ปีนี้ 2568 ข้อสอบ กพ(ภาค ก) มีการออกข้อสอบเรื่อง ความน่าจะเป็น ก็เลย เอาข้อสอบจริง e-Exam มาทบทวนกันหน่อย เผื่อการสอบรอบ Paper&Pencil เดือน ส.ค. 68 หรือ ใครจะสอบปีหน้า ก็จะได้เตรียมตัวไว้ด้วย


คำสั่ง: ให้ท่านเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

สุ่มหยิบการ์ดเลข 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 พร้อมกัน 2 ใบ ความน่าจะเป็นที่ผลรวม จะได้เลขคู่ เท่ากับเท่าได

วิธีคิด

จะหยิบการ์ดได้เลข คู๋ เมื่อหยิบครั้งละ 2 ใบ จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

กรณีแรก หยิบได้ใบหนึ่งเป็นเลขคู่ และอีกใบหนึ่งเป็นเลขคู่ (เลขคู๋ + เลขคู่ ได้เลขคู่ เช่น 2 + 4 = 6)
กรณีที่สอง หยิบได้ใบหนึ่งเป็นเลขคี่ และอีกใบหนึ่งเป็นคี่เหมือนกัน (เลขคี่ + เลขคี่ = เลขคู่ เช่น 1 + 3 = 4)

การสุ่มนี้ มีเงื่อนไขคือ จะไม่นับซ้ำ เช่น หยิบครั้งแรก ได้เลข 1 และ เลข 2 หยิบครั้งที่สอง ได้เลข 2 และ เลข 1 อย่างนี้ ถือว่า ซ้ำ นับเป็นครั้งเดียว

อีกอย่าง เนื่องจากว่า มีการ์ดทั้งหมด 8 ใบ การที่จะหยิบได้ เลขซ้ำกัน 2 ใบ เช่น ได้ เลข 1 จำนวน 2 ใบ จะไม่เกิดขึ้น เพราะมีเลข 1 เพียงใบเดียวเท่านั้น

สูตรการหาความเป็นไปได้ คือ
ความน่าจะเป็น = วิธีที่สนใจ/วิธีทั้งหมด
วิธีที่สนใจ คือ การที่จะหยิบได้ ครั้งละ 2 ใบ และเมื่อเอาเลขมารวมกัน ได้เป็นเลขคู่
วิธีทั้งหมด คือ จำนวนครั้ง ที่หยิบการ์ดขึ้นมา ครั้งละ 2 ใบ โดยที่ตัวเลขไม่ซ้ำกัน ไม่ว่าเมื่อเอาตัวเลขมารวมกัน แล้วจะได้เลขคู่หรือเลขคี่

คำตอบ คือ
3/7


จะอธิบายเป็น 2 แบบ คือ

แบบใช้สูตร (เข้าใจยาก แต่จำไปใช้ประหยัดเวลาคิด)
แบบรูปภาพ (เข้าใจง่าย ทำให้เข้าใจสูตรได้ดีขึ้น)

แบบใช้สูตร

สูตรการหาวิธีการทั้งหมด ว่าทำได้กี่วิธี
C(n,k) = n!/k!(n-k)!
n = จำนวนทั้งหมด ในที่นี้ คือ การ์ด 8 ใบ
k = หยิบมาครั้งละ กี่ใบ ในที่นี้คือ 2
! เรียกว่าเครื่องหมายแฟกทอเรียล หมายถึง การคูณลดหลั่นลงไปเรื่อย ๆ จนถึง 1 เช่น 4! = 4 × 3 × 2 × 1 = 24

แทนค่าในสูตร
C(8,2) =
8!/2!(8-2)!

C(8,2) =
8!/2!(6)!

C(8,2) =
8×7×6×5×4×3×2×1/(2×1)(6×5×4×3×2×1)

จะเห็นว่า ทั้งเศษและส่วน มี 6×5×4×3×2×1 จึงตัดกันหมดไป
C(8,2) =
8×7/2×1

C(8,2) =
56/2

C(8,2) = 28
สรุปว่า มีวิธีจับการ์ด 8 ใบ ขึ้นมาครั้งละ 2 ใบ จะทำได้ทั้งหมด 28 วิธี (หรือ ครั้ง)

การหาจำนวนที่สนใจ คือ หยิบ 2 ใบ เมื่อรวมเลขแล้วได้ เลขคู่
จากการ์ด 8 ใบ คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8
จะมีเลขคู่ 4 ใบ คือ 2, 4, 6 และ 8
จะมีเลขคี่ 4 ใบ คือ 1, 3, 5 และ 7

กรณีที่ 1 หยิบได้เลขคู่ 2 ใบ
มีวิธีที่ทำได้ (ใช้สูตรเดิมข้างบน)
C(4,2) =
4!/2!(4-2)!

C(4,2) =
4!/2!(2)!

C(4,2) =
4×3×2×1/(2×1)(2×1)

จะเห็นว่า ทั้งเศษและส่วน มี 2×1 จึงตัดกันหมดไป
C(4,2) =
4×3/2×1

C(4,2) =
12/2

C(4,2) = 6
สรุปว่า กรณีที่ 1 ทำได้ 6 วิธี

กรณีที่ 2 หยิบได้เลขคู่ 1 ใบ และเลขคี่ 1 ใบ
มีวิธีที่ทำได้ (ใช้สูตรเดิมข้างบน)
C(4,2) =
4!/2!(4-2)!

C(4,2) =
4!/2!(2)!

C(4,2) =
4×3/2×1

C(4,2) =
12/2

C(4,2) = 6
สรุปว่า กรณีที่ 2 ทำได้ 6 วิธี

รวมวิธีที่สนใจ ทั้งสองกรณี ได้ = 6 + 6 = 12 วิธี

สูตรการหาความน่าจะเป็น คือ
ความน่าจะเป็น = วิธีที่สนใจ/วิธีทั้งหมด
แทนค่าในสูตร
12/28 3/7


แบบรูปภาพ

ลองดูภาพ การหยิบการ์ด ต่อไปนี้

จากภาพ จะเห็นได้ว่า มีกรณีเกิดได้ 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1 หยิบได้เลขคู่ 2 ใบ
กรณีที่ 2 หยิบได้เลขคี่ 1 ใบ และเลขคู่ 1 ใบ

เมื่อนำไปคิดหาความน่าจะเป็น ก็จะได้คำตอบ เท่ากัน
คือ
3/7


แล้วพบกันในแอพ เตรียมสอบ ก.พ. ดาวน์โหลดบนมือถือที่ PlayStore หรือ คลิกที่โลโก้ ด้านล่าง นะครับ



สำหรับ iOS ดาวน์โหลดที่ App Store  คลิกที่นี่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

คำทับศัพท์ยุค ดิจิทัล ที่มักเขียนผิด

การใช้ "การ" หรือ "ความ" นำหน้าคำในภาษาไทย ข้อสอบ ก.พ.