สอบ ก.พ. การตีความ

ข้อสอบภาษาไทย ก.พ./ท้องถิ่น มักจะมีการให้ตีความจากบทความที่กำหนดให้ เพื่อวัดทักษะ ความสามารถในการใช้ภาษาไทย

Benjamin S. Bloom และคณะ ได้จำแนกจำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษา ออกเป็น 6 ระดับ โดยระบุว่า การตีความ เป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจ ก่อนที่จะตีความได้ ต้องรู้ความหมายสิ่งที่อ่านเป็นเบื้องต้น นั่นคือ ต้องรู้ความหมายของ คำ วลี ตลอดจน สำนวน คำพังเพย การเปรียบเทียบ ที่ใช้ในการสื่อสารนั้น ๆ ด้วย การตีความนอกจากจะต้องแปลความหมายได้แล้ว ยังต้อง (1)สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ (2)จัดลำดับ หรือเรียงลำดับใหม่ เพื่อให้เห็นภาพรวมของการสื่อสาร นั้น ๆ และ (3) สามารถนำมาเทียบเคียงกับประสบการณ์ของตนได้ นอกจากนี้แล้ว การตีความยังหมายรวมถึงความสามารถแยกแยะสิ่งที่สำคัญและไม่สำคัญ หรือไม่เกี่ยวข้องกัน ออกจากกันด้วย ในประการหลังนี้ การตีความจะมีความหมายเดียวกับการวิเคราะห์ และมีลักษณะร่วมบางอย่างกับการประเมิน ด้วย

การตีความบทความ หรือเรื่องที่อ่าน สิ่งที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจเรื่องที่อ่านเสียก่อน ต้องรู้ว่าใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน คืออะไร และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องรู้จุดประสงค์ของผู้เขียนบทความว่า เขียนบทความนั้น ๆ เพื่ออะไร เช่น เพื่อเล่าเรื่อง ให้ข้อมูล เชิญชวน โน้มน้าวจิตใจผู้อ่าน เพื่อแสดงความคิดเห็นของตน หรือเสียดสีสังคม เป็นต้น
ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store
  • ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่
  • มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ
  • มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ
  • มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ
  • มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา
ดาวน์โหลด ที่ Play Store คลิกที่นี่

ในการทำข้อสอบการตีความ ต้องไม่ตีความเกินกว่าขอบเขตของเรื่องที่อ่าน หรือนำเอาประสบการณ์ ความคิดเห็นของตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมิฉะนั้นแล้ว การตีความของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน และตัวเลือกที่ถูก ก็จะไม่มี เพราะ ถ้าเป็นการตึความที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน
การตีความก็จะแตกต่างกันไปด้วย

ตัวอย่าง

"ถ้าเราได้เห็นนางอีก  เราคงจะกล่าวว่า  นี่คือรูปที่ชายหลงใหล  สิ่งนี้มิใช่อื่นไกล  คือ ตะกร้าซึ่งมีหนังหุ้มภายนอก  ข้างในคือกระดูกเลือดเนื้อ  แลสิ่งโสโครกทั้งหลายเท่านั้น"

ความคิดของชายหนุ่มคนนี้ สอดคล้องกับข้อใด

  1.  การรู้จักข่มใจตน 
  2. ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง
  3. การตระหนักถึงความตาย
  4. สังขารมนุษย์เป็นสิ่งน่ารังเกียจ 
จะเห็นว่าใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เป็นการบรรยาย เกี่ยวกับรูปร่างของสตรีว่า เป็นเสมือนตะกร้าที่หุ้มด้วยหนัง ข้างในตะกร้าประกอบด้วย กระดูก เลือด และสิ่งโสโครก

ในบทความไม่มีส่วนใดที่พูดถึงเรื่อง การข่มใจ ความไม่เที่ยง (เป็นอนิจจัง) หรือ ความตาย แต่อย่างใด

แต่ถ้าเราใช้ประสบการณ์ของตัวเอง อาจจะมองไปได้ว่า ภายในร่างกาย มีแต่สิ่งของที่น่ารังเกียจ ต้องรู้จักหักห้ามข่มใจตนเอง รู้ถึงความจริงของสังขาร ที่จะต้องร่วงโรยไปเป็นธรรมดา

จะเห็นว่า ถ้าจะใช้ประสบการณ์ในการตีความแล้ว ตัวเลือกที่กำหนดก็อาจจะถูกได้ทุกข้อ ดังนั้น หลักประการสำคัญคือ จะต้องตีความให้อยู่ในกรอบของบทความ โดยพิจารณาจาก ใจความสำคัญ การเรียงลำดับข้อความ การเลือกใช้คำศัทพ์ในบทความ ตลอดจนการใช้คำเชื่อมต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้อ่านและตีความได้ถูกต้อง

สรุปว่า ข้อนี้ ตอบข้อ 4. นะครับ เพราะ เปรียบเทียบร่างกายว่า เป็นเหมือนกับ ตะกร้าที่มีหนังหุ้ม ข้างในตะกร้า มีกระดูก มีเลือด มีสิ่งโสโครก ดังนั้น ตะกร้า(สังขารมนุษย์)จึงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ นั่นเอง

อ้างอิง
Bloom, B., Englehart, M. Furst, E., Hill, W., & Krathwohl, D. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook I: Cognitive domain. New York: David McKay Company, Inc.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์