พระราชบัญญ้ติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๒)

เพื่อเป็นการเตรียมตัวสอบ ก.พ. ภาค ก. ในเรื่องการเป็นข้าราชการที่ดี จึงได้นำเอา พระราชบัญญ้ติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๒) มาลงไว้ อีกทั้งยังเป็นเรื่อง ที่ประชาชนทั่วไป ควรรู้ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน

พระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙

(ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๖๐ ก/หน้า ๑/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙)
-----------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑ ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่สมควรมีกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม หรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ไม่ตํ่ากว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในพระราชบัญญัตินี้

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอน และระยะเวลาอุทธรณ์ หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย

มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่

(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี

(๒) องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ

(๓) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ในงานทางนโยบายโดยตรง

(๔) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล และการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์

(๕) การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา

(๖) การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ

(๗) การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหาร หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการ ร่วมกับทหารในการป้องกัน และรักษาความมั่นคง ของราชอาณาจักร จากภัยคุกคำมทั้งภายนอก และภายในประเทศ

(๘) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

(๙) การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนา

การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการใด หรือกับหน่วยงานใด นอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการ ของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครอง ตามพระราชบัญญัตินี้

“การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

“คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวร หรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติ ท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่น ที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

“คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ที่มีการจัดองค์กร และวิธีพิจารณา สำหรับการวินิจฉัย ชี้ขาด สิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมาย

“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจ หรือได้รับมอบ ให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ หรือไม่ก็ตาม

“คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ยื่นคำขอ หรือผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับ หรือจะอยู่ในบังคับ ของคำสั่งทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจากสิทธิของผู้นั้น จะถูกกระทบกระเทือน จากผลของคำสั่งทางปกครอง

มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ ออกกฎกระทรวงและประกาศ เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
---------

มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการ คณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ

ให้คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่งตั้งจาก ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ผู้นั้นต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๘ ให้กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง คราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้น ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่

มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ตามมาตรา ๘ กรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่ง เมื่อคณะรัฐมนตรี มีมติให้ออก หรือเมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา ๗๖

มาตรา ๑๐ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษา หาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงาน ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

มาตรา ๑๑ คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) สอดส่องดูแล และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัตินี้

(๒) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่บุคคลดังกล่าว ร้องขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนด

(๓) มีหนังสือเรียกให้เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นใด มาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบ การพิจารณาได้

(๔) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกา และการออกกฎกระทรวง หรือประกาศ ตามพระราชบัญญัตินี้

(๕) จัดทำรายงาน เกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัตินี้ เสนอคณะรัฐมนตรี เป็นครั้งคราว ตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติราชการทางปกครอง ให้เป็นไปโดยมีความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

(๖) เรื่องอื่น ตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

หมวด ๒
คำสั่งทางปกครอง
---------
ส่วนที่ ๑
เจ้าหน้าที่
--------

มาตรา ๑๒ คำสั่งทางปกครอง จะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น

มาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้

(๑) เป็นคู่กรณีเอง

(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี

(๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น

(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้แทน หรือตัวแทนของคู่กรณี

(๔) เป็นเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี

(๖) กรณีอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๔ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๓ หรือคู่กรณีคัดค้านว่า เจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็นบุคคล ตามมาตรา ๑๓ ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น หยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตน ขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อที่ผู้บังคับบัญขาดังกล่าวจะได้มีคำสั่งต่อไป

การยื่นคำคัดค้าน การพิจารณาคำคัดค้าน และการสั่งให้เจ้าหน้าที่อื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่ แทนผู้ที่ถูกคัดค้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๕ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๓ หรือคู่กรณีคัดค้านว่ากรรมการในคณะกรรมการ ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองคณะใด มีลักษณะดังกล่าว ให้ประธานกรรมการเรียกประชุม คณะกรรมการเพื่อพิจารณาเหตุคัดค้านนั้น ในการประชุมดังกล่าว กรรมการผู้ถูกคัดค้านเมื่อได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และตอบข้อซักถามแล้ว ต้องออกจากที่ประชุม

ถ้าคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองคณะใด มีผู้ถูกคัดค้านในระหว่างที่กรรมการผู้ถูกคัดค้าน ต้องออกจากที่ประชุม ให้ถือว่าคณะกรรมการคณะนั้น ประกอบด้วยกรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน

ถ้าที่ประชุม มีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้าน ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสามของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน ก็ให้กรรมการผู้นั้น ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ มติดังกล่าว ให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ และให้เป็นที่สุด

การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๖ ในกรณีมีเหตุอื่นใด นอกจากที่บัญญัติไวิในมาตรา ๑๓ เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการในคณะกรรมการ ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้ การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้น จะทำการพิจารณาทางปกครอง ในเรื่องนั้นไม่ได้

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการ ดังนี้

(๑) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน และแจ้งให้ ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง หรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี

(๒) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่า ตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทำการพิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง หรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี

(๓) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ซึ่งผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่ มีคำสั่ง หรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอำนาจในการพิจารณา ทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคสอง และมาตรา ๑๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๗ การกระทำใด ๆ ของเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการในคณะกรรมการ ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ที่ได้กระทำไปก่อนหยุดการพิจารณาตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ ย่อมไม่เสียไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่ ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ถูกคัดค้าน หรือคณะกรรมการที่มีอำนาจ พิจารณาทางปกครอง แล้วแต่กรณี จะเห็นสมควรดำเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดเสียใหม่ก็ได้

มาตรา ๑๘ บทบัญญัติมาตรา ๑๓ ถึงมาตรา ๑๖ ไม่ให้นำมาใช้บังคับกับกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้ล่าช้าไป จะเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ หรือสิทธิของบุคคล จะเสียหายโดยไม่มีทางแก้ไขได้ หรือไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้นได้

มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฏภายหลังว่า เจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการ ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองใด ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม หรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใด ที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่

มาตรา ๒๐ ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง ตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจกำกับหรือควบคุมดูแลสำหรับกรณีของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาโดยตรง และนายกรัฐมนตรีสำหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นรัฐมนตรี

ส่วนที่ ๒
คู่กรณี
------------

มาตรา ๒๑ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณา ทางปกครองได้ตามขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือน หรืออาจถูกกระทบกระเทือน โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

มาตรา ๒๒ ผู้มีความสามารถกระทำการ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้ จะต้องเป็น

(๑) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ

(๒) ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะ กำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

(๓) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา ๒๑ โดยผู้แทนหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี

(๔) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีความสามารถกระทำการ ในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือ ความสามารถถูกจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๒๓ ในการพิจารณาทางปกครอง ที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินำทนายความ หรือที่ปรึกษาของตนเข้ามา ในการพิจารณาทางปกครองได้

การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษา ได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณี ให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น

มาตรา ๒๔ คู่กรณีอาจมีหนังสือแต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งบรรลุนิติภาวะกระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนด แทนตน ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองใด ๆ ได้ ในการนี้ เจ้าหน้าที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาทางปกครอง กับตัวคู่กรณี ได้เฉพาะเมื่อเป็นเรื่องที่ผู้นั้นมีหน้าที่ โดยตรง ที่จะต้องทำการนั้นด้วยตนเอง และต้องแจ้งให้ผู้ได้รับการแต่งตั้ง ให้กระทำการแทนทราบด้วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งให้กระทำการแทนผู้ใด ไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น เพียงพอ หรือมีเหตุไม่ควรไว้วางใจในความสามารถ ของบุคคลดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้คู่กรณีทราบ โดยไม่ชักช้า

การแต่งตั้งให้กระทำการแทนไม่ถือว่าสิ้นสุดลง เพราะความตายของคู่กรณีหรือการที่ ความสามารถหรือความเป็นผู้แทนของคู่กรณี เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ผู้สืบสิทธิตามกฎหมาย ของคู่กรณีหรือคู่กรณี จะถอนการแต่งตั้งดังกล่าว

มาตรา ๒๔ ในกรณีที่มีการยื่นคำขอ โดยมีผู้ลงชื่อร่วมกันเกินห้าสิบคน หรือมีคู่กรณี เกินห้าสิบคน ยื่นคำขอที่มีข้อความอย่างเดียวกัน หรือทำนองเดียวกัน ถ้าในคำขอมีการระบุ ให้บุคคลใดเป็นตัวแทน ของบุคคลดังกล่าว หรือมีข้อความเป็นปริยายให้เข้าใจได้เช่นนั้น ให้ถือว่า ผู้ที่ถูกระบุชื่อดังกล่าว เป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณีเหล่านั้น

ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคน ยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครอง ในเรื่องเดียวกัน โดยไม่มี การกำหนดให้บุคคลใดเป็นตัวแทนร่วมของตน ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคล ที่คู่กรณีฝ่ายข้างมาก เห็นขอบเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว ในกรณีนี้ให้นำมาตรา ๒๔ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ตัวแทนร่วมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องเป็นบุคคลธรรมดา

คู่กรณีจะบอกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตน เมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือ แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ และดำเนินการใด ๆ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองต่อไป ด้วยตนเอง

ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ กับต้องแจ้งให้คู่กรณีทุกรายทราบด้วย

ส่วนที่ ๓
การพิจารณา
------------

มาตรา ๒๖ เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีนี้ ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าว ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ในวันที่เจ้าหน้าที่ ได้รับคำแปลนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่ จะยอมรับเอกสาร ที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ ให้ถือว่า วันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ เป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสาร ดังกล่าว

การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทย หรือการยอมรับเอกสาร ที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๗ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง ให้คู่กรณีทราบตามความจําเป็นแก่กรณี

เมื่อมีผู้ยื่นคําขอเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีคําสั่งทางปกครอง ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับคําขอ ที่จะต้องดําเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ของคําขอ และความครบถ้วนของเอกสาร บรรดาที่มีกฎหมาย หรือกฎกําหนดให้ต้องยื่นมาพร้อมกับคําขอ หากคําขอไม่ถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวแนะนําให้แก่ผู้ยื่นคําขอ ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้อง และหากมีเอกสารใด ไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้แก่ผู้ยื่นคําขอทราบทันที หรือภายในไม่เกินเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอ ในการแจ้งดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ ทําเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของผู้รับคําขอ และระบุรายการเอกสาร ที่ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ครบถ้วนให้ผู้ยื่นคําขอทราบ พร้อมทั้งบันทึกการแจ้งดังกล่าว ไว้ในกระบวนพิจารณาจัดทําคําสั่งทางปกครองนั้นด้วย

เมื่อผู้ยื่นคําขอได้แก้ไขคําขอ หรือจัดส่งเอกสารตามที่ระบุ ในการแจ้งตามวรรคสองครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่จะปฏิเสธไม่ดําเนินการตามคําขอ เพราะเหตุยังขาดเอกสารอีกมิได้ เว้นแต่มีความจําเป็นเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือกฎ และได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งตามมาตรา ๒๐ ในกรณีเช่นนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยพลัน หากเห็นว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ ให้ดําเนินการทางวินัยต่อไป

ผู้ยื่นคําขอต้องดําเนินการแก้ไข หรือส่งเอกสารเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ เจ้าหน้าที่กําหนด หรือภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ขยายออกไป เมื่อพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากผู้ยื่นคําขอไม่แก้ไข หรือส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอ ไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการตามคําขอต่อไป ในกรณีเช่นนั้น ให้เจ้าหน้าที่ส่งเอกสารคืนให้ผู้ยื่นคําขอ พร้อมทั้งแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคําขอทราบ และบันทึกการดําเนินการดังกล่าวไว้
[มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗]

มาตรา ๒๘ ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอ หรือพยานหลักฐานของคู่กรณี

มาตรา ๒๙ เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐาน ที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง ในการนี้ให้รวมถึงการดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

(๒) รับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของคู่กรณี หรือของพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง เว้นแต่เจ้าหน้าที่เห็นว่า เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จำเป็น ฟุ่มเฟือย หรือเพื่อประวิงเวลา

(๓) ขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากคู่กรณี พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ

(๔) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง

(๕) ออกไปตรวจสถานที่

คู่กรณีต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีหน้าที่ แจ้งพยานหลักฐาน ที่ตนทราบแก่เจ้าหน้าที่

พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ ที่เจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำ หรือทำความเห็นมีสิทธิได้รับ ค่าป่วยการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๐ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครอง อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้ คู่กรณีมีโอกาส ที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตน

ความในวรรคหนึ่ง มิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติ เป็นอย่างอื่น

(๑) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไป จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ

(๒) เมื่อจะมีผลทำให้ ระยะเวลาที่กฎหมาย หรือกฎกำหนดไว้ ในการทำคำสั่งทางปกครอง ต้องล่าข้าออกไป

(๓) เมื่อเป็นข้อเท็จจริง ที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลง

(๔) เมื่อโดยสภาพ เห็นได้ชัดในตัวว่า การให้โอกาสดังกล่าว ไม่อาจกระทำได้

(๕) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง

(๖) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อประโยชน์สาธารณะ

มาตรา ๓๑ คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสาร ที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณี ไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสาร อันเป็นต้นร่างคำวินิจฉัย

การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทำสำเนาเอกสาร ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๒ เจ้าหน้าที่ อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสาร หรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ

มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวก แก่ประชาชน ความประหยัด และความมีประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานของรัฐ ให้คณะรัฐมนตรี วางระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ กำหนดเวลา สำหรับการพิจารณาทางปกครอง ขึ้นไว้ตามความเหมาะสมแก่กรณี ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับกฎหมาย หรือกฎในเรื่องนั้น

ในกรณีที่การดำเนินงานในเรื่องใด จะต้องผ่านการพิจารณา ของเจ้าหน้าที่มากกว่าหนึ่งราย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ต้องประสานงานกัน ในการกำหนดเวลา เพื่อการดำเนินงานในเรื่องนั้น

ส่วนที่ ๔
รูปแบบและผลของคำสังทางปกครอง
------------

มาตรา ๓๔ คำสั่งทางปกครอง อาจทำเป็นหนังสือ หรือวาจา หรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความ หรือความหมายที่ชัดเจน เพียงพอที่จะเข้าใจได้

มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครอง เป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอ ได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควร ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าที่ ผู้ออกคำสั่ง ต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ

มาตรา ๓๖ คำสั่งทางปกครอง ที่ทำเป็นหนังสือ อย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือน และปี ที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่ง ของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ ผู้ทำคำสั่งนั้น

มาตรา ๓๗ คำสั่งทางปกครอง ที่ทำเป็นหนังสือ และการยืนยันคำสั่งทางปกครอง เป็นหนังสือ ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้น อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

(๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง

(๓) ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ

นายกรัฐมนตรี หรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย อาจประกาศในราชกิจจาบุเบกษา กำหนดให้คำสั่งทางปกครอง กรณีหนึ่งกรณีใด ต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งนั้นเอง หรือในเอกสาร แนบท้ายคำสั่งนั้นก็ได้

บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

(๑) เป็นกรณีที่มีผลตรงตามคำขอ และไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น

(๒) เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องระบุอีก

(๓) เป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ ตามมาตรา ๓๒

(๔) เป็นการออกคำสั่งทางปกครองด้วยวาจา หรือเป็นกรณีเร่งด่วน แต่ต้องให้เหตุผล เป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควร หากผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งนั้นร้องขอ

มาตรา ๓๘ บทบัญญัติตามมาตรา ๓๖ และมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับ คำสั่งทางปกครอง ที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๙ การออกคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมาย จะกำหนดข้อจำกัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น

การกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึง การกำหนดเงื่อนไขในกรณี ดังต่อไปนี้ ตามความเหมาะสม แก่กรณีด้วย

(๑) การกำหนดให้สิทธิ หรือภาระหน้าที่เริ่มมีผล หรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

(๒) การกำหนดให้การเริ่มมีผล หรือสิ้นผลของสิทธิ หรือภาระหน้าที่ ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน

(๓) ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครอง

(๔) การกำหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ ต้องกระทำ หรืองดเว้นกระทำ หรือต้องมีภาระหน้าที่ หรือยอมรับภาระหน้าที่ หรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกำหนดข้อความในการจัดให้มี เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มข้อกำหนดดังกล่าว

มาตรา ๓๙/๑ การออกคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือในเรื่องใด หากมิได้มีกฎหมาย หรือกฎกำหนดระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้เป็นประการอื่น ให้เจ้าหน้าที่ ออกคำสั่งทางปกครองนั้นให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ และเอกสารถูกต้องครบถ้วน

ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ขั้นเหนือขึ้นไปของเจ้าหน้าที่ ที่จะกำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง
[มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗]

มาตรา ๔๐ คำสั่งทางปกครอง ที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้งต่อไปได้ ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์ หรือการโต้แย้ง ดังกล่าวไว้ด้วย

ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์ หรือการโต้แย้ง เริ่มนับใหม่ ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่ และระยะเวลาดังกล่าว มีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง

มาตรา ๔๑ คำสั่งทางปกครอง ที่ออกโดยการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์

(๑) การออกคำสั่งทางปกครอง โดยยังไม่มีผู้ยื่นคำขอ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเองไม่ได้ นอกจากจะมีผู้ยื่นคำขอ ถ้าต่อมาในภายหลังได้มีการยื่นคำขอเช่นนั้นแล้ว

(๒) คำสั่งทางปกครอง ที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าว ในภายหลัง

(๓) การรับฟังคู่กรณี ที่จำเป็นต้องกระทำ ได้ดำเนินการมาโดยไม่สมบูรณ์ ถ้าได้มีการรับฟัง ให้สมบูรณ์ในภายหลัง

(๔) คำสั่งทางปกครอง ที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่น ให้ความเห็นชอบก่อน ถ้าเจ้าหน้าที่นั้น ได้ให้ความเห็นชอบในภายหลัง

เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่ง ทางปกครอง ประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิม ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น บันทึกข้อเท็จจริง และความประสงค์ ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิม และต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตน ให้คู่กรณีทราบด้วย

กรณีตาม (๒) (๓) และ (๔) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ ตามส่วนที่ ๔ ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีที่ ไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าว ก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครอง ไปสู่การพิจารณา ของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้อง ของคำสั่งทางปกครองนั้น

มาตรา ๔๒ คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคล ตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป

คำสั่งทางปกครอง ย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอน หรือสิ้นผลลง โดยเงื่อนเวลา หรือโดยเหตุอื่น

เมื่อคำสั่งทางปกครองสิ้นผลลง ให้เจ้าหน้าที่ มีอำนาจเรียกผู้ซึ่งครอบครองเอกสาร หรือวัตถุอื่นใด ที่ได้จัดทำขึ้น เนื่องในการมีคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ซึ่งมีข้อความ หรือเครื่องหมาย แสดงถึง การมีอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้น ให้ส่งคืนสิ่งนั้น หรือให้นำสิ่งของดังกล่าว อันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้นั้น มาให้เจ้าหน้าที่ จัดทำเครื่องหมายแสดงการสิ้นผล ของคำสั่งทางปกครองดังกล่าวได้

มาตรา ๔๓ คำสั่งทางปกครอง ที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลงเล็กน้อยนั้น เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติม ได้เสมอ

ในการแก้ไขเพิ่มเติม คำสั่งทางปกครองตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ตามควรแก่กรณี ในการนี้เจ้าหน้าที่ อาจเรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดส่งคำสั่งทางปกครอง เอกสารหรือวัตถุอื่นใด ที่ได้จัดทำขึ้น เนื่องในการมีคำสั่งทางปกครองดังกล่าว มาเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมได้

ส่วนที่ ๕
การอุทธรณ์คำสังทางปกครอง
------------

มาตรา ๔๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๘ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใด ไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมาย กำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ ภายในฝ่ายปกครอง ไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์ คำสั่งทางปกครองนั้น โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว

คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ โดยระบุข้อโต้แย้ง และข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่อ้างอิง ประกอบด้วย

การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา ๖๓/๒ วรรคหนึ่ง
[แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒]

มาตรา ๔๕ ให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง พิจารณาคำอุทธรณ์ และแจ้งผู้อุทธรณ์ โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลง คำสั่งทางปกครอง ตามความเห็นของตน ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย

ถ้าเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ให้เร่งรายงานความเห็น พร้อมเหตุผลไปยัง ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตน ได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจำเป็น ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจ พิจารณาอุทธรณ์ มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ ก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ให้ขยาย ระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว

เจ้าหน้าที่ผู้ใด จะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง

บทบัญญัติมาตรานี้ ไม่ใช้กับกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๔๖ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณา ทบทวนคำสั่งทางปกครองได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสม ของการทำคำสั่งทางปกครอง และอาจมีคำสั่งเพิกถอน คำสั่งทางปกครองเดิม หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้น ไปในทางใด ทั้งนี้ไม่ว่า จะเป็นการเพิ่มภาระ หรือลดภาระ หรือใช้ดุลพินิจแทน ในเรื่องความเหมาะสมของการทำคำสั่ง ทางปกครอง หรือมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้

มาตรา ๔๗ การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น สำหรับกระบวนการพิจารณา ให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ หมวด ๒ นี้ เท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับกฎหมายดังกล่าว

มาตรา ๔๘ คำสั่งทางปกครอง ของบรรดาคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ ให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้ง ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วย คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ทั้งในปัญหา ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าว เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท สิทธิการอุทธรณ์ และกำหนดเวลาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติ ในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนที่ ๖
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
------------

มาตรา ๔๙ เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชา ของเจ้าหน้าที่ อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ ตามหลักเกณฑในมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์ หรือให้โต้แย้ง ตามกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นมาแล้วหรือไม่

การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ ต้องกระทำภายใน เก้าสิบวัน นับแต่ได้รู้ถึงเหตุ ที่จะให้เพิกถอน คำสั่งทางปกครองนั้น เว้นแต่คำสั่งทางปกครองจะได้ ทำขึ้นเพราะการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือการข่มขู่ หรือการชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ที่มิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๕๐ คำสั่งทางปกครอง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคต ไปถึงขณะใดขณะหนึ่ง ตามที่กำหนดได้ แต่ถ้าคำสั่งนั้น เป็นคำสั่งซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การเพิกถอน ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒

มาตรา ๕๑ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้เงิน หรือให้ทรัพย์สิน หรือให้ประโยชน์ ที่อาจแบ่งแยกได้ ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริต ของผู้รับประโยชน์ ในความคงอยู่ ของคำสั่งทางปกครองนั้น กับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน

ความเชื่อโดยสุจริตตามวรรคหนึ่ง จะได้รับความคุ้มครอง ต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครอง ได้ใช้ประโยชน์ อันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง หรือได้ดำเนินการ เกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้ว โดยไม่อาจ แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หรือการเปลี่ยนแปลง จะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี

ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้รับคำสั่งทางปกครอง จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้

(๑) ผู้นั้นได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สิน หรือให้ประโยชน์อื่นใด ที่มิชอบด้วยกฎหมาย

(๒) ผู้นั้นได้ให้ข้อความ ซึ่งไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนในสาระสำคัญ

(๓) ผู้นั้นได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของคำสั่งทางปกครอง ในขณะได้รับคำสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้น เป็นไปโดยความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง

ในกรณีที่เพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง การคืนเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ไป ให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยลาภมิควรได้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยถ้าเมื่อใด ผู้รับคำสั่งทางปกครอง ได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของคำสั่งทางปกครอง หรือควรได้รู้เช่นนั้น หากผู้นั้นมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ถือว่าผู้นั้นตกอยู่ในฐานะไม่สุจริต ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป และในกรณีตามวรรคสาม ผู้นั้นต้องรับผิดในการคืนเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ที่ได้รับไปเต็มจำนวน

มาตรา ๕๒ คำสั่งทางปกครอง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๕๑ อาจถูกเพิกถอน ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ แต่ผู้ใด้รับผลกระทบ จากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าว มีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องจากความเชื่อโดยสุจริต ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองได้ และให้นำความในมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แต่ต้องร้องขอค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น

ค่าทดแทนความเสียหายตามมาตรานี้ จะต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ผู้นั้นอาจได้รับ หากคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ไม่ถูกเพิกถอน

มาตรา ๕๓ คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง อาจถูกเพิกถอนทั้งหมด หรือบางส่วน โดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคต ไปถึงขณะใดขณะหนึ่ง ตามที่กำหนดได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่คงต้องทำคำสั่งทางปกครอง ที่มีเนื้อหา ทำนองเดียวกันนั้นอีก หรือเป็นกรณีที่การเพิกถอน ไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุอื่น ทั้งนี้ให้คำนึง ถึงประโยชน์ของบุคคลภายนอกประกอบด้วย

คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง อาจถูกเพิกถอน ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคตไปถึง ขณะใดขณะหนึ่ง ตามที่กำหนดได้ เฉพาะเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้

(๑) มีกฎหมายกำหนดให้เพิกถอนได้ หรือมีข้อสงวนสิทธิ ให้เพิกถอนได้ในคำสั่งทางปกครองนั้นเอง

(๒) คำสั่งทางปกครองนั้น มีข้อกำหนดให้ผู้รับประโยชน์ ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการปฏิบัติภายในเวลาที่กำหนด

(๓) ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เช่นนี้ ในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้ว เจ้าหน้าที่คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น และหากไม่เพิกถอน จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้

(๔) บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมายเช่นนี้ ในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้ว เจ้าหน้าที่คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น แต่การเพิกถอนในกรณีนี้ ให้กระทำได้ เท่าที่ผู้รับประโยชน์ ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือยังไม่ได้รับประโยชน์ ตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว และหากไม่เพิกถอน จะก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อประโยชน์สาธารณะได้

(๔) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อประโยชน์สาธารณะ หรือต่อประชาชน อันจำเป็นต้องป้องกัน หรือขจัดเหตุดังกล่าว

ในกรณีที่มีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เพราะเหตุตามวรรคสอง (๓) (๔) และ (๕) ผู้ได้รับประโยชน์มีสิทธิ ได้รับค่าทดแทนความเสียหาย อันเกิดจากความเชื่อโดยสุจริต ในความคงอยู่ ของคำสั่งทางปกครองได้ และให้นำมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้เงิน หรือให้ทรัพย์สิน หรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ อาจถูกเพิกถอน ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้มีผลย้อนหลัง หรือไม่มีผลย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคต ไปถึงขณะใดขณะหนึ่ง ตามที่กำหนดได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) มิได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติล่าช้า ในอันที่จะดำเนินการ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครอง

(๒) ผู้ได้รับประโยชน์ มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้า ในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไป ตามเงื่อนไขของคำสั่งทางปกครอง

ทั้งนี้ให้นำความในมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๗
การขอให้พิจารณาใหม่
------------

มาตรา ๕๔ เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอน หรือแก้ไขเพิ่มเติม คำสั่งทางปกครอง ที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ ตามส่วนที่ ๕ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริง ที่พีงเป็นยุติแล้วนั้น เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ

(๒) คู่กรณีที่แท้จริง มิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณา ทางปกครอง หรือได้เข้ามา ในกระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้ว แต่ถูกตัดโอกาส โดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วม ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง

(๓) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ ที่จะทำคำสั่งทางปกครอง ในเรื่องนั้น

(๔) ถ้าคำสั่งทางปกครอง ได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายใดและต่อมา ข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายนั้น เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี

การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบถึงเหตุนั้น ในการพิจารณาครั้งที่แล้ว มาก่อน โดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น

การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ต้องกระทำภายในเก้าสิบวัน นับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุ ซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

ส่วนที่ ๘ การบังคับทางปกครอง มาตรา ๕๕ ถึงมาตรา ๖๓ ถูกยกเลิก โดยพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

หมวด ๒/๑
การบังคับทางปกครอง
---------
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป

มาตรา ๖๓/๑ การบังคับทางปกครองไม่ใช้บังคับกับหน่วย งานของรัฐด้วยกัน เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๖๓/๒ เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำ สั่งทางปกครอง มีอำนาจที่จะพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งของตนได้ตามบทบัญญัติในหมวดนี้ เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อน โดยเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นเอง ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ หรือผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองดังกล่าว

เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง จะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ให้เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของคำสั่งทางปกครอง โดยกระทบกระเทือน ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองน้อยที่สุด

มาตรา ๖๓/๓ ถ้าบทกฎหมายใ ด กำหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าการใช้มาตรการบังคับนั้น จะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับ ตามหมวดนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ตามหมวดนี้แทนก็ได้

มาตรา ๖๓/๔ ในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองแก่บุคคลใด หากบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ให้ดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปได้ ถ้าบุคคลนั้นมีทายาทผู้รับมรดก หรือผู้จัดการมรดก ให้ถือว่าทายาทผู้รับมรดก หรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองนั้น

ในกรณีที่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองตาย ให้แจ้งมาตรการบังคับทางปกครอง ไปยังทายาทผู้รับมรดก หรือผู้จัดการมรดก แล้วแต่กรณี โดยให้ระยะเวลาอุทธรณ์การใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เริ่ม นับใหม่ตั้งแต่วันที่ทายาทผู้รับมรดก หรือผู้จัดการมรดกได้รับแจ้ง เมื่อปรากฏว่า

(๑) ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองตายก่อนสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์ การใช้ มาตรการบังคับทางปกครอง และไม่ได้ยื่นอุทธรณ์การใช้มาตรการบังคับทางปกครอง

(๒) ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองตาย หลังสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์การใช้ มาตรการบังคับทางปกครอง และไม่ได้ยื่นอุทธรณ์การใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่จำเป็นอันมิได้เกิดจากความผิดของผู้นั้น

ในกรณีที่เป็นการใช้มาตรการบังคับทางปกครองแก่นิติบุคคลใด หากนิติบุคคลนั้นสิ้นสภาพ โอนกิจการ หรือควบรวมกิจการ ให้ดำเนินการบังคับทางปกครองต่อไปได้ โดยให้แจ้งมาตรการบังคับทางปกครองไปยังผู้ชำระบัญชี หรือนิติบุคคลที่รับโอนกิจการ หรือเกิดจากการควบรวมกิจการ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยไม่จำต้องออกคำสั่งทางปกครองใหม่ แก่บุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวอีก และให้นำหลักเกณฑ์ เรื่องระยะเวลาในการอุทธรณ์ตามวรรคสอง มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๖๓/๕ ในกรณีที่บทบัญญัติในหมวดนี้ หรือกฎหมายอื่น มิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ผู้อยู่ในบัง คับของมาตรการบังคับทางปกครอง อาจอุทธรณ์การใช้มาตรการบังคับทางปกครองนั้นได้

การอุทธรณ์การใช้มาตรการบัง คับทางปกครอง ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการอุทธรณ์ คำสั่ง ทางปกครองตามส่วนที่ ๕ การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ในหมวด ๒ คำสั่ง ทางปกครอง

มาตรา ๖๓/๖ บทบัญญัติในหมวดนี้ มิให้ใช้บังคับกับการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน หรือให้กระทำ หรือละเว้นกระทำ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ฟ้องคดีต่อศาลและศาลได้มีพิพากษาให้ชำระเงิน หรือให้กระทำหรือละเว้นกระทำแล้ว

เมื่อศาลได้รับฟ้องคดี ตามวรรคหนึ่งไว้แล้ว ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามส่วนที่ ๒ การบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน และส่วนที่ ๓ การบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ เว้นแต่จะได้มีการถอนฟ้อง หรือศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความเพราะเหตุอื่น ทั้งนี้ ไม่กระทบต่อการดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไปก่อนที่ศาลได้รับฟ้องคดี และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ตามมาตรการบังคับทางปกครองใน ส่วนนั้น ต่อไปจนแล้วเสร็จ

ส่วนที่ ๒
การบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน
---------
๑. การบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของหน่ว ยงานของรัฐ
---------

มาตรา ๖๓/๗ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้น ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่มีอำนาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้น และขายทอดตลาด เพื่อชำระเงินให้ครบถ้วนได้

ในการใช้มาตรการบังคับ ทางปกครองตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง เพื่อดำเนินการยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินต่อไป

เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง ใช้มาตรการบังคับทางปกครอง และการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๓/๘ หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ต้องดำเนินการยึดหรือ อายัดทรัพย์สิน ภายในสิบปีนับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน เป็นที่สุด

คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดในกรณีดังต่อไปนี

(๑) ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งต่อเจ้าหน้า ที่ฝ่ายปกครองภายในระยะเวลาอุทธรณ์

(๒) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล ภายในระยะเวลาการฟ้องคดี

(๓) ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษายกฟ้อง หรือเพิกถอนคำสั่ง บางส่วน และคดีถึงที่สุดแล้ว

หากหน่วยงานของรัฐ ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินครบถ้วน และล่วงพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพิ่มเติมอีกมิได้

การขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ซึ่งทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับ ทางปกครองที่ถูกยึดหรืออายัดไว้ภายในกำหนดเวลา ตามวรรคหนึ่ง เพื่อชำระเงิน รวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ในการบังคับทางปกครอง ให้กระทำได้แม้ล่วงพ้นระยะเวลา ดังกล่าว

มาตรา ๖๓/๙ กรณีที่มีการอุทธรณ์การใช้มาตรการบังคับทาง ปกครอง และขอทุเลาการบังคับตามมาตรการดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครอง หรือผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ อาจสั่งให้มีการทุเลาการบังคับทางปกครองไว้ก่อนก็ได้ โดยมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ ผู้อยู่ในบังคับ ของมาตรการบังคับทางปกครอง ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้

มาตรา ๖๓/๑๐ เพื่อประโยชน์ในการบังคับทางปกครอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองมีอำนาจ

(๑) มีหนังสือสอบถามสถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมที่ดิน กรมการขนส่งทางบก กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินที่มีทะเบียน เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับ ทางปกครอง

(๒) มีหนังสือขอให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียนหรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับ ทางปกครอง ไว้เป็นการชั่วคราวเท่าที่จำเป็น เนื่องจากมีเหตุขัดข้อง ที่ทำให้ไม่อาจยึด หรืออายัดทรัพย์สินได้ทันที และเมื่อเหตุขัดข้องสิ้นสุดลงให้แจ้งยกเลิกหนังสือดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการระงับ การจดทะเบียน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

หน่วยงานตาม (๑) ที่ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองในการดำเนินการตาม (๑) ให้ถือว่า ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือของ เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามวรรคหนึ่ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้นั้น มีความผิดฐานขัดคำสั่ง เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๖๓/๑๑ ในการสืบหาทรัพย์สิน ของผู้อยู่ในบังคับของ มาตรการบังคับทางปกครอง หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน อาจร้องขอให้ สำนักงานอัยการสูงสุด หรือหน่วยงานอื่น ดำเนินการสืบหาทรัพย์สินแทนได้ โดยให้หน่วยงานดังกล่าว มีอำนาจตามมาตรา ๖๓/๑๐ ด้วย

ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ไม่มีเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการสืบหาทรัพย์สิน และหากจำนวนเงินที่ต้องชำระ ามมาตรการบังคับทางปกครองนั้น มีมูลค่าตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป หรือตามมูลค่าที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง หน่วยงานของรัฐอาจมอบหมายให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทนได้

ให้เอกชนที่สืบพบทรัพย์สิน ได้รับค่าตอบแทนไม่เกินร้อยละสองครึ่งจากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินที่สืบพบได้ ทั้งนี้ จำนวนเงินค่าตอบแทนสูงสุดต้องไม่เกิน หนึ่งล้านบาท ต่อจำนวนเงินที่ต้องชำระ ตามคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น หรือตามจำนวนที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง

หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเอกชนที่สืบหาทรัพย์สิน การกำหนดค่าตอบแทน และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๓/๑๒ ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่กฎกระทรวงไม่ได้กำหนดเรื่องใดไว้ ให้นำบทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ถือว่า

(๑) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน

(๒) ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หมายถึง ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง

(๓) อำนาจของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๔) เจ้าพนักงานบังคับคดี หมายถึง เจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง

มาตรา ๖๓/๑๓ การโต้แย้งหรือการใช้สิทธิทางศาล เกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง รวมทั้งบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูก ยึดหรืออายัด ให้เสนอต่อศาล ดังต่อไปนี้

(๑) ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากรศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการ ค้าระหว่างประเทศ ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชำนัญพิเศษอื่นแล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ คำสั่งที่มีการบังคับทางปกครองนั้น

(๒) ศาลปกครอง สำหรับกรณีอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับ (๑)

มาตรา ๖๓/๑๔ กรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น ได้มีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องอื่นใด ของผู้อยู่ในบังคับ ของมาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ให้หน่วยงานของรัฐ ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยได้ เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

๒. การบังคับโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
---------

มาตรา ๖๓/๑๕ ในกรณีที่มีการบังคับให้ชำระเงินและคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน เป็นที่สุดแล้ว หากหน่วยงานของรัฐ ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ประสงค์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ในสังกัดกรมบังคับคดีดำเนินการ บังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาล ภายในสิบปี นับแต่วันที่คำสั่งทางปกครอง ที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดี เพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองนั้น โดยระบุจำนวนเงิน ที่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับ ทางปกครองยังมิได้ชำระตามคำสั่งทางปกครอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้บังคับทางปกครอง หรือได้ดำเนินการบังคับทางปกครองแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระเงิน หรือได้รับชำระเงิน ไม่ครบถ้วน

เมื่อหน่วยงานของรัฐยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่ง ทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดแล้ว ให้ศาลออกหมายบังคับคดี ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี และแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป โดยให้ถือว่า หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่ง ให้ชำระเงิน เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และให้ถือว่าผู้อยู่ใน บังคับของมาตรการบังคับทางปกครองเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา

เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐติดต่อกรมบังคับคดี พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ผู้อยู่ในบังคับ ของมาตรการบังคับทางปกครอง ทราบว่าศาลได้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดีแล้ว

เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี หรือศาลแพ่งอื่นในกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ที่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองมีภูมิลำเนา อยู่ในเขตศาล หรือที่ทรัพย์สิน ที่ถูกบังคับทางปกครองนั้น ตั้งอยู่ในเขตศาล มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด หรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี และเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี

กรณีคำขอซึ่งอาจยื่นต่อ ศาลได้มากกว่าหนึ่งศาล ไม่ว่าจะเป็น เพราะภูมิลำเนาของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับ ทางปกครองก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สิน ที่ถูกบังคับทางปกครองก็ดี หรือเพราะมีผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง หลายคนในมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องกันก็ดี จะยื่นคำขอต่อศาลใดศาลหนึ่ง เช่นว่านั้นก็ได้

หน่วยงานของรัฐตามมาตรานี้ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๓/๑๖ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดแล้ว และต่อมาผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ขอให้พิจารณาคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้วนั้นใหม่ หรือฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้พิจารณาเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง ที่เป็นที่สุดแล้วนั้นใหม่ หรือขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ และหน่วยงานของรัฐ ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน หรือศาลมีคำสั่งให้รับคำขอหรือได้รับคำฟ้องไว้พิจารณา ผู้อยู่ใน บังคับของคำสั่งทางปกครองอาจยื่นคำร้องต่อศาล ที่มีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีตามมาตรา ๖๓/๑๕ เพื่อขอให้สั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อน หากศาลพิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้งดการบังคับคดี ให้ศาลส่งคำสั่งนั้น ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ และให้เจ้าพนักงานบังคับคดี งดการบังคับคดีไว้ ภายในระยะเวลา หรือเงื่อนไข ตามที่ศาลกำหนด รวมทั้งส่งคำบอกกล่าวงดการบังคับคดี ให้หน่วยงานของรัฐ ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน และบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสีย ทราบโดยไม่ชักช้า

ถ้าหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ยื่นคำร้องว่า อาจได้รับความเสียหาย จากการยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง และมีพยานหลักฐานเบื้องต้น แสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงการบังคับคดี ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองวางเงิน หรือหาประกันตามที่ศาลเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทน แก่หน่วยงานของรัฐ สำหรับความเสียหายที่อาจได้รับ เนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดจากการยื่นคำร้องนั้น หรือกำหนดวิธีการชั่วคราว เพื่อคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลสั่งให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน หรือศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี เกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ได้มีคำสั่งให้ทบทวนคำสั่งทางปกครอง ที่เป็นที่สุดนั้นใหม่ ให้หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามมาตรา ๖๓/๑๕ เพื่อเพิกถอนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ในกรณีที่ ศาลเห็นว่าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับสู่ฐานะเดิม หรือเมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะบังคับให้เป็นไป ตามหมายบังคับคดีต่อไป เพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอก ให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควร และแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ

มาตรา ๖๓/๑๗ เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดี ให้นำความในมาตรา ๖๓/๑๐ และมาตรา ๖๓/๑๑ มาใช้บังคับกับการสืบหาทรัพย์สิน ของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองด้วย

มาตรา ๖๓/๑๘ หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินต้องดำเนินการสืบทรัพย์แล้วแจ้งให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ เพื่อให้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ภายในสิบปี นับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด และให้นำความในมาตรา ๖๓/๘ วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มิให้นำระยะเวลา ระหว่างการงดการบังคับคดีตามคำสั่งศาลตามมาตรา ๖๓/๑๖ วรรคหนึ่ง มานับรวมในระยะเวลาสิบปีตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๖๓/๑๙ เมื่อศาลออกหมายบังคับคดี และแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว การดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่ง ทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ส่วนที่ ๓
การบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ
---------

มาตรา ๖๓/๒๐ ในส่วนนี้

“ค่าปรับบังคับการ” หมายความว่า ค่าปรับที่เจ้าหน้าที่ สั่งให้ผู้ที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง ที่กำหนดให้กระทำหรือ ละเว้นกระทำ ชำระเป็นรายวัน ไปจนกว่าจะยุติการฝ่าฝืนคำสั่ง หรือได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับ ที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้ หรือโดยกฎหมายอื่น

มาตรา ๖๓/๒๑ คำสั่ง ทางปกครองที่กำหนดให้กระทำ หรือละเว้นกระทำ ถ้า ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมาย ให้บุคคลอื่นกระทำการแทน โดยผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง จะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มรายวัน ในอัตราร้อยละยี่สิบห้าต่อปีของค่าใช้จ่ายดังกล่าว แก่หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัด

(๒) ให้มีการชำระค่าปรับบังคับการตามจำนวนที่สม ควรแก่เหตุแต่ต้องไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อวัน เจ้าหน้าที่ระดับใด มีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ จำนวนเท่าใด สำหรับในกรณีใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะ ต้องบังคับการโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำ ที่ขัดต่อกฎหมาย ที่มีโทษทางอาญา หรือมิให้เกิดความเสียหาย ต่อประโยชน์สาธารณะ เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยไม่ต้องออกคำสั่งทางปกครอง ที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำก่อนก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุ และภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน

มาตรา ๖๓/๒๒ ก่อนใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา ๖๓/๒๑ เจ้าหน้าที่จะต้องมีคำเตือนเป็นหนังสือ ให้มีการกระทำ หรือละเว้นกระทำตามคำสั่งทางปกครอง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามสมควรแก่กรณี คำเตือนดังกล่าว จะกำหนดไปพร้อมกับคำสั่งทางปกครองก็ได้

คำเตือนนั้นจะต้องระบุ

(๑) มาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ให้ชัดแจ้ง แต่จะกำหนดมากกว่าหนึ่งมาตรการในคราวเดียวกันไม่ได้

(๒) ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มรายวัน ในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ ด้วยตนเองหรือ มอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทน หรือจำนวนค่าปรับบังคับการ แล้วแต่กรณี

การกำหนดค่าใช้จ่าย ในคำเตือน ไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจริง มากกว่าที่ได้กำหนดไว้

มาตรา ๖๓/๒๓ เจ้าหน้าที่จะต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ตามที่กำหนดไว้ในคำเตือน ตามมาตรา ๖๓/๒๒ การเปลี่ยนแปลงมาตรการ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่า มาตรการที่กำหนดไว้ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์

ถ้าผู้อยู่ในบังคับของ คำสั่งทางปกครอง ต่อสู้ขัดขวาง การบังคับทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจใช้กำลังเข้าดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครองได้ แต่ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุ

ในการใช้มาตรการ บังคับทางปกครองตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง เจ้าหน้าที่อาจแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจได้

มาตรา ๖๓/๒๔ ในกรณีไม่มีการชำระค่าปรับบังคับการ ค่าใช้จ่าย หรือเงินเพิ่มรายวัน โดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับทางปกครอง ตามส่วนที่ ๒ ต่อไป

มาตรา ๖๓/๒๕ การฟ้องคดี โต้แย้งการบังคับทางปกครองตามส่วนนี้ ให้เสนอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ในการพิจารณาพิพากษาคดี เกี่ยวกับคำสั่งที่มีการบังคับทางปกครองนั้น [หมวด ๒/๑ มาตรา ๖๓/๑ ถึงมาตรา ๖๓/๒๕ แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒]

หมวด ๓
ระยะเวลาและอายุความ
---------

มาตรา ๖๔ กำหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปีนั้น มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้น รวมเข้าด้วย เว้นแต่จะได้เริ่มการในวันนั้น หรือมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยเจ้าหน้าที่

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นับวันสิ้นสุด ของระยะเวลานั้น รวมเข้าด้วย แม้ว่าวันสุดท้าย เป็นวันหยุดทำการงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่บุคคลใด ต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยกฎหมาย หรือโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ถ้าวันสุดท้าย เป็นวันหยุดทำการงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ หรือวันหยุดตามประเพณีของบุคคลผู้รับคำสั่ง ให้ถือว่า ระยะเวลานั้นสิ้นสุด ในวันทำงาน ที่ถัดจากวันหยุดนั้น เว้นแต่กฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ ที่มีคำสั่ง จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๖๔ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในคำสั่งของเจ้าหน้าที่ อาจมีการขยายอีกได้ และถ้าระยะเวลานั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว เจ้าหน้าที่อาจขยาย โดยกำหนดให้มีผลย้อนหลังได้ เช่นกัน ถ้าการสิ้นสุดตามระยะเวลาเดิม จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ที่จะให้สิ้นสุดลงตามนั้น

มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้ใดไม่อาจกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ เพราะมีพฤติการณ์ที่จำเป็น อันมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของผู้นั้น ถ้าผู้นั้นมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจขยายระยะเวลา และดำเนินการส่วนหนึ่งส่วนใด ที่ล่วงมาแล้วเสียใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องยื่น คำขอภายในสิบห้าวัน นับแต่พฤติการณ์เช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง

มาตรา ๖๗ เมื่อมีการอุทธรณ์ตามบทบัญญัติในส่วนที่ ๕ ของหมวด ๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือการยื่นคำขอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมาย ว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้วินิจฉัยขี้ขาดแล้ว ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ ไม่นับในระหว่างนั้น จนกว่าการพิจารณา จะถึงที่สุด หรือเสร็จไปโดยประการอื่น แต่ถ้าเสร็จไป เพราะเหตุถอนคำขอ หรือทิ้งคำขอ ให้ถือว่าอายุความเรียกร้องของผู้ยื่นคำขอ ไม่เคยมีการสะดุดหยุดอยู่เลย

หมวด ๔
การแจ้ง
---------

มาตรา ๖๘ บทบัญญัติในหมวดนี้ มิให้ใช้บังคับกับการแจ้ง ซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจา หรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดวิธีการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น

ในกรณีคำสั่งทางปกครอง ที่แสดงให้ทราบ โดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้มีผลเมื่อได้แจ้ง

มาตรา ๖๙ การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอย่างอื่นที่เจ้าหน้าที่ ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ อาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือ ก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ

การแจ้งเป็นหนังสือ ให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิสำเนาของผู้นั้น ก็ให้ถือว่า ได้รับแจ้งตั้งแต่ในขณะที่ไปถึง

ในการดำเนินการเรื่องใด ที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิสำเนาของผู้นั้นแล้ว

มาตรา ๗๐ การแจ้งเป็นหนังสือ โดยวิธีให้บุคคลนำไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับ หรือถ้าขณะนำไปส่งไม่พบผู้รับ และหากได้ส่งให้กับบุคคลใด ซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้น หรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้น ต่อหน้าเจ้าพนักงาน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ที่ไปเป็นพยาน ก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว

มาตรา ๗๑ การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนด เจ็ดวัน นับแต่วันส่ง สำหรับกรณีภายในประเทศ หรือเมื่อครบกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีการได้รับ หรือได้รับก่อน หรือหลังจากวันนั้น

มาตรา ๗๒ ในกรณีที่มีผู้รับเกินห้าสิบคน เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบตั้งแต่เริ่มดำเนินการ ในเรื่องนั้นว่า การแจ้งต่อบุคคลเหล่านั้น จะกระทำโดยวิธีปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการของเจ้าหน้าที่ และที่ว่าการอำเภอ ที่ผู้รับมีภูมิลำเนาก็ได้ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าได้รับแจ้ง เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้แจ้งโดยวิธีดังกล่าว

มาตรา ๗๓ ในกรณีที่ไม่รู้ตัวผู้รับ หรือรู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลำเนา หรือรู้ตัวและภูมิลำเนา แต่มีผู้รับเกินหนึ่งร้อยคน การแจ้งเป็นหนังสือ จะกระทำโดยการประกาศ ในหนังสือพิมพ์ ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นก็ได้ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าได้รับแจ้ง เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้แจ้ง โดยวิธีดังกล่าว

มาตรา ๗๔ ในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน การแจ้งคำสั่งทางปกครอง จะใช้วิธีส่งทางเครื่องโทรสารก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานการได้ส่ง จากหน่วยงานผู้จัดบริการโทรคมนาคม ที่เป็นสื่อในการ ส่งโทรสารนั้น และต้องจัดส่งคำสั่งทางปกครองตัวจริง โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ตามหมวดนี้ให้แก่ผู้รับในทันที ที่อาจกระทำได้ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้รับได้รับแจ้งคำสั่งทางปกครอง เป็นหนังสือตามวัน เวลา ที่ปรากฏ ในหลักฐาน ของหน่วยงานผู้จัดบริการโทรคมนาคมดังกล่าว เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีการได้รับ หรือได้รับก่อน หรือหลังจากนั้น

หมวด ๕
คณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
---------

มาตรา ๗๕ การแต่งตั้งกรรมการในลักษณะที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคล

มาตรา ๗๖ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๕) ได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษหรือ ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

(๖) มีเหตุต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

มาตรา ๗๗ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งอาจแต่งตั้งผู้อื่น เป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่ง เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้น อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ ของกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว

มาตรา ๗๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๖ การให้กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีมีเหตุบกพร่องอย่างยิ่งต่อหน้าที่ หรือมีความ ประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

มาตรา ๗๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๕ วรรคสอง การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุม อย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกฎ หรือคำสั่ง ที่จัดให้มีคณะกรรมการชุดนั้น จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ในกรณีมีกรรมการครบที่จะเป็นองค์ประชุมได้ แต่การพิจารณาเรื่องใดถ้าต้องเลื่อนมา เพราะไม่ครบองค์ประชุม ถ้าเป็นการประชุม ของคณะกรรมการ ซึ่งมิใซ่คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท หากได้มีการนัดประชุม เรื่องนั้นอีกภายในสิบสี่วัน นับแต่วันนัดประชุมที่เลื่อนมา และการประชุมครั้งหลังนี้ มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม แต่ทั้งนี้ ต้องระบุความประสงค์ ให้เกิดผลตามบทบัญญัตินี้ไว้ในหนังสือ นัดประชุมด้วย

มาตรา ๘๐ การประชุม ให้เป็นไปตามระเบียบการ ที่คณะกรรมการกำหนด

การนัดประชุม ต้องทำเป็นหนังลือ และแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่กรรมการนั้น จะได้ทราบการบอกนัดในที่ประชุมแล้ว กรณีดังกล่าวนี้จะทำหนังสือ แจ้งนัดเฉพาะกรรมการที่ไม่ได้มาประชุมก็ได้

บทบัญญัติในวรรคสอง มิให้นำมาใช้บังคับ ในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งประธานกรรมการ จะนัดประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้

มาตรา ๘๑ ประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการประชุม และเพื่อรักษา ความเรียบร้อยในการประชุม ให้ประธานมีอำนาจออกคำสั่งใด ๆ ตามความจำเป็นได้

ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธาน กรรมการทำหน้าที่แทน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการ หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุม เลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่แทน

ในกรณีที่ประธานกรรมการ มีหน้าที่ต้องดำเนินการใด ๆ นอกจากการดำเนินการประชุม ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๘๒ การลงมติ ของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

กรรมการคนหนึ่ง ให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

เรื่องใดถ้าไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานถามที่ประชุมว่า มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบในเรื่องนั้น

มาตรา ๘๓ ในการประชุม ต้องมีรายงานการประชุมเป็นหนังสือ ถ้ามีความเห็นแย้ง ให้บันทึกความเห็นแย้ง พร้อมทั้งเหตุผลไว้ในรายงานการประชุม และถ้ากรรมการฝ่ายข้างน้อย เสนอความเห็นแย้งเป็นหนังสือ ก็ให้บันทึกความเห็นแย้งนั้นไว้ด้วย

มาตรา ๘๔ คำวินิจฉัยของคณะกรรม การวินิจฉัยข้อพิพาท ต้องมีลายมือชื่อของกรรมการที่วินิจฉัยเรื่องนั้น

ถ้ากรรมการคนใด มีความเห็นแย้ง ให้มีสิทธิทำความเห็นแย้งของตนรวมไว้ในคำวินิจฉัยได้

บทเฉพาะกาล
---------


มาตรา ๘๔ ให้ถือว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นระเบียบที่คณะรัฐมนตรีวางขึ้นตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๘๖ บรรดาคำขอเพื่อให้มีคำสั่งทางปกครอง ที่เจ้าหน้าที่ได้รับไว้ก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ ทำการพิจารณาคำขอดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย หรือกฎ สำหรับเรื่องนั้นได้กำหนดไว้

มาตรา ๘๗ เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว บทบัญญัติมาตรา ๔๘ ให้เป็นอันยกเลิก



ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
    บรรหาร ศิลปอาชา
      นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การดำเนินงานทางปกครอง ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่เหมาะสม จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการดำเนินงาน ทางปกครองขึ้น เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีประสิทธิภาพ ในการใช้บังคับกฎหมาย ให้สามารถรักษาประโยชน์สาธารณะได้ และอำนวยความเป็นธรรม แก่ประชาชน อีกทั้ง ยังเป็นการป้องกัน การทุจริต และประพฤติมิชอบ ในวงราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
(ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ )

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ ในการจัดทำคำสั่งทางปกครอง ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ และอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน อีกทั้ง ยังเป็นการป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
(ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๑๑๕/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ )

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ยังไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ โดยเฉพาะการบังคับ ตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ซึ่งกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนดให้นำวิธีการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงไม่มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติ และระยะเวลาในการบังคับทางปกครองที่ชัดเจน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง ประกอบกับเจ้าหน้าที่ ของหน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่ ไม่มีความเชี่ยวชาญในการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ ในการสืบหาทรัพย์สิน และมอบหมายให้หน่วยงานอื่น หรือเอกชนดำเนินการแทนได้ ส่งผลให้ไม่สามารถบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ที่กำหนดให้ชำระเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรัฐต้องสูญเสียรายได้ในที่สุด ดังนั้น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ ในการบังคับทางปกครอง เพื่อให้ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์