ความดันโลหิตสูง คืออะไร

ความดันโลหิตสูง คืออะไร
ค่าความดันโลหิตที่วัดโดยทั่วไป จะมี 2 ค่า คือ
  1. ความดันโลหิตค่าบน (systemic blood pressure) ซึ่งได้จากการวัดความดันโลหิต ขณะหัวใจบีบตัวสูบฉีดโลหิตเข้าสู่หัวใจ ค่าปกติของความดันโลหิต
    คือ ค่าบนควรน้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท
  2. ความดันโลหิตค่าล่าง (diastolic blood pressure) ซึ่งวัดขณะที่หัวใจเกิดการคลายตัว เพื่อรับโลหิตเข้าสู่หัวใจ ค่าความดันโบหิตตัวล่าง ควรน้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
หากค่าความดันโลหิต มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะถูกจัดเป็นกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังพบว่า ความเสี่ยงในการเกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น สัมพันธ์โดยตรงกับตัวเลขความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น

สาเหตุของความดันโลหิต
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 90 เชื่อว่าเกิดจากปัจจัย ใหญ่ คือ
    1. กรรมพันธ์ พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่า ผู้ที่บิดามารดา ไม่เป็น ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดา เป็นความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยง ที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง เมื่ออายุมากขึ้น ๆ
    2. สิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ภาวะเครียด เป็นต้น
  2. ความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ พบได้ ประมาณ ร้อยละ 10 โดยเกิดจากความผิดปกติของไต หัวใจ และหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
การรักษาความดันโลหิตสูง
  1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
    คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง วิถีการดำเนินชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
    ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
    1. ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ท่านจะไม่จัดว่าอ้วน แต่การลดอาหารประเภทไขมัน ก็เป็นสิ่งที่ดี
      - หลีกเลี่ยง หรือลดการใช้เนย ไขมัน และน้ำมัน ในการปรุงอาหาร
      - หลีกเลี่ยงอาหารทอด ให้รับประทานอาหารประเภท อบ นึ่ง ต้ม แทน รับประทานอาหารประเภท ผัก ถั่ว ผลไม้ ให้มากกขึ้น
      - หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ดื่มน้ำ กาแฟที่ไม่มีครเฟอีน นมพร่องไขมัน และน้ำผลไม้
    2. รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด จำกัดเกลือ รับประทานเกลือแางไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา (6 กรัม)
    3. หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด หากเป็นไปได้ พยายามเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ที่จะทำให้เครียดทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน พยายามตอบสนองอย่างมีสติ และนุ่มนวลต่อสภาพที่เครียด ซึ่งท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือหลีกเลี่ยงได้
    4. หยุดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งในปอด อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูงได้ บุหรี่ทำให้เกิดการทำลาย และส่งเสริมการหดตัว ของหลายหลอดเลือด ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต
    5. งด หรือ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ควรงด หรือดื่มในปริมาณน้อย เช่น ในวันหนึ่ง ๆ ไม่ควรดื่มสุราเกิน 60  ลบ.ซม. เบียร์ 720 ลบ.ซม. ไวน์ 240 ลบ.ซม.
    6. ควรออกกำลังกายแต่พอประมาณ การเดินวันละ 20-30 นาที จะช่วยท่านลดน้ำหนักได้ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และป้องกันโรคของหลอดเลือดได้ การเริ่มออกกำลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน
    7. รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ยาชนิดใด ที่ทำให้ท่านรู้สูกไม่สบาย ควรแจ้งให้แพทย์ของท่านทราบทันที เพราะท่านอาจต้องการยาในขนาดที่ลดลง หรือเปลี่ยนยา รบประทานยาให้สม่ำเสมอ จนกว่าแพทย์จะบอกให้หยุด
  2. การรักษาด้วยยา
    ปัจจุบันมียาลดความดันโลหิตอยู่หลายชนิด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาแต่ละชนิด ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย


ที่มา
แผ่นปลิว จัดทำโดย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลโพธาราม 2554

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์