตัวหารที่มากที่สุด ที่มาหารตัวเลขยกกำลัง หรือ พูดง่าย ๆ ว่า หา ห.ร.ม ของตัวเลขยกำลัง เช่น จงเปรียบเทียบค่า ระหว่าง 4 28 และ 6 21 พิจารณาดูเลขยกกำลัง คือ 28 และ 21 จะเห็นว่ามีตัว ห.ร.ม. (ตัวเลขที่มากที่สุดที่หารทั้งสองตัว ลงตัวพอดี) คือ 7 น่าจะทำเป็นเลขยกกำลัง 7 ได้ โดยอาศัย Power Rule คือ 4 28 = 4 (4x7) = (4 4 ) 7 = 256 7 6 21 = 6 (3x7) = (6 3 ) 7 = 216 7 ∴ 4 28 มากกว่า 6 21 ตัวอย่างข้อสอบ