บทความ

การเปลี่ยนพื้นหลังของภาพ

รูปภาพ
ภาพถ่ายบางครั้งเราต้องการเปลี่ยนพื้นหลัง หรือใช้ลายใหม่สำหรับพื้นหลังเสียใหม่ ในตัวอย่างนี้ เป็นการใช้โปรแกรม Photoshop เปลี่ยนพื้นหลังของภาพ ตัวอย่างภาพ ก่อน และ เปลี่ยนพื้นเป็นสีเขียวอ่อนแล้ว วิธีการ นำภาพเข้าโปรแกรม ใช้ Quick Selection Tool เลือกบริเวณตัวดอกกระเจี๊ยบ เมื่อใช้ Quick Selection Tool จะมีปุ่ม สำหรับให้ปรับแต่งขอบบริเวณที่เลือก ปุ่มนี้คือ Refine Edge ให้คลิกที่ปุ่มนี้ ใช้แปรง คลิกและลากไปบริเวณขอบของภาพ และส่งออกเป็นอีกชั้นหนึ่ง พร้อมทั้งมี Mask เมื่อคลิกปุ่ม OK กลับมาที่ภาพเดิม ให้สร้างชั้นใหม่ และเปลี่ยนสีหน้า หรือ Foreground color เป็นสีเขียวอ่อน หรือสีอื่นที่ต้องการ ใช้ถังสี หรือ Bucket Tool เทสีลงที่ชั้นที่สร้างใหม่ ลากชั้นที่สร้างใหม่มาวางไว้ที่ใต้ชั้นภาพ จะได้สีพื้นหลังใหม่บนภาพเดิม ดูรายละเอียดวิธีเปลี่ยนสีพื้นหลัง ได้จาก วิดีโอ ข้างล่างนี้

การสร้างลายผ้า ด้วย Photoshop

รูปภาพ
วันก่อน ไปสอน Photoshop ให้กับโรงงาน Textile แห่งหนึ่งที่ อ.บ้านโป่ง เรื่องการใช้ Photoshop ในการตกแต่งภาพ และการสร้างลายผ้า การสร้างลายผ้าด้วย Photoshop สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น ใช้ Texture ที่มีมาให้ในโปรแกรม Photoshop โดยไปที่ เมนู Filter > Filter gallery ... ใช้ Plug-in สร้างลาย โปรแกรม Plug-in มีทั้งของฟรี และมีจำหน่าย ซื้อหามาใช้งานได้ ที่เป็นของฟรีที่เห็นว่าดี มีอยู่ที่ VanDeLee.com เป็นลายพรางตัวของทหาร สามารถปรับเปลี่ยนลักษณะลายได้หลายอย่าง ตามต้องการ โปรแกรมเมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว ให้ติดตั้งไว้ในห้อง Plugin ของ Photoshop จะสามารถเรียกใช้งานได้จากเมนู Filter ใช้ Pattern เพื่อสร้างลาย สามารถดาวน์โหลด Pattern สำหรับสร้างลายผ้า Textile ได้จากอินเทอร์เน็ต เช่น ที่ www.free4photoshop.com ลายที่ดาวน์โหลดมา มีข้อจำกัดเกี่ยวกับขนาด ไม่สามารถขยายลายให้ใหญ่ตามต้องการได้ เนื่องจากเป็นภาพ Bitmap ถ้าขยายให้ใหญ่จะทำให้ภาพไม่คมชัดอย่างไรก็ตาม มีลายผ้าขายบนอินเทอร์เน็ต สามารถซื้อหามาใช้งานได้ ใช้ภาพสร้างลายด้วยตนเอง วิธีนี้ จะสามารถสร้างลายที่มีขนาดเหมาะสม ตามต้องการได้ ใช้ Shape ที

การตกแต่งภาพถ่าย ด้วย Photoshop CS5

รูปภาพ
ถ้าถ่ายภาพมาแล้ว ภาพดำไป หรือมืดไปบางส่วน เราสามารถใช้ Photoshop ตกแต่งให้ดีขึ้นได้ ในตัวอย่าง นำภาพถ่ายของลูกสาว เรียนจบ มหิดล นำมาตกแต่งให้สวยงามขึ้น ดังภาพ เทคนิคการแต่งภาพนี้ ใช้ Layer Adjustments ร่วมกับ Mask เพื่อปรับภาพเฉพาะภาพคน ส่วน Backgroun ยังคงเหมือนเดิม โดยปกติ Layer Adjustments จะปรับทั้ง Layer แต่เราทำ Mask เอาไว้ จึงทำให้เห็นบางส่วน และไม่เห็นบางส่วน การใช้ Layer Adjustments มีข้อดีอย่างหนึ่งคือ ภาพในชั้นต้นฉบับจะไม่ถูกเปลี่ยน และสามารถเพิ่ม Effects ได้หลายอย่าง เมื่อปิดโปรแกรมไปแล้ว เปิดขึ้นมาใหม่ ก็ยังสามารถปรับแต่งได้ ดีกว่าการใช้ Image > Adjustments ขั้นตอน มีดังนี้ นำภาพเข้า คัดลอกภาพไปอีกชั้นหนึ่ง และที่ชั้นใหม่ ใช้ Quick Selection Tool เลือกบริเวณที่ต้องการแต่ง เปลี่ยน บริเวณที่เลือกให้เป็น Mask ใช้ Levels และ Channel Mixer ปรับความสว่าง และสีของภาพ ดูวิธีการตกแต่งภาพถ่าย จากวิดีโอข้างล่างนี้

น้ำผึ้ง อบเชย

น้ำผึ้งผสมอบเชย Honey and Cinnamon เร็ว ๆ นี้ ผมได้รับเมล์ เรื่องน้ำผึ้ง อ่านดูก็ดีเหมือนกันนะครับ ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น นะครับ น้ำผึ้งเป็นอาหารเพียงชนิดเดียวในโลกนี้ที่ไม่เสียหรือบูดเน่า จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล แท้จริงแล้วน้ำผึ้งแท้ก็คือน้ำผึ้งแท้อยู่วันยังค่ำ อย่างไรก็ตามถ้าปล่อยทิ้งไว้ในที่มืดนานๆมันจะตกผลึก ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ให้นำขวดน้ำผึ้งแช่ในน้ำร้อน ปล่อยให้ค่อยๆเย็นลงจนกลายเป็นของเหลว มันก็จะกลับคืนสู้สภาพเดิม อย่านำเข้าตู้ไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะจะทำลายเอ็มไซม์ในน้ำผึ้ง น้ำผึ้งกับอบเชย กล้ากล่าวได้ว่าบริษัทยาทั้งหลายไม่ชอบใจแน่ๆ การค้นพบข้อเท็จจริงของส่วนผสมน้ำผึ้งกับอบเชยสามารถรักษาโรคได้เป็นส่วนมาก น้ำผึ้งสามารถผลิตได้ทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังยอมรับว่าเป็น “Ram Ban” (มีประสิทธิผลมาก)ในการรักษาโรคนานาชนิด น้ำผึ้งสามารถใช้ได้โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ปัจจุบันวิทยาศาสตร์กล่าวว่าแม้น้ำผึ้งจะมีรสหวาน ถ้ารับประทานในปริมาณที่เหมาะสมก็จะเป็นยาชนิดหนึ่ง ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยเบาหวาน หนังสือ World Weekly News ของแคนนาดา ประจำวันที่ 17 มกราคม 1995 ได้บอกถึงสรรพคุณ

ความดันโลหิตสูง คืออะไร

รูปภาพ
ความดันโลหิตสูง คืออะไร ค่าความดันโลหิตที่วัดโดยทั่วไป จะมี 2 ค่า คือ ความดันโลหิตค่าบน (systemic blood pressure) ซึ่งได้จากการวัดความดันโลหิต ขณะหัวใจบีบตัวสูบฉีดโลหิตเข้าสู่หัวใจ ค่าปกติของความดันโลหิต คือ ค่าบนควรน้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตค่าล่าง (diastolic blood pressure) ซึ่งวัดขณะที่หัวใจเกิดการคลายตัว เพื่อรับโลหิตเข้าสู่หัวใจ ค่าความดันโบหิตตัวล่าง ควรน้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หากค่าความดันโลหิต มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะถูกจัดเป็นกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังพบว่า ความเสี่ยงในการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น สัมพันธ์โดยตรงกับตัวเลขความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น สาเหตุของความดันโลหิต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 90 เชื่อว่าเกิดจากปัจจัย ใหญ่ คือ กรรมพันธ์ พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่า ผู้ที่บิดามารดา ไม่เป็น ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดา เป็นความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยง ที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นคว

การใช้สูตร SUMIFS ของ Excel 2007, 2010

รูปภาพ
สูตร SUMIFS เป็นสูตรใหม่ เพิ่งมีครั้งแรกใน Excel 2007 สูตรนี้ ใช้เหมือนกับสูตร sumproduct ใน Excel 2003 แต่ใช้ง่ายกว่า สูตร SUMIFS เป็นการรวมโดยมีเงื่อนไขมากกว่า 1 เงื่อนไข คือให้มีเงื่อนไขที่จะทดสอบได้ ตั้งแต่ 2-127 เงื่อนไขทีเดียว (ถ้ามีเพียงเงื่อนไขเดียว ก็ใช้ SUMIF ธรรมดา ที่ไม่มี S นะครับ) ดูวิดีโอการใช้สูตร SUMIFS() ในกรณีใดบ้างที่เราต้องใช้การรวมหลายเงื่อนไข เช่น ต้องการรวมเงินของพนักงานขาย ที่ขายสินค้าหลายชนิด เราต้องการหาผลรวมการขายสินค้าแต่ละชนิด ของพนักงานแต่ละคน ในกรณีนี้ จะเห็นว่า มีเงื่อนไขอยู่ 2 เงื่อนไข คือ พนักงาน และ สินค้า นั่นคือ มีพนักงานอยู่หลายคน เงื่อนไขว่า จะให้รวมเงินของพนักงานคนไหน และ เงื่อนไขที่สองคือ สินค้ามีหลายชนิดต้องทราบผลรวมเงินของสินค้าชนิดไหน ส่วนสิ่งที่จะให้นำมารวมกัน ก็คือเงินที่พนักงานคนนั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) ขายสินค้านั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) นั่นเอง รูปแบบการใช้สูตร SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criteria1, [criteria_range2,criteria2], …) sum_range     คือช่วงของข้อมูลที่จะให้นำมารวมกัน ถ้าเป็นกรณีข้างต้น ก็คือ ให้รวม

COUNT() COUNTA() และ COUNTBLANK() ใน Excel 2010

รูปภาพ
สูตรการนับจำนวน ของ Excel คือ COUNT(), COUNTA() และ COUNTBLANK() โดยสรุป COUNT() นับจำนวนเซลล์ที่มีข้อมูลที่เป็นตัวเลข ในช่วงเซลล์ที่ระบุ (รวมทั้งวันที่ด้วย เพราะวันที่เก็บในรูปตัวเลข)ไม่นับเซลล์ที่ไม่มีข้อมูล หรือเซลล์ที่มีข้อผิดพลาดจากการใช้สูตร เช่น #N/A หรือ #NAME? เป็นต้น COUNTA() นับจำนวนเซลล์ที่มีข้อมูล ในช่วงเซลล์ที่ระบุ โดยไม่นับเซลล์ที่ไม่มีข้อมูล COUNTBLANK() นับจำนวนเซลล์ที่ไม่มีข้อมูล ในช่วงเซลล์ที่ระบุ ดูวิดีโอ เรื่อง count() countif() และ countblank() ตัวอย่าง COUNT() ใช้นับจำนวนเซลล์ที่มีข้อมูลที่เป็นตัวเลข ได้แก่ ตัวเลข วันที่ จะไม่นับเซลล์ที่มีข้อความ เซลล์ว่าง หรือ เซลล์ที่มีค่าผิดพลาด รูปแบบการใช้คือ COUNT(value1,value2,value3, ... ) สามารถใส่ได้สูงสุดถึง 255 ช่วงข้อมูล โดยแต่ละช่วง ให้คั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า ตัวอย่างภาพข้างบน นับจำนวนในช่วง A1 ถึง A20 และ B1 ถึง B20 ขอให้สังเกตว่า ไม่นับเซลล์ที่เป็นข้อความ หรือข้อผิดพลาด  การเขียนสูตรในเซลล์ ต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ เช่น ถ้าต้องการเขียนสูตรที่เซลล์ E4 ให้เขียนด