มาตรฐานทางจริยธรรมสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

มาตรฐานทางจริยธรรมสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
-----------
มาตรฐานทางจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับพุทธศักราช ๒๕๔๐ – ฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐)


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ที่ได้มีการบัญญัติเรื่อง คุณธรรมและจริยธรรมไว้ ในฐานะที่เป็นเรื่องสำคัญ โดยมาตรา ๗๗ กำหนดให้ “รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำ มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้าง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่” คณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ มีมติเห็นชอบแผนการ

ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store
  • ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่
  • มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ
  • มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ
  • มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ
  • มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา
คลิกปุ่มข้างล่าง เพื่อไปดาวน์โหลด
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม ในการบริหารภาครัฐ โดยกำหนดให้รัฐจัดทำ “ค่านิยมสร้างสรรค์สำหรับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ” และ ก.พ. ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๓ มีมติเห็นชอบ ให้นำค่านิยมสร้างสรรค์ ไปเป็นแนวทางสำคัญ ในการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ของทุกส่วนราชการ

ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กำหนดค่านิยมสร้างสรรค์ ๕ ประการ ได้แก่

๑. การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง

๒. ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ

๓. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถ ตรวจสอบได้

๔. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม

๕. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

อย่างไรก็ตาม ในมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ก็ยังขาดสภาพบังคับ (Sanction) เพราะไม่มีบทกำหนดโทษว่า หากมีการฝ่าฝืน มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว ผู้กระทำจะต้อง ได้รับโทษอย่างไร อีกทั้ง ไม่ได้กำหนดหน่วยงานที่จะกำกับดูแล การจัดทำประมวลจริยธรรมการคุ้มครองการละเมิดประมวล จริยธรรม รวมถึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึก ด้านจริยธรรมและจิตสำนึกที่ดี ทำให้การขับเคลื่อน ภารกิจด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เท่าที่ควร

เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ จึงได้ กำหนดให้ “มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น...” และมาตรา ๒๘๐ กำหนดให้ “...ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือ ให้ดำแนะนำในการจัดทำ หรือปรับปรุงประมวลจริยธรรม ส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ให้มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม...” และมาตรา ๒๗๙ วรรคสาม กำหนดให้การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือ สภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และหากเป็นการกระทำ ผิดร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ พิจารณาดำเนินการ โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะ ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๗๐” จุดเด่น ที่สำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้วางหลักในการพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้ง บุคคลเข้าสู่ตำแหน่งที่มืส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนดค่านิยมหลัก สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๙ ประการ ดังนี้

๑. การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม

๒. การมืจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ

๓. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่า ประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

๔. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูก กฎหมาย

๕. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มือัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ

๖. การให้ข้อมูลซ่าวสาร แก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง

๗. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

๘. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๙. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ ได้กำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐาน ทางจริยธรรมไว้ ดังนี้

รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐ อย่างอื่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือ และช่วยเหลือกัน ในการปฏิบัติ หน้าที่ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน การจัดทำบริการ สาธารณะ และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการ ประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

รัฐพึงดำเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล ของหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม โดยกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการ ป้องกันมิให้ผู้ใดใช้อำนาจ หรือกระทำการโดยมิชอบที่เป็นการ ก้าวก่าย หรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ หรือกระบวนการ แต่งตั้ง หรือการพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้ หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลัก ในการกำหนดประมวลจริยธรรม สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ตํ่ากว่า มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว

ในมาตรา ๒๕๘ ข. (๔) ได้กำหนด “ให้มีการปรับปรุง และพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐ เพื่อจูงใจให้ผู้มีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง เข้ามาทำงานในหน่วยงานของรัฐ และสามารถเจริญก้าวหน้าไค้ ตามความสามารถและผลสัมฤทธิ์ ของงาน ของแต่ละบุคคล มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว มีความคิดสร้างสรรค์ และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้การปฏิบัติราชการ และการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองป้องกัน บุคคลากรภาครัฐ จากการใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม ของผู้บังคับบัญชา” นอกจากการกำหนดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ยังได้กำหนดไว้ในมาตรา ๒๑๙ “ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน ทางจริยธรรมขึ้นใช้บังคับ แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการ ของศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ทั้งนี้ มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว ต้องครอบคลุมถึงการรักษา เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ และต้องระบุให้ชัดแจ้ง ด้วยว่า การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใด มีลักษณะร้ายแรง”

สำหรับการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ คณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ มีมติมอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับดูแลให้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ การดำเนินการเตรียมการให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ ก.พ. รับผิดชอบการจัดทำ มาตรฐานทางจริยธรรมบุคคลของหน่วยงานของรัฐร่วมกับ องค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ โดยผลจากการ ประชุมร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ ได้กำหนดค่านิยมหลัก สำหรับการเป็นข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ๗ ประการ ได้แก่

๑. ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๒. ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อหน้าที่

๓. ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

๔. ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และมีจิต สาธารณะ

๕. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

๖. ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

๗. ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ ของทางราชการ

การนำมาตรฐานทางจริยธรรมมาปรับใช้ให้เกิดผล เป็นรูปธรรมควรเป็นการดำเนินการในเชิงบวก หรือเป็นการ “ป้องปราม” โดยนำไปยึดโยงกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การกำหนดให้มีการนำผลการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรม หรือประมวลจริยธรรมของ หน่วยงานไปใช้ในขั้นตอนบรรจุ แต่งตั้ง การประเมินผล การปฏิบัติราชการ ซึ่งการดำเนินการทางจริยธรรมจะแตกต่าง จากการดำเนินการลงโทษทางวินัยอันเป็นการดำเนินการ ในเชิงลบ หรือ “ป้องปราบ”

สำหรับกลไกการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรม มุ่งเน้นให้ส่วนราชการเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการ และเสนอให้มี “คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเรียกว่า กมจ. เป็นคณะกรรมการ ระดับชาติ ทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริม จริยธรรม รับผิดชอบการจัดทำและปรับปรุงมาตรฐาน ทางจริยธรรม ให้คำปรึกษาแนะนำแก่องค์กรกลาง การบริหารงานบุคคลต่าง ๆ วินิจฉัย ตีความ หรือให้ความเห็น ในเรื่องที่ขัดแย้งกับมาตรฐานทางจริยธรรม ตลอดจนกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรฐาน ทางจริยธรรม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา:
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/article/maatrthaanthaangcchriythrrm.pdf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์