excel คำนวณวันเกษียณ ด้วย Datedif()

วันก่อน มีคนขอให้ช่วยเขียนสูตรสำหรับคำนวณ วันเกษียณ คำนวณอายุ คำนวณจำนวนระยะเวลาที่เหลือก่อนเกษียณ เป็นต้น เขาบอกว่าต้องทำให้กับคุณครูหลายคน คิดด้วยมือไม่ค่อยสะดวก พร้อมทั้งส่งแบบฟอร์มมาให้ด้วย โดยกำหนดวันตัวตั้งเอาไว้ สำหรับการคำนวณด้วย


ผมรับปากว่าจะช่วย พอทำเสร็จคิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ทำหน้าที่บุคลากร หรือเป็นแนวทางในการคำนวณเรื่องของอายุ ก็เลยนำมาไว้ที่นี่ ให้ดาวน์โหลดกัน

การคำนวณอายุ เราใช้ฟังก์ชัน Datedif()

รูปแบบการใช้งาน มีดังนี้
=DATEDIF(Date1, Date2, Interval)
  • Date1 คือ วัน เดือน ปี เริ่มต้น ข้อมูลต้องเป็นวันที่นะครับ เช่น 15/6/2551 ถ้าคำนวณหาอายุ ตัวนี้จะใช้เป็น วัน เดือน ปี เกิด
  • Date2 คือ วัน เดือน ปี สิ้นสุด ถ้าคำนวณอายุ ตัวนี้ก็คือวันที่ในปัจจุบัน ส่วนมากจะใช้ฟังก์ชัน today() แต่ดูให้ดีนะครับ ถ้ากำหนดรูปแบบเป็นแบบตะวันตก ต้องบวกด้วย 543 แต่ถ้า Excel2010 กำหนดรูปแบบวันที่เป็นแบบไทย ปีพุทธศักราช ก็แล้วไป สำหรับในแบบฟอร์ม ใช้วันที่ที่กำหนดในเซลล E2 ก็เลยไม่ต้องวิตกเรื่องนี้ (แนะนำให้ ดาวน์โหลดไฟล์ มาศึกษาดูด้วยก็ดี)
  • Interval เป็นรูปแบบที่ต้องการ เช่น จะให้เป็นปี เป็นเดือน หรือ เป็นวัน ก็ กำหนดที่นี่ เช่น "y" หมายถึง ปี "ym" หมายถึงเศษของเดือนในปีที่เหลือ และ "md" คือ วันที่เหลือจากเศษของเดือน เป็นต้น 
ถ้า Date1 มากกว่า หรือเลย Date2 ฟังก์ชัน DATEDIF() จะแสดงค่าผิดพลาดเป็น #NUM! และถ้าเขียนไม่ถูกรูปแบบวันที่ ไม่ว่าจะเป็น Date1 หรือ Date2 ก็ตามจะเกิดข้อผิดพลาด  #VALUE
 
ค่า Interval ที่ใช้ได้ มีดังนี้
 
ค่าความหมายอธิบาย
mเดือนจำนวนเดือนทั้งหมด ที่มีในระหว่างวันที่ ที่กำหนด
dวันจำนวนวันทั้งหมด ที่มีในระหว่างวันที่ ที่กำหนด
yปีจำนวนปีทั้งหมด  ที่มีในระหว่างวันที่ ที่กำหนด
ymเศษเดือนที่เหลือเศษของเดือนที่เหลือไม่ถึงปี
ydเศษวันที่เหลือปีเศษของวันที่เหลือไม่ถึงปี (เอาเศษเดือนมาคิดเป็นวัน)
mdเศษวันที่เหลือเดือนเศษของวันที่เหลือไม่ถึงเดือน

ถ้าไม่ใช่รูปแบบที่กำหนดข้างต้น ฟังก์ชันจะแสดงค่าผิดพลาดเป็น  #NUM

ค่า Interval ถ้าใส่โดยตรง ต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูด เช่น

=DATEDIF(Date1,Date2,"m")

แต่ถ้าอ้างอิงมาจากเซลล์อื่น ก็ไม่ต้องมีเครื่องหมายคำพูด เช่น

=DATEDIF(Date1,Date2,A1)

ในแบบฟอร์ม ใน Sheet2 บอกว่า ขอให้เอาข้อมูลมารวมกันในเซลล์เดียว ดังนั้นจึงต้องมีการรวม วัน เดือน ปี ที่คำนวณได้มาไว้ในเซลล์เดียวกัน โดยใช้เครื่องหมาย & เชื่อม เช่น

=DATEDIF(A1,B1,"y") & " ปี " & DATEDIF(A1,B1,"ym") & " เดือน "& DATEDIF(A1,B1,"md") & " วัน"

ซึ่งจะแสดง ดังนี้ เช่น   12 ปี 8  เดือน 14 วัน

ลองดาวน์โหลด แล้วศึกษาดูนะครับ

อ้างอิง
http://www.cpearson.com/excel/datedif.aspx

 

ความคิดเห็น

  1. ดิฉันเกิด 19 มกราคม 2523
    รับราชการวันที่ 17 ธันวาคม 2558
    ต้องเกษียณวันที่ 30 กันยายน 2583
    ซึ่งคำนวณอายุราชการแล้วจะไม่ถึง 25 ปีเต็ม จะได้เพียง 24 ปี กับอีกประมาณ 9 เดือน กับ 13 วัน ถูกต้องไหมคะ..
    ถ้าเป็นเช่นนี้ แสดงว่าดิฉันจะไม่มีสิทธิ์รับบำนาญใช่หรือไม่คะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่เกี่ยวกันครับ..บำนาญเกียณอายุ 60 ปีก็ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ท่านต้องอยู่ถึง 60 ปีลาออกก่อนไม่ได้เท่านั้นคือไม่ครบ 25 ปี

      ลบ
  2. ให้บันทึกเก็บไว้นะครับ
    มีประโยชน์มาก
    เกษียณแล้วได้อะไรบ้าง


    1)- ไม่เป็นสมาชิก กบข.
    ก): กรณีรับบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ(รวมอายุราชการทวีคูณ)
    กรณีนี้จะได้รับเงินก้อนเดียว
    สิทธิต่าง ๆ ระงับไป ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ
    ข): กรณีรับบำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ เกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี) หาร 50
    กรณีนี้จะได้รับเงินทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต และยังมีสิทธิได้รับ
    1. ค่ารักษาพยาบาลของตนเอง คู่สมรสและบิดามารดา บุตรที่ไร้ความสามารถ ยกเว้นบุตรปกติที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
    2. ค่าเล่าเรียนบุตร เบิกได้ถึงอายุ 25 ปีบริบูรณ์
    3. บำเหน็จดำรงชีพ = เงินบำนาญ x 15 เท่า
    เมื่อเกษียณได้รับเลย 200,000.-฿
    เมื่ออายุครบ 65 ปีขอรับได้อีก 400,000.-฿ รวม 2 ครั้งไม่เกิน 600,000.-฿ แต่ทั้งหมดนี้ไม่เกิน 15 เท่าของเงินบำนาญ
    4. เงินช่วยพิเศษ (ถึงแก่กรรม) = เงินบำนาญ x 3 เท่า
    มอบให้กับผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาหรือทายาทตามกฎหมาย
    5. เงินบำเหน็จตกทอด (ถึงแก่กรรม) = เงินบำนาญ x 30 เท่า – เงินบำเหน็จดำรงชีพที่เบิกไปแล้ว
    มอบให้กับทายาทตามกฎหมายหรือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนา (กรณีที่ไม่มีทายาท)
    และถ้าไม่มีผู้รับให้สิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติลง

    2)- เป็นสมาชิก กบข.
    ก): กรณีรับบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย (เศษเดือนเศษวันเป็นจุดทศนิยม x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ)
    กรณีนี้จะได้รับเงินก้อนเดียว
    สิทธิต่าง ๆ ระงับไป ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ
    ข): กรณีรับบำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ เป็นจุดทศนิยม) หารด้วย 50
    แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน
    กรณีนี้จะได้รับเงินทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต และยังมีสิทธิได้รับสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับบำนาญปกติ

    สมาชิก กบข.แบบ ก.,ข. ยังได้รับเงิน
    1. เงินสะสม + ผลประโยชน์
    2. เงินประเดิม + ผลประโยชน์
    3. เงินชดเชย + ผลประโยชน์
    4. เงินสมทบ + ผลประโยชน์
    ส่วนผู้ที่ลาออกจาก กบข.จะได้เงินสะสมของตนเองคืน

    3)- เงินต่าง ๆ ที่สมัครเป็นสมาชิก
    ก): เงินฌาปนกิจสงเคราะห์
    ข): เงินผลประโยชน์จากหุ้นสหกรณ์
    ค): เงินประกันชีวิตและเงินช่วยเหลือจากสหกรณ์
    กรณีผู้รับบำนาญตายผู้ที่ได้รับคือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาหรือทายาทตามกฎหมาย

    หมายเหตุ
    ทายาทตามกฎหมายได้แก่
    1. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับคนละ 1 ส่วน
    2. สามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับ 1 ส่วน
    3. บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ ได้รับ 1 ส่วน

    ): ประกาศราชการทวีคูณ
    – ช่วงที่ 1 วันที่ 19 ก.ย.49 – 26 ม.ค.50 = 4 เดือน 11 วัน
    – ช่วงที่ 2 วันที่ 20 พ.ค.57 – 1 เม.ย.58 = 11 เดือน 7 วัน
    รวม 2 ช่วง = 15 เดือน 18 วัน

    ตอบลบ
  3. ขอถามหน่อยครับ ผมทำงานเอกชน เกิด 30 พย. 04 เท่ากับสิ้นปี 2559 ครบเกษียณไหมครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์