บทความ

การสร้าง Shortcut เพื่อเรียกใช้งาน Macro หรือ Procedure ใน Access 2010

รูปภาพ
ใน Access 2007 มีหน้าจอสร้าง Macro ซึ่งมีตัวเลือก AutoKeys สำหรับกำหนด shortcut เพื่อเรียกให้ Macro ที่สร้างขึ้น ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้เมาส์คลิก แต่ใช้การกดปุ่มที่แป้น ที่กำหนดเป็น Shortcut แต่ใน Access 2010 หน้าจอการสร้าง Macro หายไป แต่ความจริงยังคงสนับสนุน การใช้ AutoKeys เพื่อให้สามารถเรียกใช้ Shortcut ให้ Macro ทำงานได้เหมือนเดิม หน้าจอการสร้าง Macro ของ Access 2010 หลักการคือ สร้าง Macro และตั้งชื่อเป็น AutoKeys และ สร้าง Subform เพื่อกำหนด Shortcut และเรียกใช้ฟังก์ชัน Macro หรือเรียกฟังก์ชัน runcode เพื่อเรียกใช้งานฟังก์ชันที่สร้างเอง ให้ทำงาน ก็ได้ ในตัวอย่างนี้ จะเป็นการสร้าง Shortcut คือ Ctrl + K เพื่อให้แสดงข้อมูล ในฟิลด์ถัดไปของตาราง วิธีการ สร้างตารางให้มีข้อมูลและโครงสร้าง ดังภาพ สร้างฟอร์ม และกำหนด Record Source ของฟอร์ม เป็น Table1 ที่สร้างขึ้น เมื่อเวลานำ Textbox มาวาง จะได้กำหนดให้แสดงข้อมูลในฟิลด์ของตารางนี้ได้ สร้างกล่องข้อความ หรือ Textbox และกำหนด Control Source ให้เป็น Field1 (ถ้าไม่กำหนด Control Source ของฟอร์มนี้ เมื่อคลิก Control Source

การเปลี่ยนสีภาพ ด้วย Photoshop CS5

รูปภาพ
การเปลี่ยนสีภาพจากสีน้ำเงิน เป็นสีเหลือง ดังตัวอย่างภาพก่อนเปลี่ยน และหลังเปลี่ยนข้างล่างนี้ การปรับสีสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ Hue/Saturation หรือ อื่น ๆ แต่ในตัวอย่างนี้ ใช้ Channel Mixer ซึ่งได้ผลดี เป็นที่น่าพอใจ วิธีการ นำเข้าภาพที่ต้องการเปลี่ยนสี ไปที่ Image > Adjustment > Channel Mixer... การเปลี่ยนสีของภาพ ในตัวอย่างนี้ จะทำ 2 ครั้งคือ ครั่งแรก ปรับสีแดง ก่อน จากนั้น จึงปรับสีน้ำเงินอีกครั้งหนึ่ง ปรับครั้งที่ 1 ตั้งค่า Output Channel เป็น สีแดง (Red) และปรับค่า Source Channels สีแดง (Red) เป็น +200% และสีเขียว (Green) เป็น +78% ปรับครั้งที่ 2 ตั้งค่า Output Channel เป็นสีน้ำเงิน (Blue) และปรับค่า Source Channels สีแดง (Red) เป็น -144% สีเขียว (Green) เป็น -50% และสีน้ำเงิน เป็น +60% จะได้ภาพตามต้องการ ถ้ายังไม่ถูกใจ สามารถปรับค่าได้ ตามใจชอบ ถ้าต้องการเปลี่ยนสีเฉพาะบางส่วนของภาพ เช่น สีเสื้อ หรือสีหมวก เท่านั้น ก็ให้ Mask หรือเลือกเฉพาะส่วนนั้น ๆ จากนั้น จึงทำการเปลี่ยนสี ก็จะได้ตามต้องการ

การแก้ไขข้อมูลจากหลายตาราง

รูปภาพ
ในกรณีที่ตารางหลักมีแต่ตัวเลข id ซึ่งมีการเชื่อมโยงจากตารางอื่น และต้องการให้ผู้ใช้แก้ไขข้อมูลในตารางหลัก จึงจำเป็นต้องนำข้อมูลจากตารางที่เกี่ยวข้องมาแสดง เพื่อให้ผู้ใช้เลือก และแก้ไขให้ถูกต้อง ในตัวอย่างต่อไปนี้ มีข้อมูล 3 ตาราง โดยมีตารางหลักคือ tblCourseSchedule ซึ่งเชื่อมโยงจาก 2 ตาราง แต่ละตาราง มีข้อมูลดังนี้ ต้องการให้ผู้ใช้แก้ไขข้อมูลในตาราง tblCourseSchedule ซึ่งมีแต่ตัวเลข จำเป็นต้องนำข้อมูลจากตารางอื่นมาแสดงให้เห็น โดยใช้ Listbox แสดงข้อมูลให้เลือก เพื่อแก้ไขอีกทีหนึ่ง หน้าจอ มีดังนี้ หลักการ สร้าง Query โดยใช้ข้อมูลจาก 3 ตาราง เพื่อให้แสดงข้อความของแต่ละ Record ในตาราง tblCourseSchedule สร้าง Listbox โดยกำหนดให้ใช้ Query ที่สร้่าง เป็น Row Source ของ Listbox เมื่อมีการคลิก ให้นำค่าไปไว้ใน Textbox และ Combobox  เมื่อคลิกปุ่มแก้ไข หรือ ลบ ให้ปรับข้อมูลในตาราง tblCourseSchedule ปัญหา           Combobox นำข้อมูลมาจากตาราง tblVenue เพื่อให้ผู้ใช้เลือกสถานที่ การนำชื่อสถานที่มาแสดง ทำอย่างไร จึงจะให้ตรงกับสถานที่ ที่อยู่ใน Listbox ที่ผู้ใช้ระบุว่า

sumproduct() ฟังก์ชันการรวมที่น่าสนใจ

รูปภาพ
SUMPRODUCT เป็นสูตรที่ใช้สำหรับ การหาผลคูณของคอลัมน์ตั้งแต่ 2 คอลัมน์ขึ้นไป และเอาผลที่ได้จากการคูณนั้น มารวมกัน เช่น จากภาพ ถ้าเราไม่ใช้ SUMMPRODUCT หาผลรวมของทั้งหมด เราอาจจะหาผลคูณ ของแต่ละรายการ แล้วนำมารวมกัน เป็นผลรวมทั้งหมด เช่น F3 เขียนสูตร D3*E3, F4เขียนสูตร D4*E4 ไปเรื่อย ๆ ...จากนั้น จึงหาผลรวม เช่น ที่ F8 เขียนสูตรว่า Sum(F3:F6) ก็จะได้ ดังนี้ จะเห็นว่า มีการทำงาน 2 ขั้นตอน คือต้องหาผลคูณก่อน แล้วจึงนำมารวมกันอีกครั้ง  แต่ถ้าใช้สูตร SUMPRODUCT ซึ่งโปรแกรมจะทำงานเช่นเดียวกับข้างต้น คือหาผลคูณแต่ละรายการ และนำผลที่ได้มารวมกัน ข้อแตกต่างคือ ทำเพียงครั้งเดียว และสามารถยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะได้แสดงให้ดูต่อไปว่า ยืดหยุ่นได้อย่างไร ผลที่ได้จากการใช้ SUMPRODUCT ในช่อง F8 มีดังนี้ หลักการ SUMPRODUCT ต้องการข้อมูลที่เป็น array หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นข้อมูลชุดที่ติดต่อกัน เช่นในตัวอย่าง เป็นข้อมูลในคอลัมน์ ถ้ามีมากกว่า 1 คอลัมน์ ข้อมูลนั้น ต้องมีจำนวนเท่ากัน เราสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น โดยการกำหนดเงื่อนไขในแต่ละคอลัมน์ได้ วิธีการ กรอกข้อมูล ดังภาพ ที่ช่

การแปลงคะแนนดิบ เป็นคะแนนที (T-score) ด้วย Excel 2010

รูปภาพ
ทำไมจึงต้องแปลงเป็นคะแนนที ข้อมูลคะแนนดิบที่ได้จากการทดสอบ เป็นคะแนนที่ไม่ค่อยมีความหมายมากนัก เช่น ผู้เรียนสอบได้คะแนนวิชาภาษาไทย 35 คะแนน เราไม่ทราบว่า ผู้เรียนคนอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน ที่เข้าสอบวิชาภาษาไทย ได้คะแนนเท่าไร คะแนนเฉลี่ยของการสอบเป็นอย่างไร ดังนั้น คะแนน 35 คะแนน ไม่สามารถบอกได้ว่า ผู้เรียนคนนี้ เรียนเก่ง หรืออ่อน และโดยเฉพาะ ถ้าเราจะเปรียบเทียบคะแนนระหว่างวิชาภาษาไทย กับวิชาอื่นของผู้เรียนคนนี้ เพื่ออยากรู้ว่า เรียนถนัดวิชาอะไรบ้าง เราก็ไม่สามารถที่จะนำคะแนน 35 ไปเปรียบเทียบกับคะแนนดิบของวิชาอื่น ๆ ได้ เนื่องจาก เราไม่ทราบว่าวิชาเหล่านั้น ผู้เข้าสอบทำข้อสอบได้เป็นอย่างไร ค่าเฉลี่ยของวิชานั้น ๆ เป็นเท่าไร การกระจายของคะแนนเป็นอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องแตกต่างกันอย่างแน่นอน จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เหมือนกับเป็นคนละหน่วยกัน จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องแปลงคะแนนดิบ ให้เป็นคะแนนที (T-score) เพื่อทำให้คะแนนมีความหมายมากขึ้น และอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ วิดีโอสาธิต การแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนที ทำไ