บทความ

มะเขือพวง

รูปภาพ
มะเขือพวง มีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยคือ ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ฝีบวมมีหนอง ผลดิบของมะเขือพวง ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะและช่วยย่อยอาหาร การกินผลมะเขือพวงดิบเป็นอาหาร (เช่น ในเครื่องจิ้มชนิดต่าง ๆ) ก็คงมีสรรพคุณทางยาด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว มะเขือพวงยังเป็นอาหาร รับประทานดิบ ๆ จิ้มน้ำพริก หรือนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง แต่ที่ขึ้นชื่อคงไม่พ้น แกงเนื้อมะเขือพวง และแกงเขียวหวาน มะเขือพวงมีสารอาหารหลายอย่าง เช่น คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล เส้นใยอาหาร ไขมัน โปรตีน วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 โฟเลต วิตามินซี แคลเซี่ยม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แมงกานีส เป็นต้น มะเขือพวงเป็นพืชที่มีอายุยืน ปลูกไว้ 2-3 ต้น จะมีมะเขือพวงไว้กินตลอดปี มะเขือพวงปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด,การปักชำลำต้น,การปักชำราก,การปักชำยอด,การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเน

โฟเลต สารอาหารสำหรับทารกและหญิงมีครรภ์

โฟเลต (Folate) เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำได้ มีในผักสีเขียว folate มาจากภาษาละตินว่า folium หมายถึงใบไม้ โฟเลต นอกจากจะได้จากผักสีเขียวแล้ว ยังมีในอาหารอื่น ๆ อีก เช่น ผลไม้ ถั่ว มะเขือเทศ และน้ำส้ม เป็นต้น โฟเลต ช่วยสังเคราะห์ยีนหรือสารพันธุกรรม (DNA) ให้คงรูปโครโมโซม จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ จึงจำเป็นสำหรับทารกที่กำลังเจริญเติบโต และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคโลหิตจาง และช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด โฟเลตช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยเผาผลาญโปรตีนสำหรับร่างกาย ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยป้องกันความพิการ ไม่สมประกอบ (neural tube defects) ของทารกที่จะเกิดมาดูโลก ความพิการนี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ ในช่วงวันที่ 17-30 หลังการปฏิสนธิ ทำให้เด็กที่ออกมามีลักษณะที่ผิดปกติไปมาก จากเด็กทั่ว ๆ ไป ร่างกายต้องการโฟเลตไม่มากในแต่ละวัน ปกติหน่วยสารอาหารทั่ว ๆ ไป มีหน่วยเป็นมิลิกรัม แต่ ความต้องการโฟเลต มีหน่วยเป็นไมโครกรัม ซึ่งน้อยกว่ามิลิกรัมอยู่ หนึ่งพันเท่า หนึ่งกรัม เท่ากับ หนึ่งล้านไมโครกรัม คณะกรรมการจั

มะเขือ

รูปภาพ
มะเขือ เป็นพืชผักพื้นบ้าน ปลูกง่ายทุกฤดู และมีอายุยืน จึงเหมาะที่จะเป็นพืชสวนครัว เพราะอยู่ได้นาน และนำมารับประทานสดจากต้น อร่อยและได้คุณค่ามากกว่าซื้อที่ตลาด มะเขือ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่า 80 ชนิด โดยเฉพาะในมะเขือ มีสาร phytonutrients ซึ่งเป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่ทรงประสิทธิภาพ โดยทำงานร่วมกับวิตามินและแร่ธาตุ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเรามีความแข็งแกร่งซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายจากโรคร้ายต่าง ๆ ได้ ที่ผิวของมะเขือมี nasuin ซี่งเป็นหนึ่งในจำนวนสารที่ประกอบเป็น photonutrients สาร nasuin ช่วยป้องกัน lipids ที่เยื่อหุ้มสมอง ช่วยป้องกันการโจมตีของอนุมูลอิสระ ทำให้สมองทำงานได้ตามปกติ Nasuin ช่วยกำจัดธาตุเหล็ก (iron) ส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ ถ้าร่างกายมีธาตุเหล็กมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) และเสื่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิด Nasuin ช่วยป้องกันข้อต่อ จากการเข้าทำลายของอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) นอกจากนี้ ในมะเขือยาว มีสารประกอบ phenolic compounds ช่วยลดระดับคอเลสเต

ผักบุ้งจีน (Water Convolvulus หรือ Water Spinach)

รูปภาพ
ผักบุ้งจีนเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยต้านทานโรค วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา คนโบราณบอกว่า กินผักบุ้งแล้วตาหวาน ผักบุ้งจีนอุดมไปด้วย โปแตสเซี่ยม ซึ่งที่มีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย และมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายเราหลายอย่าง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น และนอกจากนี้ ผักบุ้งจีนยังช่วยป้องกันจอตา (Retina) เสื่อมได้ในผู้สูงอายุ การปลูกผักบุ้งจีน ผักบุ้งจีนปลูกง่าย สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่เหมาะสมในการปลูกผักบุ้งจีน คือดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ผักบุ้งจีนชอบชื้นแฉะ ต้องการความชื้นในดินสูงมากอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงที่สูงกว่า 25 องศาเซลเชียส ต้องการแสงแดดเต็มที ซึ่งประเทศไทยสามารถปลูกได้ดีตลอดไป โดยมีวิธีปลูกง่าย ๆ ดังนี้ ขั้นตอนในการปลูก 1. ทำแปลงปลูกผัก ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักใส่ผสมลงไปเพื่อให้ดินร่วนซุย สมบูรณ์ 2. เกลี่ยดินให้เสมอกัน และขีดเป็นแถวๆ ห่างกันประมาณ 12 - 15 ซม. ขวางทางยาวของแปลง 3. นำเมล็ดไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน (ถ้าต้องการให้งอกเร็วให้ต้มน้ำให้เดือดนำไปผสมกับน้ำให้อุณหภูมิอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส นำเมล็ดแช่น้

การปลูกผักสวนครัว ตามฤดูกาล

รูปภาพ
ผักสวนครัว ถ้าปลูกตามฤดูกาล จะได้ผลดี เพื่อให้ได้อุณหภูมิ และน้ำพอเหมาะ พืชบางอย่างต้องการน้ำน้อยและทนร้อน ก็ปลูกในฤดูร้อนได้ พืชบางชนิดต้องการอากาศหนาวจึงจะได้ผลดี พืชผักที่ควรปลูกในฤดูต่าง ๆ มีดังนี้ ผักที่ปลูกได้ตลอดปี ได้แก่ กวางตุ้ง คะน้า ผักตระกูลแตง ผักตระกูลถั่ว ผักตระกูลมะเขือ หอมแดง หอมแบ่ง สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา ผักตำลึง ผักบุ้งไทย กระชาย ข่า ตะไคร้ บัวบก มะแว้ง มะเขือพวง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู เป็นต้น พืชเหล่านี้ปลูกได้ตลอดปี และปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ผักที่ควรปลูกใน ต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ได้แก่ หอมแบ่ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า พริกต่างๆ มะเขือต่างๆ ผักกาดหัว ผักกาดหอม บวบ มะระ ฟักเขียว แฟง แตงกวา ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า ถั่วพู กระเจี้ยบเขียว ผักที่ควรปลูก ปลายฤดูฝน ผักใดที่ปลูกต้นฤดูฝนก็ปลูกได้ผลดีในปลายฤดูฝน ยิ่งกว่านั้นยังปลูกผักฤดูหนาวได้อีกด้วย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร็อคโคลี่ ถั่วลันเตา หอมหัวใหญ่ แครอท แรดิช ผักชี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอมห่อ ข้าวโพดหวาน แตงเท

การรับประทานผัก ให้ปลอดภัย

ผักให้ประโยชน์ต่อร่างกายมาก แต่พบว่าในตลอด มีสารตกค้างมาก ซี่งเกิดจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม ถ้าเกษตรกรใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ จะช่วยลดทั้งเงินลงทุน และความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม เกษตรอินทรียยังไม่แพร่หลายมาก วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการปลูกผักสวนครัวรับประทานเอง จะช่วยลดการซื้อผักจากตลาด ลดการเสี่ยงจากสารพิษลงได้มาก อย่างไรก็ตาม เราคงต้องซื้อผักจากตลาดมารับประทาน เราจึงต้องมีวิธีการลดปริมาณสารพิษในพืชผัก ก่อนการปรุงอาหาร ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ดังนี้ 1. ลอกหรือปอกเปลือก แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72 2. แช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52 3. การใช้ความร้อน ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 48-50 4. แช่น้ำด่างทับทิม นาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด) ผสมน้ำ 4 ลิตร) ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43 5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39 6. แช่น

วิตามินบี

วิตามินบี เป้นกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ ทำหน้าที่หลักในการช่วยในการเผาผลาญอาหาร (metabolism) เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน รวมทั้งช่วยการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร อีกด้วย วิตามินบี เมื่อก่อนคิดกันว่าเป็นวิตามินเดียว หรือ วิตามินซี แต่ ต่อมาพบว่า มันเป็นกลุ่มของวิตามินที่มีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน ที่มักพบว่ามีในอาหารชนิดเดียวกัน วิตามินบีรวม (Vitamin B complex) ประกอบด้วย 8 ชนิดคือ Vitamin B1 (thiamine) Vitamin B2 (riboflavin) Vitamin B3 (niacin or niacinamide) Vitamin B5 (pantothenic acid) Vitamin B6 (pyridoxine, pyridoxal, or pyridoxamine, or pyridoxine hydrochloride) Vitamin B7 (biotin) Vitamin B9 (folic acid) Vitamin B12 (various cobalamins; commonly cyanocobalamin in vitamin supplements) ประโยชน์ของวิตามินบี ช่วยการเผาผลาญอาหารของร่างกายให้ดีขึ้น ช่วยบำรุงผิวหนังและกล้ามเนื้อ ช่วยการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบประสาท ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคโลห