บทความ

การใช้ if ตรวจสอบหลายเงื่อนไข ใน Excel

รูปภาพ
การใช้ฟังก์ชัน If ของ Excel ตรวจสอบหลายเงื่อนไข  มีรูปแบบ ดังนี้            If( condition, value_if_true, value_if_false ) เราสามารถตรวจสอบหลายเงื่อนไข โดยการเพิ่ม if เข้าในส่วนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข เช่น             If( condition, value_if_true, If( condition, value_if_true, value_if_false ) ) ตัวอย่าง             =IF(MID(A1,1,3)="นาย","นาย",IF(MID(A1,1,3)="นาง","นาง","")) ถ้ามีการตรวจสอบหลายครั้ง การใช้ฟังก์ชัน if จะไม่ค่อยสะดวก เพราะตรวจสอบยากมาก เนื่องจากข้อความที่เขียนจะยาวมาก ต้องตรวจสอบหลายครั้งกว่าที่จะทำได้ถูกต้อง ทางออกอย่างหนึ่งที่ง่ายกว่า คือการใช้ VBA ช่วย โดยสร้างฟังก์ชันขึ้นใช้เอง และใช้ if หรือ Select caseตรวจสอบเงื่อนไข จะทำให้สะดวกกว่า เช่น     if (เงื่อนไขที่ 1) then         ..............................     elseif (เงื่อนไขที่ 2) then         ..............................     elseif (เงื่อนไขที่ 3) then         ...............................     elseif (เงื่อนไขที่ 4) then         ............

การแยกคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุล ไว้คนละเซลล์ ด้วย Excel VBA

รูปภาพ
ใน Excel ถ้าต้องการแยกคำนำหน้าชื่อ ชื่อจริง และนามสกุล ออกจากกัน ถ้าจะใช้สูตรที่มีในแผ่นงานของ Excel ก็ต้องสร้างเงื่อนไขจำนวนมาก ซึ่งไม่สะดวก เพราะคำนำหน้าชื่อของไทยมีจำนวนมาก เช่น นาย นาง ด.ช., ม.ล., ดร. เป็นต้น และถ้ายิ่งมีการใช้ยศทหาร ตำรวจด้วยแล้ว การตรวจสอบด้วยเงื่อนไขจากสูตร จะทำได้ไม่สะดวกเลย อย่างนี้ จำเป็นต้องใช้ VBA ช่วย จะสามารถทำได้สะดวกมากกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องมีเงื่อนไขว่า ชื่อและนามสกุลต้องเขียนแยกกัน โดยมีช่องว่าง เพราะใน VBA ข้างล่างนี้ ใช้ช่องว่างเป็นหลักในการแยกชื่อ และนามสกุล ตัวอย่าง ให้ท่านแยกคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุล จากข้อมูลข้างล่างนี้ ออกเป็นคนละเซลล์กัน วิธีการ มีดังนี้ เปิดหน้าต่าง VBA ของ Excel โดยกดปุ่ม Alt + F11 ไปที่เมนู Insert > Module (แทรก > โมดูล) คลิกที่ Module1 และพิมพ์โค้ดข้างล่างนี้ Function getTitle(thisFullName As String) As String Dim Titles As Variant Dim myCount As Integer ' สร้างตัวแปร Array ชื่อ Titles เพื่อเก็บคำนำหน้าชื่อ สามารถเพิ่มได้อีกไม่จำกัด ' ต้องให้ นางสาว มาก่อน นาง มิฉะนั้นจะตรวจสอบนางสา

การใช้ INDEX และ MATCH ของ Excel

รูปภาพ
INDEX ใช้สำหรับแสดงข้อมูล ในช่วงที่ระบุ MATCH ใช้ค้นหาตำแหน่ง ในช่วงข้อมูลที่ระบุ ตามเงื่อนไขที่กำหนด รูปแบบการใช้ INDEX( array, row_num, [ column_num ] )      array  คือช่วงข้อมูลที่กำหนด      row_num คือ ตำแหน่งเริ่มต้นลงมากี่แถว ในช่วงที่กำหนด      column_num คือ ตำแหน่งถัดเข้าไปกี่คอลัมน์ ในช่วงที่กำหนด MATCH( lookup_value, lookup_array, match_type )      lookup_value คือ ข้อมูลที่ต้องการค้นหา      lookup_array คือ ช่วงข้อมูลที่กำหนดให้ค้นหาภายในนี้      match_type คือ ลักษณะการค้นหา มีค่าได้ 3 ค่า คือ 0, +1 และ -1           ถ้าเป็น 0 หมายถึงต้องเหมือนกับข้อมูลที่ต้องการค้นหา           ถ้าเป็น +1 หมายถึง ให้หาข้อมูลที่มากที่สุด ซี่งน้อยกว่าหรือเท่ากับข้อมูลที่กำหนด และต้องเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก เช่น -2 -1 0 1 2 3 หรือ ก - ฮ หรือ A-Z           ถ้าเป็น -1  ให้หาข้อมูลที่น้อยน้อยที่สุด ซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับข้อมูลที่กำหนด และต้องเรียงข้อมูลจากมากไปหาน้อย      เมื่อนำมาใช้ด้วยกัน ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ โดยการหาตำแหน่ง ด้วย MATCH เสียก่อน จากนั้น จึงนำมาแสดงด้วยค

การใช้คำสั่ง OFFSET ของ Excel กำหนดช่วงข้อมูล

รูปภาพ
OFFSET ใช้กำหนดช่วงข้อมูล โดยใช้ร่วมกับสูตรอื่น ๆ ที่ต้องการช่วงของข้อมูล จะมีประโยชน์มากในกรณีที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง และไม่ทราบว่ามีความยาวเท่าไร รูปแบบ OFFSET( reference,rows,cols,height,width) reference: คือตำแหน่งที่ใช้อ้างอิง เสมือนหนึ่งปักหมุดแล้วใช้อ้างอิงจากจุดนี้ไป rows: คือตำแหน่งเริ่มต้นช่วงข้อมูลว่า จะอยู่เหนือ หรือต่ำกว่าจุดอ้างอิง จำนวนกี่แถว ถ้าเป็น + คือต่ำกว่า และค่าเป็น - คือตำแหน่งที่อยู่เหนือขึ้นไป cols คือตำแหน่งเริ่มต้นช่วงข้อมูลว่าจะเริ่มห่างจากจุดอ้างอิงไปทางซ้าย หรือทางขวา กี่คอลัมน์ ถ้าเป็น + คือทางขวา และค่าเป็น - คือทางซ้าย height: ช่วงความสูง คือจำนวนแถวว่าจะให้มีความสูงในส่วนที่เลือกกี่แถว width: ช่วงความกว้างของบริเวณที่จะเลือกว่าจะให้กว้างกี่คอลัมน์ ตัวอย่าง ให้หาผลรวมของจำนวนข้างล่างนี้ โดยกำหนดให้สามารถเพิ่มข้อมูลได้อีก และให้ปรับผลรวมโดยอัตโนมัติ จากภาพ เซลล์ C2 คือผลรวมของตัวเลขในเซลล์ C4 ถึง C6 และถ้ามีการเพิ่มข้อมูลในเซลล์ C7 C8 หรือ C9 ก็ให้ปรับผลรวมโดยอัตโนมัติ วิธีการ ต้องใช้คำสั่ง OFFSET เพื่อกำหนดช่วงให้รวมข้อมูลด้วยค

SUBSTITUTE และ REPLACE ใน Excel

รูปภาพ
SUBSTITURE และ REPLACE ของ Excel ใช้แทนที่ข้อความเหมือนกัน ต่างกันที่ ถ้าเราทราบตำแหน่งของข้อความเดิมที่จะไปแทนที่ ให้ใช้ Replace แต่ถ้าเราไม่ทราบตำแหน่ง ให้ใช้ Substitute รูปแบบการใช้งาน SUBSTITUTE(text, "old_text", "new_text", instance_num)    text:  ตำแหน่งข้อความที่จะนำมาเปลี่ยน เช่น A1    old_text: ข้อความเดิมที่ต้องการจะเปลี่ยน    new_text:  ข้อความที่ต้องการให้เปลี่ยนเป็นข้อความนี้    instance_num:  ระบุจำนวนครั้งของข้อความที่เกิดขึ้นในข้อความที่จะนำมาเปลี่ยน ที่ต้องการเปลี่ยน (งง เหมือนกัน อ่านต่ออีกซักหน่อยนะครับ)  ถ้าไม่ระบุ Excel จะเปลี่ยนข้อความนั้น ๆ ทีมีอยู่ในข้อความทุกครั้ง เช่น ข้อความเดิมคือ 24122341225 ถ้าต้องการเปลี่ยนเลข 41 เป็น 55 จะมีการเปลี่ยน 2 ครั้ง เพราะหมายเลข 41 มีปรากฏในข้อความที่ระบุ 2 ครั้ง คือ ปราฏครั้งที่ 1 ตำแหน่งที่ 2 และ ปรากฏครั้งที่ 2 ตำแหน่งที่ 7 (ดังนี้ 2 41 223 41 225) ดังนั้น ถ้าไม่ระบุ instance_num โปรแกรม Excel จะระบุให้ทั้ง 2 แห่ง แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนเฉพาะ แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนเฉพาะแห่งแรก ต้องระบุเป็น 1 เพราะเท่าก

SUMPRODUCT

รูปภาพ
เมื่อต้องการหาผลรวมของรายการหลายรายการ โดยมีเงื่อนไขหลายเงื่อนไข ให้ใช้ สูตร SUMPRODUCT เช่น ต้องการหาผลรวมการขายของพนักงาน ตามข้อมูลข้างล่างนี้ จะเห็นว่า สุดาขายสินค้าหลายอย่าง แต่เราต้องการทราบเฉพาะจานเท่านั้น ดังนั้น ในกรณีนี้ จะมี 2 เงื่อนไข คือ ชื่อ และสินค้า แล้วให้นำเงินที่ขายได้มารวมกัน ในเซลล์ D12 ให้เขียนสูตร ดังนี้ =SUMPRODUCT(--(B2:B9="สุดา"),--(C2:C9="จาน"),D2:D9) ข้อความ --(B2:B9="สุดา") จะได้ผลเป็น 0 ถ้าช่วงที่กำหนดไม่มีคำว่า "สุดา" และ เป็น 1 ถ้ามีคำว่า "สุดา" ข้อความ --(C2:C9="จาน")จะได้ผลเป็น 0 ถ้าช่วงที่กำหนดไม่มีคำว่า "จาน" และ เป็น 1 ถ้ามีคำว่า "จาน" ส่วน D2:D9 คือค่าที่จะให้นำมารวมกัน ผลที่ออกมาจะได้ ดังภาพ ในกรณีที่มีการระบุจำนวนสินค้า และราคาสินค้าด้วย ดังภาพข้างล่างนี้ จะเห็นว่า สุดา ขายจานได้ 5 ใบวันที่ 1/4/2555 และ ขายได้อีก 8 ใบ เมื่อวันที่ 6/4/2555 จานราคาใบละ 20 บาท ดังนั้น การคำนวณ จึงต้องเอาจำนวนที่ขายได้ ไปคูณกับราคาแต่ละชิ้น แล้วจึงนำไปบวกกันอีกที ลัก

การวิเคราะห์ข้อสอบ ด้วย Excel 2010

ครูกับข้อสอบเป็นของคู่กัน ครูดีต้องรู้จักการวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อให้ได้ข้อสอบที่ดี และถ้าวิเคราะห์แล้วเก็บข้อสอบที่ดี ๆ ไว้ใช้งาน ก็จะทำให้ประหยัดได้ทั้งเวลา มีข้อสอบที่ดีให้เลือกใช้ได้อย่างรวดเร็ว การวิเคราะห์ข้อสอบ เป็นกระบวนการหาคุณภาพของข้อสอบ โดยการพิจารณาเป็นรายข้อ ว่า ข้อสอบแต่ละข้อที่ออกนั้นมีความยากง่าย และสามารถแยกแยะนักเรียนอ่อนออกจากนักเรียนเก่งได้มากเพียงใด ข้อสอบที่มีค่าความยากมาก ๆ หรือง่ายมาก ๆ เป็นข้อสอบที่ไม่ควรนำมาใช้งาน หรือข้อสอบที่เด็กอ่อนตอบถูกกันมาก แต่เด็กเก่งตอบผิดกันมาก เรียกว่าไม่มีค่าอำนาจจำแนก ข้อสอบประเภทนี้ก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน ส่วนคุณภาพของข้อสอบทั้งฉบับต้องพิจารณา ความเชื่อมั่น ( reliability ) ความเที่ยงตรง ( validity ) ความเทียงตรง ( validity ) เป็นการตรวจสอบว่า ข้อสอบมีความสมบูรณ์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาหลักสูตร ครอบคลุมทุกจุดประสงค์หรือไม่ ซึ่งอาจจะใช้ผู้รู้ หรือครูที่สอนวิชานั้น ๆ มาช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหา จัดทำเป็นผังข้อสอบ สำหรับการนำไปออกข้อสอบ และเมื่อได้ข้อสอบแล้วก็มาช่วยกันวิเคราะห์ว่า ข้อสอบนั้น ๆ เป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่อย่างไร ส่วนคว