มะเขือเทศ

มะเขือเทศ ใช้ทำอาหารหลายอย่าง โดยเฉพาะส้มตำ ขาดมะเขือเทศไม่ได้เลย มะเขือเทศมีประโยชน์ มีแคลอลี่ ไขมัน และโซเดียม ต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และหัวใจวายได้

ในมะเขือเทศมีสารอาหารหลายอย่าง เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปแตสเซี่ยม เหล็ก Lycopene (ต้านอนุมูลอิสระ) ฟอสฟอรัส และ กำมะถัน เป็นต้น

  • สารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ในมะเขือเทศ ช่วยขจัดสารพิษ (toxic compounds) ออกจากร่างกาย
  • Lycopene ช่วยทำให้อนุมูลอิสระ (free radicals) มีความเป็นกลาง หมดฤทธิ์ในการทำลายเซลล์อื่น ๆ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer)
  • ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศดิบ จะมีความเสี่ยงน้อยต่อมะเร็งลำไส้
  • มะเขือเทศ ต้านทานผลของ nitrosamines ทำให้ลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว
  • วิตามินเค ในมะเขือเทศ ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันภาวะ hemorrhages รุนแรงเนื่องจากมีเลือดออกอย่างต่อเนื่อง วิตามินเค ช่วยให้เลือดแข็งตัว และปกป้องหัวใจ
  • ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศดิบ จะทำให้ผิวสวย ผ่องใส
  • มะเขือเทศมีคุณสมบัติในการฟอกเลือด ทำให้เลือดบริสุทธิ์
  • มะเขือเทศดีสำหรับตับ ช่วยป้องกันโรคตับแข็ง (cirrhosis) อีกทั้งยังสามารถละลายนิ่ว (gallstones) ได้อีกด้วย
  • มะเขือเทศเป็นยาฆ่าเชื้อตามธรรมชาติ สามารถช่วยป้องกันอาการอักเสบได้หลายอย่าง
  • กรด Nicotinic ในมะเขือเทศ ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจ
  • สามารถใช้มะเขือเทศพอกเพื่อ
  • จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศ หรือผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงโรค macular degenerative disease ซึ่งอาจจะทำให้ดวงตาบอดได้
  • มะเขือเทศสามารถใช้พอกบริเวณที่ถูกแดดไหม้ หรือ บาดแผลได้
  • มะเขือเทศป้องกันโรคท้องร่วง และช่วยลดภาวะการเคืองตา
  • มะเขือเทศมีประโยชน์ต่อหญิงมีครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ มองไม่เห็นในเวลากลางคืน (night blindness) อ้วน และ มีอาการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ แนะนำให้รับประทานมะเขือเทศทุกวัน

จะเห็นว่า มะเขือเทศมีประโยชน์มาก มาปลูกมะเขือเทศรับประทานกันดีกว่า

การปลูกมะเขือเทศ

การปลูกมะเขือเทศ ทำได้ 2 วิธี

  1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30-40 กรัมหยอด ลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกใน พื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม.

    ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้งบาง ๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุม แปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยช้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โรคที่ สำคัญในแปลงกล้าคือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกันความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17-22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ต้นกล้าจะแข็งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมากหลังจาก ย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมัจะใช้กล้าอายุประมาณ 21-25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ
  2. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่ายแต่จะเสียเวลาและแรงงาน ในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้ เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80-100 กรัมต่อไร่

สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 แถว ระยะระหว่างต้น 25-50 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่น จะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่น

ปลูกมะเขือเทศกันนะครับ

อ้างอิง
http://lifestyle.iloveindia.com/lounge/benefits-of-tomato-1491.html
http://www.ku.ac.th/e-magazine/may47/agri/tomato.html
http://mis.hrdi.or.th/inforcenter/(S(brcyiwfgohy0m155sfqtl3ri))/xml_km/shdet.aspx?mnuid=60

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์