ประโยชน์ของ คาร์บอนไดออกไซด์ ต่อชีวิตมนุษย์

ดูจากชื่อเรื่อง เหมือนกับจะขัดกับความจริง แต่เป็นความจริง  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีประโยชน์ต่อชีวิตของมนุษย์ จริง ๆ

โดยสรุป ประโยชน์ของ คาร์บอนไดออกไซด์ คือ ช่วยให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดปล่อยก๊าซออกซิเจน ให้เซลล์ในร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้

โดยธรรมชาติ การทำงานของเซลล์ในร่างกายจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่นเดียวกับการจุดไฟ แล้วจะเกิดควันไฟ ซึ่งก็เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ร่างกายผลิตออกมาจะทำปฏิกริยากับน้ำ เกิดเป็นกรดคาบอริค ความเป็นกรด จะทำให้ค่า PH ของเลือด ลดต่ำลง เมื่อค่า PH ลดลง ก็จะทำให้ความสามารถในการจับยึดก๊าซออกซิเจน (Affinity) ของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดลดลง เป็นผลให้ออกซิเจนที่มากับฮีโมโกลบิน ถูกปล่อยออกไปให้เซลล์ได้นำไปใช้งาน ต่าง ๆ แล้วแต่ว่า เซลล์นั้น ๆ จะมีหน้าที่ทำอะไร

สมการ ที่คาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกริยากับน้ำ เกิดเป็นกรด คือ
H2CO3 คือกรดคาร์บอนิค ซึ่งทำให้ค่า PH ของเลือด ลดต่ำลง

การออกกำลัง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อในส่วนที่เกี่ยวข้องทำงานมากขึ้น ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น  และในขณะเดียวกันก็ต้องการออกซิเจนในการทำงานมากขึ้นด้วย เมื่อเลือดพาออกซิเจนมาถึง พบว่าเซลล์มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ค่า PH ของเลือดต่ำกว่าระดับปกติ จึงปล่อยออกซิเจนให้เชลล์ที่ทำงานมากตามไปด้วย ในขณะเดียวกัน ก็นำพาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลับไปที่หัวใจ เพื่อส่งต่อไปที่ปอด เพื่อหายใจออก และรับออกซิเจนเข้ามาใหม่

นี่เป็นระบบมหัศจรรย์ของร่างกาย ที่ทำให้ร่างกายส่งออกซิเจนไปให้เซลล์อย่างถูกต้อง ส่วนไหนต้องการออกซิเจนมาก ก็ส่งไปมาก และทำงานอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนถ่ายระหว่างก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่พูดถึงนี้ เป็นกฎของบอร์ หรือที่เรียกว่า Bohr Effect ซึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายระหว่างก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในระดับเซลล์

นอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนถ่ายระหว่างก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ อุณหภูมิ อุณหภูมิสูง จะทำให้ฮีโมโกลบินปล่อยก๊าซออกซิเจนมากขึ้น

ร่างกายมนุษย์เป็นเครื่องจักรมหัศจรรย์ จริง ๆ


อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=-rCpkvE7uzo
https://www.youtube.com/watch?v=K_bkjbtzdAw
https://www.youtube.com/watch?v=HYbvwMSzqdY
http://health.howstuffworks.com/human-body/systems/circulatory/blood1.htm
http://www.austincc.edu/emeyerth/bohr.htm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์